คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2485

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

สัญญาต่างตกลงทำสัญญาจ้างพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวันมีกำหนด + เดือน เข่นนี้มิได้หมายความว่าเมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาแล้ว คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจำต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไปอีก ข้อความในสัญญามีว่า สัญญาฉบับนี้มีอายุสามเดือนนับตั้งแต่ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสัญญา+แปลกำหนดอายุความสัญญา + เดือนนี้ใช้ได้เฉพาะเมื่อไม่มี+ผิดสัญญา คู่สัญญาจึงจะต้องปฏิบัติตามข้อสัญญา

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจ้างพิมพ์หนังสือรายวันชื่อ “ไชยชนะ” มีใจความว่าจำเลยเป็นผู้พิมพ์โดยใช้บทประพันธ์ของโจทก์ ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เป็นของจำเลยทั้งสิ้น คิดค่าจ้างพิมพ์ให้แก่จำเลยพันฉบับละ ๒๐ บาท ในสัปดาห์หนึ่งมี ๖ วันเป็นเงิน ๑๒๐ บาท หากจำเลยไม่ปฏิบัติการพิมพ์ตามความประสงค์ของโจทก์ยอมให้ปรับวันละ ๔๐ บาท สัญญาจ้างนี้มีอายุสามเดือนต่อมาจำเลยละเลยไม่จัดการพิมพ์ให้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์บอกกล่าวแล้วจำเลยก็เพิกเฉยเสียเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย
จำเลยให้การรับว่า ได้ทำสัญญารับจ้างพิมพ์จริง แต่โจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาก่อนคือไม่จ่ายเงินค่าพิมพ์ให้แก่จำเลยตามสัญญา จำเลยพยายามตักเตือนหลายหน โจทก์ก็เพิกเฉยเสีย
ศาลชั้นต้นเห็นว่า สัญญาจ้างรายนี้ต่างกำหนดเบี้ยปรับกันไว้และมีข้อสัญญาว่า ผู้จ้างกับผู้รับจ้างจะบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดไม่ได้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นพิเศษ สัญญานี้มีกำหนดสามเดือนจึงเห็นว่าการปฏิบัติผิดข้อสัญญาไม่เป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งเลิกสัญญาได้ก่อนกำหนด ฉนั้นที่จำเลยหยุดการพิมพ์จึงไม่มีทางพ้นผิด ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระเงินค่าจ้าง จำเลยก็มิได้ฟ้องแย้ง ไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย จึงให้งดสืบพยานแล้ว พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าในสัญญาต่างตอบแทน เมื่อฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งย่อมมีสิทธิจะไม่ยอมชำระหนี้หรือเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๓๖๙,๓๘๗ แต่ในเรื่องนี้ ศาลชั้นต้นถือเอาข้อสัญญามาแปลเจตนาของคู่กรณีว่าแม้ฝ่ายหนึ่งจะผิดสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก็จะไม่เลิกสัญญาจนครบ ๓ เดือนตามที่กำหนดไว้ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคู่กรณีมิได้มีเจตนาดังคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น หากข้อเท็จจริงปรากฏดังคำต่อสู้ของจำเลยๆ อาจไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ในคดีนี้คู่ความยังโต้เถียงกันในข้อเท็จจริงอยู่ จึงพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาตามข้อต่อสู้ของจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปความ
โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าตามข้อสัญญาไม่มีข้อตกลงอันใดที่จะแสดงว่าแม้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาแล้ว คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจำต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไปอีกจนกว่าจะครบกำหนด ๓ เดือนตามสัญญา ฉะนั้นจึงเห็นว่ากำหนดอายุสัญญา ๓ เดือนนี้ใช้ได้เฉพาะเมื่อไม่มีการผิดสัญญาคู่ความจึงจะต้องปฏิบัติตามข้อสัญญา จริงอยู่สัญญาข้อ ๑๐ มีความว่า “ผู้จ้างและผู้รับจ้างจะบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดไม่ได้ เว้นแต่จะตกลงกันเป็นพิเศษ” ได้กล่าวแล้วว่า กำหนด ๓ เดือนใช้ได้สมบูรณ์ต่อเมื่อไม่มีฝ่ายใดประพฤติผิดสัญญา กล่าวคือถ้าระหว่างระยะใดคู่สัญญายังปฏิบัติตามข้อสัญญาอยู่ด้วยกันแล้ว คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่มีสิทธิจะบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดสามเดือน เมื่อแปลความตามสัญญาดังนี้ ก็ต้องให้โอกาสจำเลยนำสืบตามข้อต่อสู้ จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

Share