คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ฎีกาในเรื่องค่าเสียหายแต่ฎีกาโจทก์มิได้มีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายด้วยศาลฎีกาย่อมไม่อาจพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้จึงไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

ย่อยาว

โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินทั้งสองแปลงแก่โจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้มีกรรมสิทธิ์รวมครึ่งหนึ่งส่วนที่เหลือเป็นทรัพย์มรดกของนายณรงค์ซึ่งต้องแบ่งให้โจทก์ที่ 2และที่ 3 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละส่วนเท่า ๆ กัน หากตกลงกันไม่ได้ให้นำออกขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตาม ส่วน สำหรับ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 31074 หาก การ แบ่ง เป็น การพ้นวิสัย ให้ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ ราคา ตาม ส่วน กับ ให้ ร่วมกัน ใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สาม รวม 22,500 บาท และ ค่าเสียหายเดือน ละ 5,625 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จำเลย ทั้ง สอง จะ ยุติการ ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ดังกล่าว
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ต่อสู้ คดี ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง แบ่ง เงิน ที่ ได้จาก การ ขาย ที่ดิน มรดก ตาม โฉนด เลขที่ 31074 และ เงิน ดอกผลของ ที่ดิน ดังกล่าว ให้ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 คน ละ 38,250 บาทคำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง แบ่ง เงินดอกผล และ เงิน จาก การ ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 31074ให้ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 เพิ่ม อีก คน ละ 38,250 บาท รวมเป็น เงินคน ละ 76,500 บาท นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา เรื่อง ค่าเสียหาย นั้นเห็นว่า แม้ โจทก์ ทั้ง สาม จะ ฎีกา ประเด็น นี้ มา ด้วย ก็ ตาม แต่ ในตอนท้ายของฎีกาโจทก์ทั้งสามมิได้มีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายด้วย ศาลฎีกาย่อมไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสามได้ จึงไม่รับวินิจฉัยให้
อนึ่ง เกี่ยวกับเงินค่าเช่าหรือค่าขาดประโยชน์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 31074 จำนวน 6,000 บาท นั้น ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามฟ้องและมีคำขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งเงินส่วนนี้ให้โจทก์ที่ 1 ครึ่งหนึ่งคือจำนวน 3,000 บาท ส่วนที่เหลือให้นำมาแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2คนละส่วนเท่า ๆ กัน คือคนละ 750 บาท การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเมื่อโจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งคนละ1 ใน 4 ส่วนเป็นเงินคนละ 1,500 บาท จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ซึ่งข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้โดยให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้รับเงินส่วนแบ่งไม่เกินคนละ 750 บาท ตามฟ้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 277,500 บาท โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3คนละ 70,125 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

Share