แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า “THEBEACHBOYS” ใช้เป็นเครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าประเภทแผ่นเสียงแถบบันทึกเสียงเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศต่างๆหลายประเทศแต่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือคำว่า “BEACHBOYS” เป็นรูปสามเหลี่ยม3รูปวางซ้อนกันโดยสามเหลี่ยมรูปในมีเส้นลวดลายและมีรูปดอกไม้สามดอกมีรูปคนในลักษณะเล่นกระดานโต้คลื่นด้านบนมีอักษรโรมันคำว่า”BEACH” อยู่ในแถบโค้งสีทึบและด้านล่างมีคำว่า “BOYS” อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตัวอักษรโรมันทั้งสองคำมองเห็นอย่างเด่นชัดเป็นที่สะดุดตาส่วนรูปดอกไม้คนและกระดานโต้คลื่นมองครั้งแรกแทบจะไม่ทราบว่าเป็นอะไรส่วนประกอบสำคัญของเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงอยู่ที่ตัวหนังสือโรมันคำว่า “BEACHBOYS” แม้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะไม่มีคำว่า “THE” แต่เมื่อเวลาอ่านออกเสียงจะเน้นหนักตรงคำ บีชบอยส์ ย่อมทำให้ประชาชนผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยต่อภาษาต่างประเทศฟังหรือเรียกขานเป็นอย่างเดียวกันและเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก38เช่นเดียวกับของโจทก์ประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกว่า ตราบีชบอยส์เหมือนกันทำให้สับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนการที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า”BEACHBOYS” กับรูปภาพโดยมีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า “THEBEACHBOYS” ของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น บริษัท ผู้ผลิต และ จำหน่าย สินค้าเครื่องนุ่งห่ม และ เครื่องแต่งกาย รวมทั้ง ประกอบ ธุรกิจ ด้าน บันเทิงด้วย โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า คำ ว่า “THE BEACH BOYS” (อ่าน ว่า “เดอะ บีช บอยส์” แปล ว่า เด็ก ชาย หาด ) โจทก์ ได้ ใช้ และ โฆษณา เครื่องหมายการค้า กับ สินค้า ของ โจทก์ หลาย ชนิด เช่นเครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกาย แผ่น เสียง และ แถบบันทึกเสียง ใน ประเทศต่าง ๆ เป็น เวลา นาน จน มี ชื่อเสียง เป็น ที่ รู้ จัก ของ สาธารณชนใน ประเทศ ต่าง ๆ อย่าง แพร่หลาย และ ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ใน ประเทศ ต่าง ๆ หลาย ประเทศ เช่น ประเทศ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ใน บาง ประเทศ โจทก์ ได้ จดทะเบียน คำ ว่า “THE BEACH BOYS” ไว้ เป็น เครื่องหมาย บริการ ด้าน บันเทิง อีก ด้วย เมื่อ เดือน มกราคม 2529 จำเลย ได้ ยื่น ขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “BEACH BOYS” กับ รูป ตาม คำขอ เลขที่ 153240สำหรับ สินค้า จำพวก 38 ทั้ง จำพวก อัน ได้ แก่ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องแต่งกาย เมื่อ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ดังกล่าว ได้ ประกาศใน หนังสือ จดหมาย เหตุ แสดง รายการ เครื่องหมายการค้า โจทก์ได้ ยื่น คำคัดค้าน ต่อ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า แต่ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้ ยก คำคัดค้าน ของ โจทก์ ก่อน ที่ จำเลย จะ ยื่นขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 