คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6955/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การจ้างก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังรวมอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันรวมราคาค่าก่อสร้างเบ็ดเสร็จเป็นเงิน14,700,000บาทโดยไม่ได้จำแนกหรือระบุเฉพาะเจาะจงว่าอาคารแต่ละหลังราคาเท่าใดการก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังกำหนดแล้วเสร็จในวันที่22มีนาคม2531ในสัญญาดังกล่าวถ้าจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยยอมให้ปรับเป็นรายวันละ10,000บาทและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายวันวันละ200บาทโดยไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าปรับหรือค่าควบคุมงานของอาคารหลังใดประการสำคัญหากโจทก์กับจำเลยประสงค์จะให้มีการปรับและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายหลังต่อวันก็น่าจะตกลงไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้งเมื่อไม่มีการตกลงกันเช่นนี้และกรณีมีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นคือจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จำเลยคงต้องรับผิดในค่าปรับและค่าควบคุมงานเป็นรายวันโดยรวมอาคารทั้งสามหลัง สัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่มัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377ที่โจทก์จะใช้สิทธิริบจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นมัดจำได้ฉะนั้นแม้สัญญาค้ำประกันจะเป็นเอกสารปลอมโจทก์จะอ้างเป็นเหตุให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ไม่ได้หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปลอมและใช้สัญญาค้ำประกันปลอมอย่างไรก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายตามสัญญาทั้งสองรายการรวมเป็นเงิน 9,781,027 บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน3,293,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์อีก 1,810,000 บาท รวมเป็นค่าเสียหาย5,103,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาแรกที่ว่า จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดในค่าปรับและค่าควบคุมงานกรณีก่อสร้างอาคารหอพักพยาบาลทั้งสามหลังล่าช้าเป็นรายหลังหรือไม่ เห็นว่า ในการจ้างก่อสร้างอาคารหอพักพยาบาลทั้งสามหลังรวมอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันรวมราคาก่อสร้างเบ็ดเสร็จเป็นเงิน 14,700,000 บาท โดยไม่ได้จำแนกหรือระบุเฉพาะเจาะจงว่าอาคารหลัง ก. หรืออาคารหลัง ข. หรืออาคารหลัง ค. เป็นราคาหลังละเท่าใด การก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 22 มีนาคม 2531 และตามสัญญาข้อ 19ได้ตกลงกันว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้ปรับเป็นรายวันวันละ 10,000 บาทและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายวันละ 200 บาท โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าปรับหรือค่าควบคุมของอาคารหลังใด ประการสำคัญหากโจทก์กับจำเลยที่ 1 ประสงค์จะให้มีการปรับและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายหลังต่อวันก็น่าจะตกลงไว้ในสัญญาข้อ 19 ให้ชัดแจ้ง เมื่อไม่มีการตกลงเช่นนี้ และกรณีมีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น คือจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าปรับและค่าควบคุมงานเป็นรายรับโดยรวมอาคารหอพักพยาบาลทั้งสามหลังนั้นชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต่อไปที่ว่า จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันปลอมทั้งสองฉบับหรือไม่ เห็นว่าสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่มัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ที่โจทก์จะใช้สิทธิริบจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นมัดจำได้ ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันจะเป็นเอกสารปลอม โจทก์ก็จะอ้างเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ไม่ได้หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปลอมและใช้สัญญาค้ำประกันปลอมอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป ส่วนประเด็นค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการผิดสัญญานั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงเห็นว่าศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์จำนวน 1,000,000 บาทเหมาะสมแล้ว แต่เห็นว่าศาลอุทธรณ์รวมตัวเลขผิดพลาดเพราะที่ถูกเป็นศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพิ่มให้อีกจำนวน 1,810,692 บาท รวมกับที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้แล้วเป็นเงิน 5,103,692 บาท
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินให้โจทก์จำนวน 5,103,692 บาท พร้อมดอกเบี้ย

Share