แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ในชันสูตร์บาดแผลคำรับสารภาพโจทก์ฟ้องว่าจำเลยพยายามชิงทรัพย์แลทำร้ายเจ้าเทรัพย์มีบาดเจ็บสาหัส จำเลย จะให้การรับสารภาพ ในใบชันสูตร์ว่าสาหัสแต่ไม่ปรากฏอาการที่เป็นลักษรสาหัสตามกฎหมายดังนี้ ศาลไม่ลงโทษตาม ม. 300 ตอน 2 โทษครั้งก่อนต้องเกินกว่า 6 เดือนจึงจะเพิ่มโทษตาม ม. 73 ได้
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยใช้มีดเป็นสาตราวุธพยายามชิงทรัพย์ของ ต. แลทำร้าย ต. มีบาดเจ็บสาหัส แลยังได้ต่อสู้ทำร้ายเจ้าพนักงานและจำเลยเคยต้องโทษฐานทำราายร่ากายมีกำหนด ๒ เดือน พ้นโทษยังไม่เกิน ๓ ปี จึงให้ลงโทษตาม ม. ๓๐๐ – ๖๐ -๑๑๙ – ๗๓
จำเลยให้การรับสารภาพ
ปรากฏตามใบชันสูตร์บาดแผลที่โจทก์ส่งศาลว่า ต. ถูกอาวุธมี ” สาหัส ”
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตาม ม. ๓๐๐ วรรคต้น ๖๐ – ๑๑๙ แลให้ลดโทษแลให้เพิ่มโทษจำเลยตาม ม . ๗๓
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เพิ่มโทษจำเลยตาม ม. ๗๒
โจทก์ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ปรากฏว่าเจ้าทรัพย์ต้องบาดเจ็บสาหัส แลจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ศาลควรลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ทำให้เข้าทรัพย์มีบาดเจ็บสาหัสได้ แลว่ากฏหมายลักษณอาญา ม. ๗๓ มุ่งหมายถึงโทษ ” ไม่น้อยกว่า ๖ เดือน ” จึงควรยก ม. ๗๓ มาปรับคดีได้
ศาลฏีกาเห็นว่าบาดเจ้สาหัสตามที่รุบุไว้ในมาตรา ๓๐๐ วรรค ๒ นั้น คือลักษรสาหัสที่รุบุไว้ใน ม. ๒๕๖ นั้นเอง เห็นว่าตามฟ้องโจทก์ประกอบด้วยใบชันสูตร์บาดแผลไม่ปรากฏว่าเป็นลักษษสาหัสที่รุบุไว้ใน ม ๒๕๖ ก็ลงโทษตาม ม . ๓๐๐ วรรค . ไม่ได้ เพียงเท่าฟ้างโจทก์ประกอบด้วยใบชันสูตร์ยาดแผล ก็ลงโทษตาม ม. ๓๐๐ วรรค ๒ ไม่ได้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษได้เพียง เท่าฟ้องโจทก์ประกอบด้วยใบชันสูตร์บาดแผลเท่านั้น แลเห็นว่า ม. ๗๓ มีคำชัดว่า ” ไม่เกิน กว่า ๖ เดือน ” จึงพิพากษาให้ยืนตามศาลอุทธรณ์