คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2487

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยเปนผู้ประกอบการค้าเหรียนกสาปน์ซึ่งมีผู้นำไปซื้อของ+ร้านจำเลยก่อนถูกจับ 10 วัน เปนจำนวนเงิน 49 บาทเสสแม้ไม่ยอมทอนไห้ผู้มาซื้อของและเหตุเกิดก่อนไช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.เงินตราไนภาวะฉุกเฉิน พ.ส.2484 พ.ส.2486 + ยังไม่พอลงโทสจำเลย.

ย่อยาว

โจทฟ้องว่าเจ้าพนักงานค้นเหรียนกสาปน์ได้จากจำเลยคือเหรียนสลึง ๑๕๗ อัน สตางค์สิบ ๑๘๘ อัน สตางค์หนึ่งสตางค์ ๑๑ อันรวมราคา ๔๙ บาทเสส ขอไห้ลงโทส
ได้ความว่าจำเลยตั้งร้านค้าขาย ได้เหรียนกสาปน์รายนี้มาจากนายอิดรวมราคา ๔๙ บาทเสสก่อนหน้าถูกต้น ๑๐ วัน โดยพระครูเจ้าอธิการวัด+ไห้นายอิดนำไปซื้อของจากร้านจำเลยเพื่อทำบุนงานสพ เหรียนกสาปน์นี้ท่านพระครูเรี่ยรายได้มาจากชาวบ้าน คดีนี้เกิดก่อนประกาสไช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเงินตราไนภาวะฉุกเฉิน พ.ส.๒๔๘๔ พ.ส.๒๔๘๖
สาลชั้นต้นพิพากสาลงโทสจำคุกจำเลย ๕ ปี
สาลอุธรน์ยังเห็นว่ายังสันนิถานไม่ได้ว่าจำเลยมีไว้เกินสมควนแก่ปรกติธุระและเกินจำเปนอันจะถือได้ว่าจำเลยค้าเหรียนกสาปน์ แม้จะเอาหลักตามเจตนารมย์ของพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเงินตราไนภาวะฉุกเฉิน พ.ส.๒๔๘๔ พ.ส.๒๔๘๖ มาปรับคดีก็ได้ความว่าของกลางมีเหรียนกสาปน์ชนิดราคาไม่ถึง ๒๐ สตางค์เพียง ๑๘ บาท ๙๑ สตางค์เท่านั้น จะเอาผิดแก่จำเลยไม่ได้ พิพากสายกฟ้อง
โจทดีกาว่า กดหมายนี้ย่อมไช้บังคับแก่การกะทำผิดมาก่อนได้และคำว่าเหรียนกสาปน์หมายถึงเหรียนทุกชนิดที่ไช้เช่นเงินตรา
สาลดีกาเห็นว่า จะนำพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเงินตราไนภาวะฉุกเฉิน พ.ส.๒๔๘๔ พ.ส.๒๔๘๖ มาปรับกับคดีนี้ไม่ได้ และคดีตกเปนหน้าที่โจทจะต้องสแดงไห้เห็นว่าจำเลยมีเหรียนกสาปน์รายนี้ไว้เกินสมควนและจำเปน แต่เท่าที่โจทสืบมาและการที่จำเลยไม่ยอมทอนสตางค์นั้น คดียังไม่พอจะลงโทสจำเลยได้ และแม้จะเอาพระราชกำหนด พ.ส.๒๔๘๖ มาปรับกับคดีนี้ ก็ยังสันนิถานว่าจำเลยมีไว้เกินสมควนไม่ได้ เพราะเหรียนสลึงแม้จะเปนเหรียนกสาปน์แต่ก็ไม่ไช่เหรียนชนิดที่ต้องข้อสันนิถานไนพระราชกำหนด เพระาพระราชกำหนดพูดถึงแต่เหรียนกสาปน์ชนิดราคา ๒๐ สตางค์หรือต่ำกว่าเท่านั้น จำเลยมีเหรียนกสาปน์ชนิด ๒๐ สตางค์หรือต่ำกว่าไม่ถึง ๒๐ บาท จำเลยจึงยังไม่มีผิด พิพากสายืน.

Share