153240 จำเลยได้ รู้ จัก เครื่องหมายการค้า คำ ว่า “THE BEACH BOYS” ของ โจทก์ อย่างดี มา ก่อน แล้ว จึง นำ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ไป ยื่น ขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า โดย ตัด คำ ว่า “THE” ออก ซึ่ง แปล ได้ เป็น อย่างเดียว กัน กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ว่า เด็ก ชาย หาด เครื่องหมายการค้า “BEACH BOYS” กับ รูป ตาม คำขอ เลขที่ 153240 ที่ จำเลย ยื่น ขอ จดทะเบียน จึง เหมือน หรือ คล้าย กับเครื่องหมายการค้า คำ ว่า “THE BEACH BOYS” ของ โจทก์ และ ยัง ใช้ กับ สินค้า จำพวก เดียว กับ สินค้า ของ โจทก์ ซึ่ง สาธารณชน ย่อม เข้าใจ ว่าเครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ตาม คำขอ เลขที่ 153240 คือ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ และ ถูก ลวง ให้ หลงผิด ใน แหล่งกำเนิด ของ สินค้า ว่า สินค้าของ จำเลย ที่ มี เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว เป็น สินค้า ของ โจทก์หรือ โจทก์ เป็น เจ้าของร่วม อยู่ ด้วย การกระทำ ของ จำเลย เป็น การใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริต เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหายขอให้ พิพากษา ว่า เครื่องหมายการค้า “BEACH BOYS” กับ รูป ที่ จำเลย ยื่น ขอ จดทะเบียน ตาม คำขอ เลขที่ 153240 เหมือน หรือ คล้าย กับเครื่องหมายการค้า “THE BEACH BOYS” ของ โจทก์ และ โจทก์ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า อักษร โรมัน คำ ว่า “THE BEACH BOYS” และ คำ ว่า “BEACH BOYS” ดีกว่า จำเลย ให้ จำเลย ถอน คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่ 153240 ของ จำเลย หาก ไม่ ปฎิบัติตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย และ ห้าม มิให้ จำเลย ใช้ยื่น ขอ จดทะเบียน หรือ เกี่ยวข้อง ใด ๆ กับ เครื่องหมายการค้า “THE BEACH BOYS” และ “BEACH BOYS” รวมทั้ง เครื่องหมาย การค้า ซึ่ง เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ของ โจทก์ต่อไป
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า รูป คน เล่นกระดาน โต้คลื่น ภายใน กรอบ ลวดลาย ประดิษฐ์ มี อักษร โรมัน คำ ว่า “BEACH” แปล ว่า หาก ทราย อยู่ ด้าน บน มี อักษร โรมัน คำ ว่า “BOYS” แปล ว่า เด็ก ชาย หลาย คน อยู่ ด้าน ล่าง เมื่อ วันที่ 27 มกราคม 2529 จำเลยได้ ยื่น ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 153240 ใช้กับ สินค้า จำพวก 38 ทั้ง จำพวก นายทะเบียน เครื่องหมายการค้าตรวจสอบ แล้ว เห็นว่า ไม่ เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้าของ ผู้อื่น ที่ ได้ ยื่น ขอ จดทะเบียน ไว้ ก่อน จำเลย จึง มี คำสั่ง ให้ ประกาศเครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ใน หนังสือ จดหมาย เหตุ แสดง รายการเครื่องหมายการค้า ต่อมา วันที่ 29 กรกฎาคม 2529 โจทก์ ได้ ยื่นคำคัดค้าน การ ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย และ โจทก์ยัง ไม่ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ไว้ ใน ประเทศ ไทยจำเลย ได้ ยื่น คำ โต้แย้ง คัดค้าน การ ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2529 นายทะเบียน เครื่องหมายการค้าได้ วินิจฉัย ยก คำคัดค้าน ของ โจทก์ และ ดำเนินการ รับ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 