คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2487

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เพียงแต่สัญญาจะทำการสมรส แต่ไม่มีของหมั้นจะฟ้องเรียกค่าทดแทนถานผิดสัญญาไม่ได้

ย่อยาว

กรนีมีว่าจำเลยที่ ๑ ได้ไห้จำเลยที่ ๒ ทำการหมั้นนางสาวฉนำบุตรโจทกับนายควนบุตรจำเลยที่ ๑ ต่อมาจำเลยบอกเลิกการหมั้นโจนจึงฟ้องเรียกค่าทดแทนไนการผิดสัญญาหมั้นจากจำเลย ไนวันที่ ๒ สถานคู่ความทั้งสองฝ่ายรับกันว่า เปนแต่พูดตกลงว่าจะสมรสหามีการสอบของหมั้นแต่หย่างไดไม่
สาลชั้นต้นเห็นว่าการหมั้นตามประมวนกดหมายแพ่งและพานิชตามมาตรา ๑๔๓๖ ถึง ๑๔๔๔ นั้น ชายจะต้องมอบของหมั้นไห้แก่หยิง แต่คดีนี้ หาได้มอบของหมั้นไห้แก่หยิงไม่ จึงเรียกค่าทดแทนตามมาตรา ๑๔๓๙ ไม่ได้ พิพากสายกฟ้อง
สาลอุธรน์เห็นว่า ไม่มีกดหมายมาตราไดบังคับว่าการหมั้นจะต้องมีสิ่งของมอบไห้แก่กันคำว่า “หมั้น” เปนแต่คำบ่งชื่อสัญญาว่าเนปสัญญาประเภทไหน สัญญาตกลงจะทำการสมรสมีผลเหมือนสัญญาธัมดา ถ้าทีของหมั้นก็มีผลเหมือนได้วางมัดจำกันอีกหนึ่งหย่างเดียวกับสัญญาอื่น ๆ จึงพิพากสาไห้สาลชั้นต้นพิจารนาพิพากสาไหม่
จำเลยดีกา สาลดีกาเห็นว่าประมวนกดหมายแพ่งและพานิชบัพ ๕ ไม่ได้อธิบายไว้ว่าการหมั้นต้องทำหย่างไร เปนแต่กล่าวว่าจะหมั้นได้เมื่อชายหยิงอายุเท่าได ของหมั้นคืออะไรถ้าทีการผิดสัญญาหมั้นจะปติบัติหย่างไร จึงเปนอันเข้าไจได้ว่าคำว่า หมั้น นี้มีความหมายหย่างที่เข้าไจกันตามธัมดาและโดยเหตุที่เปนที่เข้าไจกันหยู่แล้วนี่เอง กดหมายจึงมิได้อธิบายไว้และตามกดหมายลักสนะผัวเมีย แม้จะไม่มีคำว่าของหมั้นก็มีคำว่าขันหมากหมั้น สแดงไห้เห็นว่า การหมั้นต้องมีสิ่งของนำไปไห้ฝ่ายหยิง เปนประเพนีมาตั้งแต่โบรานฉนั้นคำว่าการหมั้นไนประมวนกดหมายแพ่งและพานิชบัพ ๕ จึงต้องเข้าไจว่าหมายถึงการที่ฝ่ายขอยนำของหมั้นไปไห้แก่ฝ่ายหยิง เพื่อเปนหลักถานว่าขายจะสมรสด้วยและฝ่ายหยิงได้รับของหมั้นนั้นไว้ประมวนกดหมายแพ่งและพานิชบัพ ๕ พูดถึงการหมั้นและมีข้อบัญญัติไนมาตรา ๑๔๓๘ ว่าเมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายไดผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายนั้นต้องรับผิดไช่ค่าทดแทน เมื่อพิเคราะห์ความข้อนี้ประกอบกับทำเนียมประเพนีซึ่งเปนทีมาแห่งกดหมายส่วนนี้และสัญญาหมั้นเปนสัญญาพิเสสผิดกับสัญญาธัมดาแล้ว ก็ต้องเข้าไจว่าถ้าเปนแต่ตกลงกันว่าจะสมรสเฉย ๆ โดยไม่มีของหมั้นหากมีการผิดสัญญาจะเรียกค่าทดแทนกันหาได้ไม่จึงพิพากสากลับคำพิพากสาสาลอุธรน์บังคับคดีตามคำพิพากสาสาลชั้นต้น

Share