แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์เป็นเพียงผู้ให้เช่ารถเพื่อใช้บรรทุกและเก็บสินค้าคือเครื่องจักรพิพาทไว้ในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยจนกว่าเจ้าของสินค้าจะขนย้ายออกไปเท่านั้นไม่ได้มีสัญญาต่อกันว่าโจทก์จะต้องขนสินค้าดังกล่าวไปส่งให้แก่เจ้าของสินค้าณสถานที่แห่งอื่นอย่างไรจึงไม่มีค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์ที่โจทก์จะเรียกเอาจากเจ้าของสินค้าได้คงมีเฉพาะค่าเช่าที่เจ้าของสินค้าค้างชำระอยู่สัญญาระหว่างโจทก์กับเจ้าของสินค้าจึงไม่ใช่สัญญารับขนของโจทก์จึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา630ยึดหน่วงเครื่องจักรพิพาทที่จำเลยที่6และที่7ประมูลซื้อไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่าที่เจ้าของสินค้าค้างชำระหาได้ไม่และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิยึดหน่วงดังกล่าวการที่จำเลยที่2ร่วมกับจำเลยที่7เข้าทำการตรวจค้นที่ทำการของโจทก์แล้วยึดเอาเครื่องจักรพิพาทจากโจทก์ไปจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการขอให้ชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2ที่5ที่6และที่7ชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยที่2ที่5ที่6และที่7ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า มี ผู้นำ สินค้า เครื่องจักร ซึ่ง เป็น ของเก่า จากประเทศ เยอรมนี เข้า มา ใน ประเทศ ไทย ทางเรือ ผู้นำ เข้า สินค้า ดังกล่าว ได้ว่า จ้าง รถเทรลเลอร์ โจทก์ จำนวน 2 คัน ใน อัตรา ค่าจ้าง วัน ละ5,000 บาท มี การ ขนถ่าย สินค้า ขึ้น บรรทุก รถเทรลเลอร์ ทั้งสอง คัน แล้วแต่ ยัง ลาก จูง ออกจาก บริเวณ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ไม่ได้ ทั้งนี้เพราะ ผู้นำ เข้า จะ ต้อง ดำเนิน พิธี ทาง ศุลกากร และ ชำระ ค่าธรรมเนียมให้ แก่ การท่าเรือแห่งประเทศไทย เสีย ก่อน โจทก์ คอย อยู่ เป็น เวลาหลาย เดือน แต่ ผู้นำ เข้า มิได้ ดำเนินการ ดังกล่าว โจทก์ จะ ขน เครื่องจักรลง วาง ไว้ กับ พื้น ก็ ไม่อาจ ทำได้ เนื่องจาก เครื่องจักร แต่ละ เครื่องมี น้ำหนัก ถึง เครื่อง ละ 32 ตัน การท่าเรือแห่งประเทศไทย ไม่อนุญาต ให้วาง บน พื้น ต่อมา กรมศุลกากร ได้ ทำการ ขายทอดตลาด สินค้า เครื่องจักรราย นี้ จำเลย ที่ 6 ประมูล ซื้อ ได้ โจทก์ ได้ มี หนังสือ ถึง กรมศุลกากรขอรับ เงิน ค่าขาย ทอดตลาด ภายหลัง จาก หัก ภาษีอากร ตาม กฎหมาย แล้วเป็น การ ชำระ ค่าระวาง พาหนะ และ อุปกรณ์ ที่ ผู้นำ เข้า จะ ต้อง ชำระ ให้แก่ โจทก์ แต่ กรมศุลกากร แจ้ง ว่า ไม่อาจ ดำเนินการ ให้ ได้ จำเลย ที่ 6และ ที่ 7 ได้ ตกลง ว่าจ้าง โจทก์ ขนส่ง เครื่องจักร ที่ ประมูล ได้ ไป ส่งยัง จุดหมาย ปลายทาง โจทก์ ขอให้ จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 ชำระ ค่าระวางพาหนะ และ อุปกรณ์ ที่ ค้างชำระ เสีย ก่อน แต่ จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7ไม่ยอม ชำระ โจทก์ จึง ใช้ สิทธิยึดหน่วง เครื่องจักร ไว้ ตาม กฎหมายหลังจาก นั้น จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 สมคบ กัน ร้องทุกข์ อันเป็นเท็จต่อ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ว่า โจทก์ และ นาย แสงทอง บุณย์ศุภา ลูกจ้าง ของ โจทก์ ยักยอก เครื่องจักร ที่ จำเลย ที่ 6ประมูล ซื้อ ได้ จาก กรมศุลกากร จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4ร่วม กับ จำเลย ที่ 7 เข้า ทำการ ตรวจ คัน ที่ทำการ ของ โจทก์ บริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทย โจทก์ ได้ แจ้ง ให้ บุคคล เหล่านั้น ทราบ แล้ว ว่าโจทก์ เป็น ผู้รับจ้าง ทำการ ขนส่ง เมื่อ ผู้นำ เข้า ยัง ไม่ชำระค่าระวาง พาหนะ และ อุปกรณ์ ให้ แก่ โจทก์ โจทก์ จึง ต้อง ใช้ สิทธิยึดหน่วงตาม กฎหมาย แต่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ใช้ อำนาจ หน้าที่โดยมิชอบ ทำการ ยึด เครื่องจักร ดังกล่าว ไป จาก การ ครอบครอง ของ โจทก์และ มอบ ให้ จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 นำ ไป ติด ตั้ง ใน โรงงาน ของ จำเลย ที่ 6โดย มี เจตนา ช่วยเหลือ มิให้ จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 ต้อง เสีย เงินค่าระวาง พาหนะ และ อุปกรณ์ ให้ แก่ โจทก์ ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหายโจทก์ มี หนังสือ ร้องเรียน ไป ยัง จำเลย ที่ 5 กล่าว โทษ จำเลย ที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และ ที่ 4 ว่า กระทำการ โดยมิชอบ ด้วย หน้าที่ ทำให้ โจทก์ ได้รับความเสียหาย ขอให้ ดำเนินการ สอบสวน และ ใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์เป็น เงิน จำนวน 2,385,000 บาท จำเลย ที่ 5 ทราบ แล้ว เพิกเฉย จำเลย ที่ 5และ ที่ 6 ใน ฐานะ ตัวการ และ นายจ้าง จะ ต้อง รับผิด ใน ผล แห่ง ละเมิดของ ตัวแทน และ ลูกจ้าง ชดใช้ เงิน จำนวน ดังกล่าว พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยนับแต่ วัน ทำละเมิด ถึง วันฟ้อง ให้ แก่ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง เจ็ดร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย ดังกล่าว แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 5 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิยึดหน่วงเครื่องจักร ราย นี้ เพราะ เครื่องจักร ดังกล่าว ทั้ง สอง เครื่องมี ถิ่น กำเนิด จาก ประเทศ เยอรมนี และ โจทก์ นำ รถเทรลเลอร์ ไป รับ เครื่องจักร จาก เรือ โดย มิได้ ระบุ ว่า ผู้ใด เป็น ผู้ว่าจ้าง ภายหลังเครื่องจักร ตกเป็น ของ แผ่นดิน ตาม กฎหมาย กรมศุลกากร ได้ ดำเนินการขายทอดตลาด ตาม มาตรา 61 แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 พ.ศ. 2515 ข้อ 10 จำเลย ที่ 6ประมูล ซื้อ ได้ กรมศุลกากร จึง ส่งมอบ เครื่องจักร พร้อม อุปกรณ์ ให้ แก่จำเลย ที่ 6 และ จำเลย ที่ 6 ได้ว่า จ้าง โจทก์ ขน เครื่องจักร พร้อม อุปกรณ์ดังกล่าว ไป ส่ง ให้ แก่ จำเลย ที่ 6 โดย จำเลย ที่ 6 ชำระ ค่าจ้าง ให้ โจทก์ครบถ้วน แล้ว แต่ พนักงาน โจทก์ คง นำ เฉพาะ อุปกรณ์ ของ เครื่องจักร ไป ส่งให้ แก่ จำเลย ที่ 6 ส่วน เครื่องจักร จำนวน 2 เครื่อง โจทก์ ไม่ จัด ส่งให้ แก่ จำเลย ที่ 6 โจทก์ จึง เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา รับขนส่ง สินค้า จึงไม่มี สิทธิยึดหน่วง เครื่องจักร ไว้ โจทก์ ไม่ใช่ ผู้ครอบครอง ทรัพย์จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 6 โดย จำเลย ที่ 7 ได้ ร้องทุกข์เจ้าพนักงาน ตำรวจ สอบสวน ข้อเท็จจริง เบื้องต้น แล้ว เห็นว่า มีมูลจำเลย ที่ 2 จึง ขอ หมาย ค้น จาก จำเลย ที่ 1 และ ร่วม กับ จำเลย ที่ 3และ ที่ 4 ตรวจ ยึด เครื่องจักร ของ จำเลย ที่ 6 จำนวน 2 เครื่อง จาก โจทก์มา เป็น ของกลาง ต่อมา จำเลย ที่ 2 ได้ ขออนุมัติ จับกุม ตัว นาย แสงทอง หัวหน้ากอง เดิน รถเทรลเลอร์ ของ โจทก์ มา ดำเนินคดี ใน ข้อหา ฐาน ยักยอกทรัพย์ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 ปฏิบัติ ราชการ ไป ตาม อำนาจ หน้าที่ มิได้กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ จำเลย ที่ 5 จึง ไม่ต้องรับผิด ต่อ โจทก์ ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ เรียก สูง เกิน ไป ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ที่ 6และ ที่ 7 ประมูล ซื้อ เครื่องจักร พิพาท ได้ จาก กรมศุลกากร และ ได้ ชำระราคา แล้ว กรรมสิทธิ์ ใน เครื่องจักร พิพาท จึง ตกเป็น ของ จำเลย ที่ 6และ ที่ 7 เมื่อ จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 ว่าจ้าง โจทก์ ขนส่ง เครื่องจักรพิพาท โจทก์ ก็ ต้อง ปฏิบัติ ตาม สัญญาจ้าง แต่ โจทก์ กลับ ใช้ สิทธิอัน ไม่สุจริต นำ เครื่องจักร พิพาท ไป โดยทุจริต เป็น การกระทำ ละเมิดต่อ จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 ทำให้ จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 ได้รับ ความเสียหายคิด เป็น เงิน ทั้งสิ้น จำนวน 500,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง โจทก์ และ บังคับให้ โจทก์ ใช้ ค่าเสียหาย ดังกล่าว แก่ จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า จำเลย ที่ 7 กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ใน ฐานะ ส่วนตัว และ ตัวแทน ของ จำเลย ที่ 6 จึง ต้อง ร่วมกัน รับผิด ต่อ โจทก์จำเลย ที่ 7 มิได้ เสียหาย เป็น ส่วนตัว ฟ้องแย้ง ขาดอายุความ จำเลย ที่ 6และ ที่ 7 ว่าจ้าง โจทก์ ขนส่ง เครื่องจักร พิพาท และ สิ่งของ อื่น ด้วยแต่ สำหรับ เครื่องจักร พิพาท โจทก์ ได้ แจ้ง ให้ จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7ทราบ แล้ว ว่า จะ ไม่ทำ การ ขนส่ง ให้ ก่อน ซื้อ เครื่องจักร พิพาท จำเลย ที่ 6ที่ 7 ทราบ อยู่ แล้ว ว่า เครื่องจักร ดังกล่าว บรรทุก อยู่ บน รถ โจทก์พร้อม ทั้ง ค้างชำระ ค่าระวาง พาหนะ และ อุปกรณ์ ต่าง ๆ ตลอดจนค่าธรรมเนียม อื่น ๆ แก่ โจทก์ ด้วย ขณะที่ จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7ติดต่อ ว่าจ้าง โจทก์ ให้ ขนส่ง เครื่องจักร พิพาท และ สิ่งของ อื่นเจ้าหน้าที่ ของ โจทก์ ได้ แจ้ง ให้ ทราบ ถึง สิทธิยึดหน่วง ของ โจทก์ และแจ้ง ให้ รับ เงิน ค่าจ้าง ขนส่ง เครื่องจักร พิพาท คืน แต่ จำเลย ที่ 6และ ที่ 7 ไม่ยอม รับ คืน จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 ไม่ได้ รับ ความเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7ชำระ เงิน จำนวน 500,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ให้ยก ฟ้องจำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 5 และ ยกฟ้อง แย้ง ของ จำเลย ที่ 6 ที่ 7
โจทก์ จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6และ ที่ 7 ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 2,385,000 บาท แก่ โจทก์ นอกจากที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และ ที่ 7 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของจำเลย ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และ ที่ 7 ว่า โจทก์ มีสิทธิ ยึด หน่วงเครื่องจักร พิพาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 630หรือไม่ ปัญหา นี้ พิจารณา บทบัญญัติ แห่ง มาตรา ดังกล่าว ซึ่ง บัญญัติ ว่า”ผู้ขนส่ง ชอบ ที่ จะ ยึด หน่วง เอา ของ ไว้ ก่อน ได้ ตาม ที่ จำเป็น เพื่อ ประกันการ ใช้ เงิน ค่าระวาง พาหนะ และ อุปกรณ์ ” แล้ว จะ เห็น ได้ว่า ผู้มีสิทธิยึด หน่วง ต้อง เป็น