153240 ของ จำเลย การ ที่นายทะเบียน วินิจฉัย ดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับ จำเลย การ ที่ โจทก์ ไม่เห็นพ้อง กับ คำวินิจฉัย ของ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า เป็น เรื่องของ โจทก์ กับ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า โจทก์ ไม่มี สิทธิ ฟ้องจำเลย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง จาก การ นำสืบ ของ โจทก์และ จำเลย ฟังได้ ว่า โจทก์ จดทะเบียน เป็น นิติบุคคล ประเภท บริษัทจำกัด ตาม กฎหมาย ของ มลรัฐ แคลิฟอร์เนีย ประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2505 โดย คณะ นักดนตรี เดอะบีช บอยส์ และ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า คำ ว่า “THE BEACH BOYS” อ่าน ว่า เดอะ บีช บอยส์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 โดย ใช้ เป็น เครื่องหมาย บริการ และ เครื่องหมายการค้า สำหรับ สินค้า ประเภท แผ่น เสียง และ แถบบันทึก เสียง มา ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ต่อมา พ.ศ. 2518 โจทก์ ใช้เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว กับ สินค้า ประเภท เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องแต่งกาย และ ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ใน ประเทศ ต่าง ๆ รวม8 ประเทศ ตาม หนังสือ รับรอง เอกสาร หมาย จ. 4 ถึง จ. 11 รวมทั้งได้ ยื่น ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า “THE BEACH BOYS” อ่าน ว่า เดอะ บีช บอยส์ ใน ประเทศ ไทย สำหรับ สินค้า จำพวก 38 เมื่อ วันที่ 27 มีนาคม 2530 ตาม คำขอ เอกสาร หมาย จ. 12 ซึ่ง เป็น เวลา หลังจาก ฟ้องคดีนี้ แล้ว จำเลย เป็น กรรมการ บริษัท แฟนนี่คอมเมอร์เชียล จำกัด เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า คำ ว่า “Fanny” และ “CHRISTA” ใช้กับ สินค้า จำพวก 38 ตาม หนังสือ ทะเบียน เครื่องหมายการค้าเอกสาร หมาย ล. 6 และ ล. 7 เมื่อ วันที่ 27 มกราคม 2529 จำเลยยื่น คำขอ เลขที่ 153240 ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า “BEACH BOYS” ประกอบ รูป ประดิษฐ์ สำหรับ สินค้า จำพวก 38 ทั้ง จำพวก ตาม ที่ ปรากฎใน หนังสือ จดหมาย เหตุ แสดง รายการ เครื่องหมายการค้า เอกสารหมาย จ. 20 โจทก์ ได้ ยื่น คัดค้าน ต่อ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้าแต่ นายทะเบียน มี คำวินิจฉัย ยก คำคัดค้าน ของ โจทก์ ว่า เครื่องหมายการค้าของ จำเลย มิใช่ เป็น เครื่องหมาย เดียว กัน หรือ เกือบ เหมือนกัน กับของ โจทก์ ตาม คำวินิจฉัย เอกสาร หมาย จ. 21
ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ มี ว่า เครื่องหมายการค้าที่ จำเลย ยื่น คำขอ จดทะเบียน ตาม เอกสาร หมาย จ. 10 เหมือน หรือคล้าย เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 หรือไม่เห็นว่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เป็น รูป สามเหลี่ยม 2 รูปวาง ซ้อน กัน โดย สามเหลี่ยม รูป ใน มี เส้นลวด ลาย และ มี รูป ดอกไม้ สาม ดอกมี รูป คน ใน ลักษณะ เส้น กระดาน โต้คลื่น ด้าน บน มี อักษร โรมัน คำ ว่า “BEACH” อยู่ ใน แถบโค้ง สี ทึบ และ ด้าน ล่าง มี คำ ว่า “BOYS” อยู่ ใน สี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอักษร โรมัน ทั้ง สอง คำ มองเห็น อย่าง เด่นชัดเป็น ที่ สะดุดตา ส่วน รูป ดอกไม้ คน