แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความผิดตาม พ.ร.บ. ฝิ่น ซึ่งบัญญัติโทษไว้ทั้งจำคุกและปรับนั้น ถ้าไม่ใช่กรณีเรื่องเพิ่มโทษตาม พ.ร.บ.ฝิ่น พ.ศ. 2472 มาตรา 68 แล้ว ก็ตกอยู่ภายในบทบัญญัติของมาตรา 11, 23 แห่ง ก.ม.ลักษณะอาญา คือเมื่อศาลเห็นสมควร จะยกโทษปรับเสีย,ให้จำเลยรับโทษจำคุกแต่สถานเดียวก็ได้./
ย่อยาว
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีมูลฝิ่น และกล้องสูบฝิ่นไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ฝิ่น พ.ศ. ๒๔๗๒ มาตรา ๓๔, ๕๓, ๖๖ พ.ร.บ.ฝิ่น (ฉะบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๙๔ มาตรา ๗ ให้จำคุก ๑ เดือน สำหรับโทษปรับ ให้ยกเสียตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๑๑ และ ๑๒ ลดตามมาตรา ๕๙ เสียกึ่งหนึ่ง คงจำคุก ๑๕ วัน จำเลยต้องขังมาพอแก่ โทษแล้ว ให้ปล่อยตัวไป ของกลางริบ
โจทก์อุทธรณ์ในข้อกฎหมายว่า มาตรา ๗ แห่ง พ.ร.บ.ฝิ่น(ฉะบับที่ ๖) พ.ศ.๒๔๙๔ บัญญัติโทษไว้ทั้งจำคุกและปรับ ขอให้ลง โทษปรับอีกสถานหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกาต่อมา
ศาลฎีกาเห็นว่า กรณีความผิดในคดีฝิ่นเรื่องนี้ มิใช่เป็นเรื่องเพิ่มโทษผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ฝิ่น พ.ศ. “๒๔๗๒ มาตรา ๖๘ ฉะนั้น จึงตกอยู่ภายในบทบัญญัติของมาตรา ๑๑ – ๒๓ แห่ง ก.ม.ลักษณะอาญา ศาลอาจใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยเหตุการณ์เพาะ สำหรับคดีเรื่องหนึ่ง ๆ เมื่อเห็นสมควรจะยกโทษปรับเสีย ให้จำเลยรับโทษจำคุกสถานเดียวก็ได้
จึงพิพากษายืน.