คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยที่1เป็นพนักงานโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมการฆ่าสัตว์ให้ถูกต้องและเป็นไปตามใบควบคุมอาชญาบัตรไม่ควบคุมตรวจนับการฆ่าสุกรเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายคือเทศบาลนั้นทางนำสืบพยานโจทก์ได้ความว่าเทศบาลไม่ได้รับความเสียหายประชาชนเป็นผู้ที่อาจได้รับความเสียหายจากการแพร่โรคจากสุกรที่ฆ่าโดยมิได้ตรวจโรคก่อนซึ่งเป็นการนำสืบนอกคำฟ้องการกระทำของจำเลยที่1จึงไม่เป็นความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาล ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่1มิได้เป็นผู้สั่งฆ่าหรือจัดการฆ่าจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่2ฆ่าสุกรตามฟ้องโจทก์มิได้อุทธรณ์ข้อหาตามความผิดนี้ย่อมยุติโจทก์ฎีกาไม่ได้ว่าจำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2ฆ่าสุกร.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น พนักงาน โรงฆ่าสัตว์ ของ เทศบาลมี หน้าที่ ควบคุม การ ฆ่า สัตว์ ให้ ถูกต้อง และ เป็น ไป ตามใบควบคุม อาชญาบัตร ปฏิบัติ หน้าที่ โดย มิชอบ ด้วย การ ให้ จำเลยที่ 2 นำ สุกร 1 ตัว ที่ ไม่ ได้ รับอนุญาต ให้ ฆ่า เข้า มา ในโรงฆ่าสัตว์ โดย ไม่ ผ่าน ขั้นตอน การ นำ สุกร ไป ยัง โรงฆ่าสัตว์และ ตรวจ โรค เสียก่อน เพื่อ ให้ เกิด ความ เสียหาย แก่ งาน ของเทศบาล และ จำเลย ที่ 1 ร่วมกับ จำเลย ที่ 2 และ นาย รำพัน ปักษาฆ่า สุกร ใน โรงฆ่าสัตว์ นอก วัน เวลา ที่ ระบุ ไว้ ใน ใบอนุญาตขอ ให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ควบคุม การ ฆ่า สัตว์ และ จำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2502 มาตรา 8, 18 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 83,84, 91
จำเลย ทั้งสอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ให้ จำคุก 1 ปี จำเลย ที่ 2 มี ความผิดตาม พระราชบัญญัติ ควบคุม การ ฆ่า สัตว์ และ จำหน่าย เนื้อสัตว์พ.ศ. 2502 มาตรา 8, 18 จำคุก 1 เดือน ปรับ 500 บาท ให้ รอ การ ลงโทษจำคุก จำเลย ที่ 2 ไว้ 1 ปี คำขอ นอกจาก นี้ ให้ ยก
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ ให้ ยกฟ้อง สำหรับ จำเลย ที่ 1 โดย วินิจฉัยว่า ตาม ทาง พิจารณา ไม่ ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 1 ปฏิบัติ หรือ ละเว้นการ ปฏิบัติ หน้าที่ โดย มิชอบ พยานหลักฐาน โจทก์ ไม่ พอ ฟัง ลงโทษจำเลย ที่ 1 ได้
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘….ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า ช่วง เวลา ระหว่าง24 นาฬิกา ถึง 6 นาฬิกา เป็น เวลา ฆ่า สุกร จำเลย ที่ 1 มี หน้าที่ตรวจ นับ ตลอด จน ควบคุม การ ฆ่า สุกร ให้ ถูกต้อง และ เป็น ไป ตามใบควบคุม อาชญาบัตร ใบอนุญาต ฆ่า สัตว์ จำเลย กลับ ไป นอน ไม่ อยู่ปฏิบัติ หน้าที่ จึง เป็น การ ละเว้น การ ปฏิบัติ หน้าที่ และ ได้ ความจาก พยาน โจทก์ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้นำ สุกร ตัว ที่ เกิน มา นั้นเข้า มา ใน โรงฆ่าสัตว์ เมื่อ นาย สารา สัตวแพทย์ ตรวจพบ จำเลย ที่ 1ก็ เอา อาชญาบัตร ของ สุกร ตัว ที่ เกิน มา ให้ ดู ชั้น จับกุม จำเลยที่ 1 รับสารภาพ ว่า ได้ ร่วมกัน ฆ่า สุกร โดย ไม่ ได้ รับ อนุญาตพฤติการณ์ ดังกล่าว แสดง ว่า จำเลย ที่ 1 รู้เห็น ใน การ ฆ่า สุกรเพื่อ ประโยชน์ ของ จำเลย ที่ 2 จึง เป็น การ ปฏิบัติ หน้าที่ โดย มิชอบ เพื่อ ให้ เกิด ความ เสียหาย แก่ เทศบาลเมือง ศรีสะเกษ และ ประชาชนและ เป็น การ แสวงหา ประโยชน์ ที่ มิควร ได้ สำหรับ ตนเอง และ จำเลยที่ 2 นั้น เห็นว่า ฟ้อง โจทก์ บรรยาย ถึง ตัว ผู้เสียหาย ที่ เกิดจากการ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 แต่ เพียง ว่า ผู้เสียหาย คือ เทศบาลเมืองศรีสะเกษ หา ได้ กล่าวถึง ประชาชน ผู้ บริโภค เนื้อ สุกร ไว้ แต่ประการ ใด ซึ่ง นาย สารา จารุภูมิ สัตวแพทย์ พยาน โจทก์ เบิกความ ว่ากรณี นี้ ทาง เทศบาลเมือง ศรีสะเกษ ไม่ ได้ รับ ความ เสียหาย เลยและ ไม่ ปรากฏ จาก คำเบิกความ ของ นาย สันติ พลินจารนันท์ ปลัดเทศบาลเมือง ศรีสะเกษ ใน ขณะ เกิดเหตุ และ ร้อยตำรวจเอก บุญยัง จันทร์อบ พนักงาน สอบสวน คดีนี้ ว่า ที่ มี การ ฆ่า สุกร ตัว ที่ เกิดเหตุทำ ให้ ทาง เทศบาลเมือง ศรีสะเกษ ขาด รายได้ หรือ ประโยชน์ อื่น ใดอีก เชื่อว่า การ ฆ่า สุกร ตัว ที่ เกิดเหตุ ทาง เทศบาลเมือง ศรีสะเกษไม่ ได้ รับ ความ เสียหาย ที่ โจทก์ นำ นาย สารา เข้า สืบ ว่า ประชาชนอาจ ได้ รับ ความ เสียหาย จาก การ แพร่โรค จาก สุกร ที่ ฆ่า โดย มิได้ตรวจ โรค ก่อน เป็น การ นำสืบ นอก คำฟ้อง รับฟัง เป็น หลักฐาน ใน คดีนี้ไม่ ได้ เมื่อ ฟัง ว่า ทาง เทศบาลเมือง ศรีสะเกษ ไม่ ได้ รับ ความเสียหาย กรณี นี้ ดังกล่าว แล้ว การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 จึง ไม่เป็น ความผิด ฐาน ละเว้น การ ปฏิบัติ หน้าที่ โดย มิชอบ เพื่อ ให้เกิด ความ เสียหาย แก่ เทศบาลเมือง ศรีสะเกษ แต่ การ กระทำ ของ จำเลยที่ 1 จะ เป็น การ ทุจริต หรือ ไม่ นั้น ไม่ ปรากฏ จาก คำเบิกความของ นาย บรรยง ขันตี เลย ว่า ภายหลัง ที่ นาย สารา กลับจาก การ ตรวจนับ สัตว์ แล้ว จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้นำ สุกร นั้น เข้า ไป ในโรงฆ่าสัตว์ ดัง ที่ นาย สารา เบิกความ กลับ ได้ความ ว่า ใน วัน ก่อนเกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 กับ นาย บรรยง ตรวจพบ สุกร เกิน ไป 1 ตัว ได้ช่วยกัน ไล่ สุกร นั้น ออก ไป จาก ที่ พัก สัตว์ ของ โรงฆ่า และระยะเวลา นับแต่ นาย สารา ตรวจนับ สัตว์ ใน โรงพักสัตว์ จน ถึง เวลาราว 3 นาฬิกา ของ วัน เกิดเหตุ ไม่ มี ผู้ใด ไป ที่ โรงฆ่าสัตว์นอกจาก นาย สารา กับ สิบตำรวจตรี อักษรศิลป์ พยานโจทก์ เท่ากับ ยืนยันว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ ไป ที่ โรงฆ่าสัตว์ ภายหลัง ที่ นาย สารากลับ จาก การ ตรวจนับ สัตว์ จน ถึง เวลา 3 นาฬิกา ของ วัน เกิดเหตุ…ส่วน ที่ โจทก์ อ้าง ว่า จำเลย ที่ 1 รับ ชั้น จับกุม ว่า ได้ ร่วมกับจำเลย ที่ 2 ฆ่า สุกร ตัว ที่ เกิดเหตุ เมื่อ ศาลชั้นต้น ฟัง ว่าจำเลย ที่ 1 มิได้ เป็น ผู้ สั่ง ฆ่า หรือ จัดการ ฆ่า จำเลย ที่ 1จึง ไม่ มี ความผิด ฐาน ร่วมกับ จำเลย ที่ 2 ฆ่า สุกร ตาม ฟ้องโจทก์ มิได้ อุทธรณ์ ข้อหา ตาม ความผิด นี้ ย่อม ยุติ และ คง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ เป็น ผู้ สั่ง ฆ่า หรือ จัดการ ฆ่า สุกรตัว ที่ เกิดเหตุ และ มิได้ เป็น ตัวการ ใน การ กระทำ ความผิด กรณีนี้ ด้วย ประกอบ กับ ใน วันเดียวกัน กับ วันที่ จำเลย ที่ 1 ถูก จับกุมนั้น เอง จำเลย ที่ 1 ก็ ได้ ปฏิเสธ ข้อหา เดียวกัน นี้ ใน ชั้นสอบสวน ต่อพนักงาน สอบสวน ข้อความ ที่ ระบุ ว่า จำเลย ที่ 1 รับ ในชั้น จับกุม จึงไม่ อาจ รับฟัง เป็น หลักฐาน ใน คดีนี้ ได้ สำหรับ ใน ข้อ ที่ จำเลยที่ 1 แสดง อาชญาบัตร แก่ นาย สารา ก็ มิใช่ พฤติการณ์ ที่ จะ แสดงให้ เห็น ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ รับ ประโยชน์ ใดๆ จาก การนั้น หรือกระทำ เพื่อ ให้ จำเลย ที่ 2 ได้ รับ ประโยชน์ จาก การนั้น เมื่อปรากฏ ชัด ว่า สุกร ตัว ที่ เกิดเหตุ ก็ มี อาชญาบัตร ที่ จำเลย ที่1 แสดง อาชญาบัตร น่า จะ เป็น เพียง นำ มา เป็น หลักฐาน ใน การ แก้ตัวเพื่อ ให้ ตน พ้น จาก ความ รับผิด ชอบ กรณี ไม่ อยู่ ควบคุม ดูแลการ ฆ่า สุกร เท่านั้น พฤติการณ์ ของ จำเลย ที่ 1 ดังกล่าว จึง ยังไม่ พอ ฟัง ว่า จำเลย ที่ 1 กระทำ โดย ทุจริต ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์ ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษายืน

Share