และ กระดาน โต้คลื่น มอง ครั้งแรกแทบ จะ ไม่ทราบ ว่า เป็น อะไร จะ ต้อง พิจารณา อยู่ พัก หนึ่ง จึง จะ ทราบเครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ดังกล่าว มี ส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ตัวหนังสือ กับ รูปภาพ ประกอบ ส่วนประกอบ หลัก หรือ ส่วนประกอบสำคัญ น่า จะ เป็น ตัว หนังสือ โรมัน คำ ว่า “BEACH BOYS” เพราะ เป็น ส่วน ที่ เห็น ได้ เด่นชัด ที่สุด ส่วน รูป ดอกไม้ คน และ กระดาน โต้คลื่นน่า จะ เป็น ส่วนประกอบ รอง หรือ ส่วนประกอบ ย่อย เพราะ รูป ทั้งหลายดังกล่าว เล็ก อยู่ ระหว่าง กึ่งกลาง ของ คำ ว่า “BEACH” และ “BOYS” จึง เป็น เพียง การ เสริม คำ สอง คำ นี้ เท่านั้น ทำให้ ดู เด่น ขึ้น ดังนั้นเครื่องหมายการค้า ของ จำเลย จุดเด่น หรือ ส่วนประกอบ หลัก ก็ อยู่ที่ ตัว หนังสือ โรมัน “BEACH BOYS” ไม่ได้ อยู่ ที่ รูปภาพ ดังกล่าว มา แม้ ว่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย จะ มี รูปภาพ ประดิษฐ์ ประกอบ ต่าง จากของ โจทก์ แต่ ภาพ ดังกล่าว เป็น แต่เพียง ส่วนประกอบ เท่านั้น ซึ่งมองเห็น ได้ ยาก แม้ ว่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย จะ ไม่มี คำ ว่า “THE” แต่เมื่อ เวลา อ่าน ออกเสียง จะ เน้นหนัก ตรง คำ บีช บอยส์ ย่อม ทำให้ ประชาชน ผู้ใช้ ที่ ไม่ คุ้นเคย ต่อ ภาษา ต่างประเทศ ฟัง หรือเรียกขาน เป็น อย่างเดียว กัน และ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลยใช้ กับ สินค้า จำพวก 38 เช่นเดียว กับ ของ โจทก์ ประชาชน ผู้ซื้อ สินค้าอาจ เรียกว่า ตรา บีช บอยส์ เหมือนกัน ทำให้ สับสน และ หลงผิด ใน แหล่ง ผลิต ได้ อัน นับ ได้ว่า เป็น การ ลวง สาธารณชน การ ที่ จำเลยขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า “BEACH BOYS” กับ รูปภาพ โดย มี เจตนา เลียน เครื่องหมายการค้า คำ ว่า “THE BEACH BOYS” ของ โจทก์ เพื่อ แสวงหา ประโยชน์ โดยมิชอบ จึง เป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริตจำเลย จึง ไม่มี สิทธิ ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ฎีกา ของโจทก์ ฟังขึ้น แต่ ที่ โจทก์ ขอให้ห้าม จำเลย ใช้ ยื่น คำขอ จดทะเบียน หรือเข้า เกี่ยวข้อง ใด ๆ กับ เครื่องหมายการค้า “THE BEACH BOYS” และ “BEACH BOY” ต่อไป นั้น เห็นว่า แม้ โจทก์ จะ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ดีกว่า จำเลย แต่ เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ ยัง ไม่ได้ รับ การ จดทะเบียน โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ฟ้องขอให้ห้าม จำเลย มิให้ ใช้ เครื่องหมายการค้า นั้น อันเป็น การ ฟ้องคดีเพื่อ ป้องกัน การ ล่วง สิทธิ เครื่องหมายการค้า ที่ ไม่ จดทะเบียน ได้ทั้งนี้ เพราะ ต้องห้าม ตาม มาตรา 29 วรรคแรก แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 กรณี จึง ไม่อาจ บังคับ ตาม คำขอท้ายฟ้อง ของ โจทก์ ที่ ให้ ห้าม จำเลย ดังกล่าว ได้
พิพากษากลับ ว่า โจทก์ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า คำ ว่า “THE BEACH BOYS” และ คำ ว่า ” BEACH BOYS” ดีกว่า จำเลย ให้ เพิกถอน คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่ 153240 ของจำเลย เสีย ให้ยก คำขอ ของ โจทก์ ที่ ห้าม มิให้ จำเลย ใช้ ยื่น ขอ จดทะเบียนหรือ เข้า เกี่ยวข้อง ใด ๆ กับ เครื่องหมายการค้า คำ ว่า “THE BEACH BOYS” และ “BEACH BOYS”