คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2537

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ความผิดฐานปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นเกิดขึ้นในทะเลหลวงนอกราชอาณาจักรศาลไทยจะลงโทษผู้กระทำผิดที่เป็นคนไทยในข้อหาความผิดต่อชีวิตตามมาตรา8(4)ได้ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา8(ก)เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหายเป็นใครและไม่ปรากฏว่าจะมีผู้ใดซึ่งสามารถจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา5(2)ดำเนินการร้องขอให้ศาลไทยลงโทษจึงลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นไม่ได้ โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาปล้นทรัพย์ไว้แยกต่างหากจากข้อหาฆ่าและพยายามฆ่าโดยไม่ได้บรรยายว่าในการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายด้วยถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายคงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธและใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ลงโทษจำเลยในความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา340วรรคท้ายจึงเป็นการเกินคำขอที่โจทก์กล่าวในฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192 หลังจากที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ได้แล้วถอยเรือไปอยู่ห่างจากเรือของผู้เสียหายกับพวกประมาณ20เมตรเพื่อรอดูการที่เรือประมงของพวกจำเลยอีก2ลำเข้ามาปฏิบัติการเทียบกับเรือผู้เสียหายเมื่อเรือประมงดังกล่าวปฏิบัติการเสร็จแล้วโดยนำหญิงในเรือของผู้เสียหายขึ้นไปบนเรือแล้วแล่นออกไปจำเลยกับพวกได้ขับเรือประมงพุ่งเข้าชนเรือผู้เสียหายจนมีพวกของผู้เสียหายตกทะเลหายไปประมาณ20คนดังนี้การกระทำดังกล่าวยังอยู่ในช่วงแห่งการปล้นทรัพย์เพราะเป็นเวลาใกล้ชิดต่อเนื่องจากการได้ทรัพย์และพาเอาทรัพย์ที่ปล้นได้ไปจำเลยกับพวกต้องการให้ผู้เสียหายกับพวกถึงแก่ความตายก็เพื่อปกปิดการที่ตนกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์การพยายามฆ่าผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับการปล้นทรัพย์ซึ่งต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90 ปัญหาว่าศาลไทยลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดต่อชีวิตที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรได้หรือไม่ศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาลงโทษเกินคำขอหรือไม่การกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้เสียหายเป็นกรรมเดียวกันหรือไม่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195,225

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 2 เมษายน 2533 เวลา กลางคืน หลัง เที่ยงจำเลย กับพวก อีก 7 คน ซึ่ง หลบหนี ได้ ร่วมกัน กระทำผิด ต่อ กฎหมายหลายกรรม ต่างกัน กล่าว คือ
ก. จำเลย กับพวก ร่วมกัน ใช้ มีด และ ขวาน เป็น อาวุธ ปล้นทรัพย์ของ นางสาว ลี้ ง๊อก แอม ผู้เสียหาย ที่ 1, นาย ฟาม วัน บา ผู้เสียหาย ที่ 2, นาย เจิน ฮุง ผู้เสียหาย ที่ 3,นาย เหงียน วัน ยาน ผู้เสียหาย ที่ 4 ไป โดยทุจริต โดย จำเลย กับพวก ใช้ อาวุธ มีด และ ขวาน ที่ นำ ติดตัว ไป จี้ บังคับ ขู่เข็ญ ว่า ทันใดนั้นจะ แทง และ ฟัน ทำร้าย ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ กับพวก รวม ประมาณ 191 คนซึ่ง เป็น คน สัญชาติ เวียดนาม อพยพ มาจาก ประเทศ เวียดนาม ด้วย เรือยนต์ ไม้ ให้ ถึงแก่ความตาย หาก ขัดขืน เพื่อ ความสะดวก แก่ การปล้นทรัพย์ พา ทรัพย์ นั้น ไป ให้ ยื่น ให้ ซึ่ง ทรัพย์ และ ยึดถือเอา ทรัพย์ ไว้ โดย การ ปล้นทรัพย์ ดังกล่าว จำเลย กับพวก ใช้ เรือยนต์ที่ ใช้ ใน การ ทำ ประมง เป็น ยานพาหนะ เพื่อ สะดวก ใน การกระทำ ผิด พา ทรัพย์นั้น ไป เพื่อ ให้ พ้น จาก การ จับกุม
