แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เจ้าพนักงานนำหมายเกนท์+ส่งไห้จำเลยเพื่อไห้ไปทำ+ตามหมายเกนท์ฝ่ายทหานและได้อ่านไห้จำเลยฟังแล้วแต่จำเลยไม่ยอมรับหมาย+นันได้ตักเตือนจำเลยก็ไม่ไป+นี้จำเลยยังไม่มีผิด
การลงนามไนไปรับหมายเกนท์ตามมาตรา 3 นั้นเปนกดบังคับคือถ้าเจ้าหน้าที่ไห้ผู้รับลงนาม ผู้รับก็ต้องลงไห้ ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ไห้ผู้รับลงนามจะถือว่าได้รับหมายโดยถูกต้องไม่ได้.
ย่อยาว
คดีนี้มีปัญหาว่า การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกหมายเกนท์จำเลยไห้ไปทำการตามเกนท์ของฝ่านทหาน และไห้จำเลยไปยังที่ว่าการอำเพอไนวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๔๘๖ เวลา ๑๒.๐๐ นาลิกา เพื่อจัดส่งไปทำการตามหมายเกนท์ เจ้าพนักงานนำหมายไปส่งแก่จำเลยเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ได้อ่านหมายเกนท์ไห้จำเลยฟังแล้ว จำเลยไม่ยอมรับหมายได้เดินหนีไปเสีย รุ่งขึ้นวันที่ ๒๙ กำนันไปเตือนจำเลยไห้ไปทำทางตามเกนท์ จำเลยก็ไม่ไปเช่นนี้ จำเลยจะมีผิดตามพระราชบัญญัติเกนท์พลเมืองอุดหนุนราชการทหาน พ.ส.๒๔๖๔ มาตรา ๙๑ กดหมายลักสนะอาญามาตรา ๓๓๔ ข้อ ๒ หรือไม่
สาลชั้นต้นวินิฉัยว่า ตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.เกนท์พลเมืองอุดหนุนราชการทหานจำเลยต้องเซ็นนามรับหมายเกนท์จึงจะถือว่าจำเลยรับหมายเกนท์แล้ว แต่เรื่องนี้จำเลยไม่ได้เซ็นนามรับหมายเกนท์ จึงยังไม่มีผิด พิพากสายกฟ้อง
สาลอุธรน์เห็นว่า จะยกความไนมาตรา ๓ มาไช้ไม่ได้เพราะความไนตอนท้ายมีว่า ไนเมื่อเจ้าหน้าที่ต้องการไห้ทำเช้นนั้นจึงไม่เปนบทบังคับ แต่เห็นว่าตามความหมายตามมาตรา ๔๓ บัญญัติว่า ถ้าผู้ถูกเกนท์ขัดขืนหรือไม่ยอมปติบัติตามหมายเกนท์โดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควนไห้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นแจ้งความตักเตือนไปไห้ผู้ถูกเกนท์ปติบัติตาม และถ้ายังขัดขืนไม่ปติบัติตามก็ไห้รายงานกล่าวโทสไปยังอัยการเพื่อฟ้องร้องขอไห้ลงโทส แต่เรื่องนี้ตามหมายเกนท์กำหนดไห้จำเลยไปยังอำเพอไนวันที่ ๓๐ มกราคม ตราบไดวันเวลายังไม่ล่วงพ้นที่กำหนดไว้ไนหมายแล้ว ก็ซาบไม่ได้ว่าจำเลยขัดขืน ฉะนั้นไนวันที่ ๒๙ มกราคมที่กำนันไปตักเตือนยังถือไม่ได้ว่าจำเลยขัดขืนเพราะยังไม่ถึงกำหนดวันเวลาตามหมายเกนท์ จำเลยยังไม่มีผิด พิพากสายกฟ้อง
โจทดีกา สาลดีกาเห็นว่า การที่จะเอาผิดจำเลยตามมาตรา ๙๑ กดหมายที่โจทอ้าง จะต้องได้ความว่า จำเลยได้รับหมายเกนท์โดยเซ็นนามลายพิมพ์นิ้วมือถูกต้องตามมาตรา ๓ และต้องมีการตักเตือนจำเลยไห้ปติบัติตาม ไนเมื่อจำเลยขัดขืนหรือไม่ยอมปติบัติตามหมายตามมาตรา ๔๓ แต่ไนเรื่องนี้ไม่ได้ความดังกล่าวทั้ง ๒ ประการ ส่วนข้อที่สาลอุธรน์ว่าการลงนามไปรับตามมาตรา ๓ ไม่เปนบทบังคับนั้น เห็นว่า ความไนมาตรา ๓ นี้หมายความว่า ถ้าเจ้าหน้าที่ต้องการไห้ผู้รับหมายลงนามก็ต้องลงไห้ แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ไห้ผุ้รับลงนามก็จะถือว่าผู้รับได้รับหมาย โดยถูกต้องไม่ได้และข้อที่ขอไห้ลงโทสตามกดหมายลักสนะอาญามาตรา ๓๓๔ นั้น เรื่องนี้เปนเรื่องขัดขืนหมายเกนท์ตาม พ.ร.บ.เกนท์พลเมือง ฯลฯ ไม่ไช่ขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงานตามกดหมายลักสนะอาญาที่โจทอ้าง จึงพิพากสายืน.