ผู้ขนส่ง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608และ 610 ผู้ขนส่ง คือ บุคคล ผู้รับขนส่ง ของ หรือ คนโดยสาร เพื่อ บำเหน็จเป็น ทาง ค้า ปกติ ของ ตน บุคคล ผู้ทำ ความ ตกลง กับ ผู้ขนส่ง เพื่อ ให้ ขนของส่ง ไป เรียกว่า ผู้ส่ง หรือ ผู้ตราส่ง บุคคล ผู้ซึ่ง เขา ส่ง ของ ไป ถึงเรียกว่า ผู้รับตราส่ง บำเหน็จ อัน จะ ต้อง จ่าย ให้ เพื่อ การ ขนส่ง ของ นั้นเรียกว่า ค่าระวาง พาหนะ บทบัญญัติ ดังกล่าว นี้ ย่อม มี ความหมาย ชัดแจ้งอยู่ แล้ว ว่า การ รับขนของ เป็น สัญญา ที่ ผู้ขนส่ง ตกลง จะ ทำการ ขนส่ง ของจาก ที่ หนึ่ง ไป ยัง อีก ที่ หนึ่ง โดย เรียก ค่าระวาง พาหนะ จาก ผู้ส่งหรือ ผู้ตราส่ง ใน ชั้น นี้ จึง เห็นสมควร วินิจฉัย เสีย ก่อน ว่า ข้อตกลงระหว่าง โจทก์ กับ ผู้นำ เข้า เครื่องจักร พิพาท หรือ เจ้าของ สินค้า ดังกล่าวเป็น สัญญา รับขนของ หรือไม่ ตาม ข้อเท็จจริง ดังกล่าว จะ เห็น ได้ว่าโจทก์ เป็น เพียง ผู้ให้เช่า รถ เท รลเลอร์หรือ รถบรรทุกโลบอยเพื่อ ใช้บรรทุก และ เก็บ สินค้า คือ เครื่องจักร พิพาท ไว้ ใน บริเวณ การท่าเรือแห่งประเทศ ไทย จนกว่า เจ้าของ สินค้า จะ ขนย้าย ออก ไป เท่านั้น ไม่ได้ มีสัญญา ต่อ กัน ว่า โจทก์ จะ ต้อง ขนสินค้า ดังกล่าว ไป ส่ง ให้ แก่ เจ้าของ สินค้าณ สถานที่ แห่ง อื่น แต่อย่างใด จึง ไม่มี ค่าระวาง พาหนะ และ อุปกรณ์ที่ โจทก์ จะ เรียก เอา จาก เจ้าของ สินค้า ได้ คง มี เฉพาะ ค่าเช่า ที่ เจ้าของสินค้า ค้างชำระ อยู่ สัญญา ระหว่าง โจทก์ กับ เจ้าของ สินค้า จึง ไม่ใช่สัญญา รับขนของ และ ใน กรณี ดังกล่าว โจทก์ ก็ ไม่ใช่ ผู้ขนส่ง ฉะนั้นโจทก์ จะ อาศัย อำนาจ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 630ยึด หน่วง เครื่องจักร พิพาท ซึ่ง จำเลย ที่ 6 และ ที่ 7 ประมูล ซื้อ ได้จาก การ ขายทอดตลาด ของ กรมศุลกากร ไว้ เพื่อ เป็น ประกัน การ ชำระ ค่าเช่าที่ เจ้าของ สินค้า ค้างชำระ หาได้ไม่ เมื่อ โจทก์ ไม่มี สิทธิยึดหน่วงดังกล่าว การ ที่ จำเลย ที่ 2 ร่วม กับ จำเลย ที่ 7 เข้า ทำการ ตรวจค้นที่ทำการ ของ โจทก์ แล้ว จำเลย ที่ 2 ยึด เอา เครื่องจักร พิพาท จาก โจทก์มา เป็น ของกลาง การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 7 จึง ไม่เป็น การ ละเมิดต่อ โจทก์ จำเลย ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และ ที่ 7 ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ คดี ไม่จำต้อง วินิจฉัย ปัญหา ตาม ฎีกา ข้อ อื่นของ จำเลย ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และ ที่ 7 อีก ต่อไป คำพิพากษาศาลล่าง ทั้ง สอง ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2ที่ 5 ที่ 6 และ ที่ 7 ฟังขึ้น
เนื่องจาก คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง เจ็ด ร่วมกันชำระหนี้ ใน มูลละเมิด อันเป็น การ ขอให้ ชำระหนี้ อัน ไม่อาจ แบ่งแยก ได้ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ร่วม กับ จำเลย ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6และ ที่ 7 ชำระหนี้ แก่ โจทก์ เมื่อ จำเลย ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และ ที่ 7ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ ดัง วินิจฉัย มา แล้วศาลฎีกา เห็นสมควร พิพากษา ให้ มีผล ถึง จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ไม่ได้ ฎีกา ด้วยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบ ด้วยมาตรา 247″
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์