ข. หลังจาก กระทำ ความผิด ดังกล่าว แล้ว จำเลย กับพวก ได้ ร่วมกันฆ่า และ พยายามฆ่า ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ และ ชาว เวียดนาม รวม 191 คน ซึ่ง ร่วม โดยสาร เรือยนต์ ไม้ ให้ ถึงแก่ความตาย เพื่อ ปกปิด ความผิดและ ให้ พ้น จาก อาญา โดย จำเลย กับพวก ร่วมกัน ใช้ เรือยนต์ ประมง ซึ่ง ได้ ใช้เป็น ยานพาหนะ ใน การกระทำ ผิด แล่น พุ่ง เข้า ชน เรือยนต์ ไม้ ที่ ผู้เสียหายทั้ง สี่ กับ ชาว เวียดนาม โดยสาร อยู่ เป็นเหตุ ให้ ชาว เวียดนาม ซึ่ง ไม่ทราบ ชื่อ ตก ทะเล ถึงแก่ความตาย จำนวน 20 คน สม ดัง เจตนา ของ จำเลยกับพวก ส่วน ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ และ ผู้ที่ เหลือ รวม จำนวน 171 คน พยายามช่วยเหลือ ตนเอง ประกอบ กับ มี ผู้ พบ เห็น และ ทำการ ช่วยเหลือ ไว้ ได้ ทันจึง ไม่ถึง แก่ ความตาย สม ดัง เจตนา ของ จำเลย กับพวก เหตุ เกิด ใน ทะเลหลวงนอก ราชอาณาจักรไทย ใน วันที่ 8 สิงหาคม 2534 เจ้าพนักงาน จับกุมจำเลย ได้ และ พนักงานสอบสวน ได้รับ มอบหมาย จาก อัยการ สูงสุด ให้ ทำการสอบสวน โดยชอบ แล้ว ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 289,340, 340 ตรี , 80, 83, 91
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษากลับ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(7), 80, 83 กระทง หนึ่ง ฐาน ร่วมกัน ฆ่าและ พยายามฆ่าผู้อื่น เป็น กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษฐาน ร่วมกัน ฆ่า ผู้อื่น ซึ่ง เป็น บทหนัก ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90ให้ ประหารชีวิต และ มาตรา 340 วรรคท้าย , 340 ตรี อีก กระทง หนึ่งให้ ประหารชีวิต เมื่อ รวม โทษ ทุกกระทง แล้ว คง ให้ ประหารชีวิต สถาน เดียว
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ที่ จำเลย มิได้ฎีกา โต้เถียง ฟัง เป็น ยุติ ว่า ตาม วัน เวลา เกิดเหตุ ที่ โจทก์ ฟ้อง มีคนร้าย หลาย คน มี มีด และ ขวาน เป็น อาวุธ ใช้ เรือประมง เป็น ยานพาหนะทำการ ปล้นทรัพย์ พยายามฆ่า ผู้เสียหาย ทั้ง สี่ กับพวก ซึ่ง เป็นชาว เวียดนาม ขณะ หลบหนี จาก ประเทศ เวียดนาม อยู่ บน เรือยนต์ และ ฆ่า พวก ของ ผู้เสียหาย ซึ่ง อยู่ บน เรือยนต์ ดังกล่าว อีก ประมาณ 20 คนทั้งนี้ เพื่อ ปกปิด ความผิด ฐาน ปล้นทรัพย์ และ หลีกเลี่ยง ให้ พ้น จาก อาญาใน ความผิด ดังกล่าว เหตุ เกิด ใน ทะเลหลวง นอก ราชอาณาจักรไทย
มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ว่า พยานหลักฐาน โจทก์ ฟังได้ หรือไม่ ว่าจำเลย เป็น คนร้าย คนหนึ่ง พยานหลักฐาน โจทก์ ฟังได้ ว่า จำเลย เป็น คนร้ายพยาน จำเลย ไม่มี น้ำหนัก หักล้าง พยานโจทก์ ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3พิพากษา ลงโทษ จำเลย ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้นแต่ เห็นว่า คดี นี้ ความผิด เกิดขึ้น ใน ทะเลหลวง นอก ราชอาณาจักรศาล ไทย จะ ลงโทษ ผู้กระทำผิด ที่ เป็น คน ไทย ใน ข้อหา ความผิด ต่อ ชีวิตตาม มาตรา 8(4) ได้ ต่อเมื่อ ผู้เสียหาย ได้ ร้องขอ ให้ ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8(ก) แต่ คดี นี้ ไม่ปรากฏ แน่ชัด ว่า ผู้ตายซึ่ง ถือว่า เป็น ผู้เสียหาย เป็น ใคร บ้าง และ ไม่ปรากฏ ว่า จะ มี ผู้ใดซึ่ง สามารถ จัดการแทน ผู้ตาย ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5(2) ดำเนินการ ร้องขอ ให้ ศาล ไทย ลงโทษ ที่ ปรากฏว่า ผู้เสียหายได้ ร้องทุกข์ ขอให้ ลงโทษ ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 ก็ เฉพาะนางสาว ลี้ ง๊อก แอม นายฟาม วัน บา นายเหงียน วัน ยาน และ นาย เจิน ฮุง ที่ ถูก ปล้นทรัพย์ และ พยายามฆ่า เท่านั้น ฉะนั้น จึง ลงโทษ จำเลย ฐาน ฆ่า ผู้อื่น ไม่ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา ลงโทษจำเลย ใน ความผิด ฐาน ร่วมกัน ฆ่า ผู้อื่น มา ด้วย ทั้ง ๆ ที่ ไม่ปรากฏ ว่ามี ผู้เสียหาย ขอให้ ลงโทษ นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย และ ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ฐาน ปล้นทรัพย์ เป็นเหตุ ให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคท้ายด้วย นั้น เป็น การ เกินคำขอ ที่ โจทก์ กล่าว ใน ฟ้อง ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 เพราะ โจทก์ บรรยายฟ้องข้อหา ปล้นทรัพย์ ไว้ ใน ข้อ 1 ก. แยก ต่างหาก จาก ข้อหา ฆ่า และ พยายามฆ่าซึ่ง อยู่ ใน ข้อ 1 ข. เพียง ว่า จำเลย กับพวก ร่วมกัน ใช้ มีด และ ขวานเป็น อาวุธ ใน การ ปล้นทรัพย์ โดย ใช้ เรือยนต์ ซึ่ง ใช้ ใน การประมง เป็นยานพาหนะ เท่านั้น ไม่ได้ บรรยาย ว่า ใน การ ปล้นทรัพย์ เป็นเหตุ ให้ ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ด้วย ถือว่า โจทก์ ไม่ประสงค์ ให้ ลงโทษ จำเลย ดังกล่าวคง ลงโทษ จำเลย ได้ เพียง ฐาน ปล้นทรัพย์ โดย มี อาวุธ และ ใช้ ยานพาหนะเพื่อ กระทำผิด และ เห็นว่า หลังจาก ที่ จำเลย กับพวก ปล้นทรัพย์ ได้ แล้วถอย เรือ ไป อยู่ ห่าง จาก เรือ ของ ผู้เสียหาย กับพวก ประมาณ 20 เมตรเพื่อ รอ ดู การ ที่ เรือประมง ลำ ที่ 3 และ ลำ ที่ 4 เข้า มา ปฏิบัติการเทียบ กับ เรือ ผู้เสียหาย แล้ว ลูกเรือ ประมง ลำ ที่ 3 ขึ้น ไป พา ผู้หญิง เวียดนาม 6 คน ขึ้น ไป บน เรือประมง ลำ ที่ 3 เสร็จ แล้ว เรือประมง ลำ ที่ 3 และ ลำ ที่ 4 จึง แล่น ออก ไป หลังจาก นั้น จำเลย กับพวก ขับเรือประมง พุ่ง เข้า ชน เรือ ผู้เสียหาย จน มี พวก ของ ผู้เสียหาย ตก ทะเลหาย ไป ประมาณ 20 คน นั้น ยัง อยู่ ใน ช่วง แห่ง การ ปล้นทรัพย์ เพราะเป็น เวลา ใกล้ชิด ต่อเนื่อง จาก การ ได้ ทรัพย์ และ พา เอา ทรัพย์ ที่ ปล้น ได้ ไปเจตนา ที่ จำเลย กับพวก ต้องการ ให้ ผู้เสียหาย กับพวก ถึงแก่ความตายก็ เพื่อ ปกปิด การ ที่ ตน กระทำ ความผิด ฐาน ปล้นทรัพย์ นั้นเอง การ พยายามฆ่าผู้เสียหาย จึง เป็น การกระทำ กรรมเดียว กับ การ ปล้นทรัพย์ ซึ่ง ต้อง ลงโทษตาม กฎหมาย บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90ปัญหา เหล่านี้ แม้ ไม่มี คู่ความ ฝ่ายใด ฎีกา ศาลฎีกา ก็ ยกขึ้น วินิจฉัยเอง ได้ เพราะ เป็น ข้อกฎหมาย ที่ เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195, 225”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ฐาน ปล้นทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 2 ประกอบ ด้วย มาตรา 340 ตรี , 83ฐาน พยายามฆ่า ตาม มาตรา 289(7), 80, 83 เป็น การกระทำ กรรมเดียวผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท ลงโทษ ตาม มาตรา 289(7), 80 ประกอบ มาตรา 52(1)ซึ่ง เป็น บทหนัก ตาม มาตรา 90 ให้ จำคุก ตลอด ชีวิต และ ให้ยก ฟ้องโจทก์ใน ข้อหา ฆ่า ผู้อื่น

Share