คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ข้อสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ริบหรือเรียกเอาได้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรย่อมเป็นเบี้ยปรับทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีการเรียกชื่ออย่างไรหรือไม่ จำเลยที่1และที่2กู้เงินจากโจทก์โดยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ12.5ต่อปีกำหนดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นรายเดือนซึ่งหากผิดนัดไม่ส่งเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยสำหรับเงินคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นอัตราสูงสุดตามประกาศของโจทก์ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมจึงถือว่าเป็นเบี้ยปรับ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน2,171,279.95 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 21 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน1,861,723.75 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์ หาก จำเลย ทั้ง สี่ ไม่ชำระ หนี้ ดังกล่าว ขอให้ ยึด ที่ดิน โฉนดเลขที่ 27376 ตำบล บางพูน อำเภอ เมือง ปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ที่ จำนอง ออก ขายทอดตลาด ใช้ หนี้ โจทก์ และยึดทรัพย์ อื่น ๆ ของ จำเลย ทั้ง สี่ ออก ขายทอดตลาด ใช้ หนี้ โจทก์ จน ครบ
จำเลย ทั้ง สี่ ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน1,861,723.75 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ของ ต้นเงินดังกล่าว นับ จาก วันที่ 16 พฤษภาคม 2537 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จหาก จำเลย ทั้ง สี่ ไม่ชำระ หนี้ หรือไม่ ชำระ ให้ ครบถ้วน ให้ ยึด ที่ดินโฉนด เลขที่ 27376 ตำบล บางพูน อำเภอ เมือง ปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ใน ที่ดิน ดังกล่าว ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา ชำระหนี้โจทก์ หาก ได้ เงิน ไม่พอ ชำระหนี้ ให้ ยึดทรัพย์สิน อื่น ของ จำเลย ทั้ง สี่ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา ชำระหนี้ จน ครบ
โจทก์ อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา โดย ได้รับอนุญาต จาก ศาลชั้นต้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติ ว่า โจทก์ เป็นนิติบุคคล ประเภท บริษัท มหาชน จำกัด ได้รับ อนุญาต จาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ ประกอบ ธุรกิจ เงินทุน ตาม สำเนา หนังสือ รับรอง ของสำนักงาน ทะเบียน หุ้นส่วน บริษัท กรุงเทพมหานคร เอกสาร หมาย จ. 1และ สำเนา ใบอนุญาต ของ กระทรวงการคลัง เอกสาร หมาย จ. 2 โจทก์ มีสิทธิคิด ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 21 ได้ ตาม ประกาศกระทรวง การ คลังเอกสาร หมาย จ. 14 ประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทย เอกสาร หมาย จ. 15และ ประกาศ ของ โจทก์ เอกสาร หมาย จ. 16 จำเลย ที่ 