คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6825/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยได้ยินเสียง ย. ร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดจำเลยจึงเข้าไปในห้องผู้เสียหายและทำการช่วยเหลือถือได้ว่าจำเลยเข้าไปโดยมีเหตุอันควรและได้รับอนุญาตให้เข้าไปได้โดยปริยายแม้ ย. จะมิใช่เจ้าของห้องแต่เป็นมารดาของผู้เสียหายย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้บุคคลใดเข้าไปในห้องได้ตามสมควรการที่จำเลยพบเห็นเงินอยู่ในลิ้นชักตู้เสื้อผ้าจึงถือโอกาสเอาไปเสียจำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา335(1)วรรคแรกแต่ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา335(8)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(8)และ คืน หรือ ใช้ เงิน 11,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1)(8) (ที่ ถูก มาตรา 335(1)(8) วรรคสาม ) จำคุก 4 ปีให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงิน 11,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ที่ โจทก์ จำเลยมิได้ โต้แย้ง กัน ฟังได้ ยุติ ว่า ตาม วัน เวลา และ สถานที่เกิดเหตุ ตาม ฟ้องจำเลย ได้ เข้า ไป ใน ห้อง ของ ผู้เสียหาย เพื่อ ดูแล อาการ เจ็บป่วยให้ นาง ยูเอี่ยวลั้ง มารดา ผู้เสียหาย แล้ว ออกจาก ห้อง ไป ต่อมา เมื่อ ผู้เสียหาย กลับมา ตรวจ ดู ทรัพย์สิน พบ ว่า เงินสด จำนวน 11,000 บาทที่ เก็บ ไว้ ใน ลิ้น ชัก ตู้ เสื้อผ้า หาย ไป ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์มี ว่า จำเลย เป็น คนร้าย ดังกล่าว หรือไม่ พยานหลักฐาน โจทก์ มีน้ำหนัก ฟังได้ ว่า จำเลย ได้ ลัก เอา เงิน ของ ผู้เสียหาย ไป จริง ที่ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า คดี ยัง มี ความ สงสัย ตาม สมควร ว่า จำเลย ได้ กระทำผิดหรือไม่ ให้ยก ประโยชน์ แห่ง ความ สงสัย นั้น ให้ จำเลย และ พิพากษายกฟ้อง นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ใน ข้อ นี้ ฟังขึ้น
อย่างไร ก็ ดี ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า เหตุ ที่ จำเลย เข้า ไป ใน ห้องของ ผู้เสียหาย ก็ เนื่องจาก ขณะที่ จำเลย เดิน ผ่าน ห้อง ผู้เสียหาย นั้นได้ยิน เสียง นาง ยูเอียวลั้ง ร้อง ครวญคราง ด้วย ความ เจ็บปวด จำเลย จึง เข้า ไป ช่วยเหลือ บีบ นวด ให้ และ พูด คุย เรื่อง ต่าง ๆ กับ นาง ยูเอียวลั้ง ประมาณ ครึ่ง ชั่วโมง ถือได้ว่า จำเลย เข้า ไป โดย มี เหตุอันสมควร และ ได้รับ อนุญาต ให้ เข้า ไป ได้ โดย ปริยาย แม้นาง ยูเอียวลั้ง จะ มิใช่ เจ้าของ ห้อง แต่ เป็น มารดา ของ ผู้เสียหาย ย่อม มีอำนาจ ที่ จะ อนุญาต ให้ บุคคล ใด เข้า ไป ใน ห้อง ได้ ตาม สมควรการ ที่ จำเลย พบ เห็น เงิน อยู่ ใน ลิ้น ชัก ตู้ เสื้อผ้า จึง ถือ โอกาสเอาไป เสีย การกระทำ ของ จำเลย ไม่เป็น ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ใน เคหสถาน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8) ที่ ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลย มี ความผิด ตาม อนุมาตรา นี้ ด้วย ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ”
พิพากษากลับ ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1) วรรคแรก ให้ จำคุก 1 ปี ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงินจำนวน 11,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย

Share