3 เป็น นิติบุคคล ประเภทบริษัท จำกัด เมื่อ วันที่ 16 กันยายน 2536 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ร่วมกัน กู้เงิน ไป จาก โจทก์ จำนวน 1,900,000 บาท ตาม หนังสือสัญญากู้เงิน เอกสาร หมาย จ. 6 โดย จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้รับ เงินไป ครบถ้วน แล้ว ใน วัน ทำ สัญญา และ ตกลง ชำระ ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ ในอัตรา ร้อยละ 12.5 ต่อ ปี กำหนด ชำระ เงินต้น และ ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์เป็น รายเดือน ไม่ น้อยกว่า เดือน ละ 23,200 บาท ชำระ งวด แรก ภายในวันที่ 16 ตุลาคม 2536 งวด ต่อ ๆ ไป ชำระ ภายใน วันที่ 16 ของ แต่ละ เดือนหาก ผิดนัด ยอม ให้ โจทก์ คิด ดอกเบี้ย สำหรับ เงิน ที่ ค้างชำระ เพิ่มขึ้นเป็น อัตรา ร้อยละ 21 ต่อ ปี นับแต่ วัน ผิดนัด เป็นต้น ไป และ เพื่อ เป็นการ ประกัน การ ชำระหนี้ ดังกล่าว ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จำเลย ที่ 1จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 27376 ตำบล บางพูน อำเภอ เมือง ปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ของจำเลย ที่ 1 ไว้ แก่ โจทก์ ใน วงเงิน 1,900,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 21 ต่อ ปี ตาม หนังสือ สัญญาจำนอง ที่ดิน เป็น ประกันและ ข้อตกลง ต่อ ท้าย สัญญาจำนอง เป็น ประกัน เอกสาร หมาย จ. 7 จำเลย ที่ 3และ ที่ 4 ได้ ทำ สัญญาค้ำประกัน การ ชำระหนี้ ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2โดย ยอมรับ ผิด อย่าง ลูกหนี้ ร่วม ตาม หนังสือ สัญญาค้ำประกัน เอกสาร หมายจ. 8 และ จ. 9 ตามลำดับ ด้วย ภายหลัง จาก ทำ สัญญากู้เงิน ดังกล่าว แล้วจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ผ่อนชำระ หนี้ ตาม งวด ให้ แก่ โจทก์ ตลอดมาแล้ว ผิดนัด ชำระหนี้ ตั้งแต่ วันที่ 16 พฤษภาคม 2537 โจทก์ มี หนังสือเอกสาร หมาย จ. 10 ทวงถาม ให้ ชำระหนี้ และ บอกกล่าว บังคับจำนอง ไป ยังจำเลย ทั้ง สี่ จำเลย ทั้ง สี่ ได้รับ หนังสือ นั้น แล้ว แต่ เพิกเฉย
คดี มี ปัญหาข้อกฎหมาย ต้อง วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ของ โจทก์ เพียง ว่าศาล ไม่มี อำนาจ ใช้ ดุลพินิจ ลด ดอกเบี้ย จาก อัตรา ร้อยละ 21 ต่อ ปีลง เป็น ร้อยละ 15 ต่อ ปี เพราะ การ ที่ โจทก์ คิด ดอกเบี้ย จาก จำเลย ทั้ง สี่ใน อัตรา ร้อยละ 21 ต่อ ปี นับแต่ วัน ผิดนัด นั้น ไม่เป็น การ กำหนดค่าเสียหาย ไว้ ล่วงหน้า อัน มี ลักษณะ เป็น เบี้ยปรับ หรือไม่ ใน ปัญหา นี้เห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เบี้ยปรับ เป็นค่าเสียหาย หรือ ค่าสินไหมทดแทน ความเสียหาย ซึ่ง คู่สัญญา กำหนดไว้ ล่วงหน้า โดย ลูกหนี้ ให้ สัญญา ว่า เมื่อ ลูกหนี้ ไม่ชำระ หนี้ หรือไม่ชำระ หนี้ ให้ ถูกต้อง สมควร ให้ เจ้าหนี้ ริบ หรือ เรียก เอา เบี้ยปรับนั้น ได้ และ ปรากฏว่า ใน การ ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 กู้เงิน จาก โจทก์นั้น ได้ มี การ ตกลง กัน ตาม สัญญากู้เงิน เอกสาร หมาย จ. 6 ว่า จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ยอม เสีย ดอกเบี้ย สำหรับ เงินกู้ ใน อัตรา ร้อยละ 12.5 ต่อ ปีกำหนด ชำระ เป็น เงินต้น และ ดอกเบี้ย คืน ให้ แก่ โจทก์ เป็น รายเดือนไม่ น้อยกว่า เดือน ละ 23,200 บาท โดย ชำระ งวด แรก ภายใน วันที่ 16ตุลาคม 2536 งวด ต่อ ๆ ไป ชำระ ทุก ภายใน วันที่ 16 ของ แต่ละ เดือนโดย มี สัญญา ข้อ 5 ว่า “หาก ว่า ผู้กู้ ผิดนัด ไม่ส่ง เงินต้น พร้อม ทั้งดอกเบี้ย ตาม อัตรา และ กำหนด ผู้กู้ ยินยอม ให้ ผู้ให้กู้ คิด ดอกเบี้ยสำหรับ จำนวนเงิน คง ค้าง เพิ่มขึ้น เป็น อัตรา สูงสุด ตาม ประกาศ ของผู้ให้กู้ ที่ ออก โดย อาศัย อำนาจ ตาม ประกาศ ของ ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ตาม ประกาศ ใด ๆ ที่ กำหนด อัตรา ดอกเบี้ย ซึ่ง บริษัท เงินทุน อาจเรียก ได้ ที่ ใช้ อยู่ ใน ขณะ นั้น (ซึ่ง ใน วัน ทำ สัญญา นี้ เท่ากับ อัตราร้อยละ 21 ต่อ ปี ) โดย คิด จาก วันที่ มี การ ผิดนัด เป็นต้น ไป ” ตามสัญญา ข้อ 5 ดังกล่าว กำหนด ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ต้อง เสีย ดอกเบี้ยเพิ่ม จาก ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 12.5 ต่อ ปี ที่ กำหนด ไว้ เดิม เป็นดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 21 ต่อ ปี เมื่อ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ผิดนัดไม่ชำระ เงินต้น พร้อม ดอกเบี้ย ให้ ตรง ตาม กำหนด อัน ทำให้ โจทก์ เสียหายดอกเบี้ย ที่ เพิ่มขึ้น จาก ดอกเบี้ย เดิม ใน อัตรา ร้อยละ 12.5 ต่อ ปีนับแต่ วันที่ มี การ ผิดนัด ดังกล่าว จึง ถือได้ว่า เป็น เบี้ยปรับเมื่อ ไม่ชำระ หนี้ หรือไม่ ชำระหนี้ ให้ ถูกต้อง สมควร ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 379 โดย เป็น ค่าเสียหาย ที่ กำหนด กัน ไว้ ล่วงหน้าระหว่าง โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ซึ่ง เป็นลูกหนี้ ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า กรณี ที่ จะ เป็น เบี้ยปรับ ได้ จะ ต้อง เป็นกรณี ที่ มี การ กำหนด ไว้ ใน ข้อ สัญญา โดยชัดแจ้ง ว่า เป็น เบี้ยปรับ นั้นเห็นว่า ข้อ สัญญา ระหว่าง เจ้าหนี้ และ ลูกหนี้ จะ เรียก ค่าเสียหายที่ กำหนด ไว้ ล่วงหน้า ว่า เบี้ยปรับ ค่าปรับ ดอกเบี้ย หรือ อย่างไร ก็ ได้แต่ หาก มี ลักษณะ เป็น ค่าเสียหาย ที่ กำหนด ไว้ ล่วงหน้า ให้ เจ้าหนี้ ริบหรือ เรียก เอา ได้ เมื่อ ลูกหนี้ ไม่ชำระ หนี้ หรือไม่ ชำระหนี้ ให้ ถูกต้องสมควร แล้ว ก็ ย่อม เป็น เบี้ยปรับ ทั้งสิ้น ฉะนั้น เมื่อ ดอกเบี้ย ที่เพิ่มขึ้น จาก ดอกเบี้ย ใน อัตรา ที่ กำหนด ไว้ เดิม นับ ตั้งแต่ วันที่มี การ ผิดนัด เป็น เบี้ยปรับ และ ศาลชั้นต้น เห็นว่า เบี้ยปรับ นั้นสูง เกิน ส่วน ศาลชั้นต้น ก็ ย่อม มีอำนาจ ใช้ ดุลพินิจ ลด เบี้ยปรับ นั้น ลงเป็น จำนวน พอสมควร ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา383 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share