คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำจำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั้งจำเลยจะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วๆไปการที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้นำมาเรียกเก็บเงินไปโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้กับจำเลยกับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยจึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์จำเลยจะยกข้อตกลงยกเว้นความรับผิดตามที่ระบุไว้ในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ การที่เช็คพิพาทซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นจนกระทั่งมีการปลอมลายมือชื่อโจทก์นั้นแสดงว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็คดังกล่าวอันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เปิด บัญชี เงินฝาก กระแสรายวัน ไว้ กับธนาคาร จำเลย สาขา พรานนก โจทก์ ได้ มอบตัว อย่าง ลายมือชื่อ ของ โจทก์ แก่ จำเลย และ จำเลย ได้ มอบ สมุดเช็ค ให้ โจทก์ ใช้ ถอนเงิน จาก บัญชี โจทก์ซึ่ง มี เงื่อนไข และ ข้อตกลง ตาม สัญญา บัญชีเดินสะพัด ตลอดจน ธรรมเนียมประเพณี ปฏิบัติ ว่า จำเลย จะ นำ เช็ค มา หัก หรือ ตัด ทอน บัญชี เงินฝากของ โจทก์ ได้ ต่อเมื่อ เช็ค นั้น โจทก์ เป็น ผู้ลงลายมือชื่อ สั่งจ่ายจำเลย มี หน้าที่ ตาม กฎหมาย และ ผูกพัน ปฏิบัติ ต่อ โจทก์ ตามสัญญา บัญชีเดินสะพัด อย่าง เคร่งครัด ที่ จะ พึง ต้อง ใช้ ความระมัดระวังใน การ สงวน ทรัพย์สิน ของ โจทก์ ที่ จำเลย รับ ฝาก ไว้ เช่น วิญญูชนจะ พึง ปฏิบัติ รวมทั้ง ใช้ ฝีมือ อัน พิเศษ เฉพาะ ใน อัน ที่ จะ ใช้ ฝีมือเช่นนั้น โจทก์ เดินสะพัด บัญชี ของ โจทก์ ตลอดมา ต่อมา ได้ มี ผู้นำ เช็คธนาคาร กสิกรไทย จำกัด สาขา พรานนก เลขที่ 5750099 สั่งจ่าย เงิน จำนวน 274,000 บาท มา เบิกเงิน สด ไป จาก ยอดเงิน ฝาก ใน บัญชี ของ โจทก์และ มี ผู้นำ เช็ค เลขที่ 5850100 สั่งจ่าย เงิน จำนวน 240,000 บาทมา เบิกเงิน สด ไป จาก ยอดเงิน ฝาก ใน บัญชี ของ โจทก์ อีก ซึ่ง การ สั่งจ่าย เงินตามเช็ค ทั้ง สอง ฉบับ ดังกล่าว โจทก์ มิได้ ลงลายมือชื่อ สั่งจ่ายต่อมา โจทก์ ขอ ตรวจสอบ ยอดเงิน จึง ทราบ ว่า ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่ายและ ลายมือ รายการ ใน เช็ค ดังกล่าว เป็น ลายมือชื่อปลอม การกระทำ ของ จำเลยทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย เพราะ จำเลย มิได้ ปฏิบัติ ตามสัญญา บัญชีเงินสะพัด และ ประมาท เลินเล่อ มิได้ ใช้ ความระมัดระวังตรวจสอบ ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย ว่า เหมือนกับ ลายมือชื่อ ของ โจทก์ที่ ให้ ไว้ เป็น ตัวอย่าง กับ จำเลย หรือไม่ จำเลย จึง ไม่มี สิทธิ หัก ทอนบัญชี เงินฝาก กระแสรายวัน ของ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์จำนวน 549,550 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ได้ ใช้ เงิน ให้ แก่ บุคคล ผู้ มา ขอ ขึ้น เงินตามเช็ค เลขที่ 5750099 และ เลขที่ 5750100 ให้ แก่ ผู้ถือ ไป โดยสุจริตและ ปราศจาก ความประมาท เลินเล่อ กล่าว คือ ได้ ตรวจ ความ ถูกต้อง ใน รายการของ เช็ค โดยเฉพาะ ได้ ระมัดระวัง ตรวจสอบ ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่ายใน เช็ค ว่า เป็น ไป ตาม ตัวอย่าง ที่ มอบ ให้ ไว้ แก่ ธนาคาร และไม่มี เหตุ ชวน สงสัย ว่า ลายมือชื่อ สั่งจ่าย เงิน ใน เช็ค ทั้ง สอง ฉบับไม่ใช่ ลายมือชื่อ อัน แท้จริง ของ โจทก์ จำเลย ไม่ต้อง รับผิด หรือมี หน้าที่ รับ ใช้ เงิน อย่างใด ๆ ตาม ฟ้อง ของ โจทก์ โจทก์ เป็นผู้สั่งจ่าย เอง หรือ มิฉะนั้น โจทก์ ตกอยู่ใน ฐานะ เป็น ผู้ต้อง ตัด บท มิให้ยก ข้อ ลายมือชื่อปลอม ขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ จำเลย จำเลย มิได้ ปฏิบัติผิดสัญญา บัญชีเดินสะพัด เช็คพิพาท ทั้ง สอง ฉบับ เป็น เช็ค ที่ ธนาคาร จำเลยมอบ ให้ แก่ โจทก์ โดย มี เงื่อนไข ตาม คำขอ เปิด บัญชี กระแสรายวัน ของ โจทก์จำเลย ว่า โจทก์ จะ ต้อง เก็บรักษา สมุด ดังกล่าว ไว้ ใน ที่ ซึ่ง มั่นคงปลอดภัย และ ต้อง ไม่มอบ เช็ค ที่ ยัง ไม่ กรอก ข้อความ ให้ แก่ ผู้อื่นเป็น อัน ขาด หาก โจทก์ ละเลย หรือ ประมาท เลินเล่อ ให้ บุคคลอื่น ได้ เช็คไป ปลอม ลายมือชื่อ ของ โจทก์ และ ธนาคาร จำเลย จ่ายเงิน ไป ตามเช็ค นั้นจำเลย ไม่ต้อง รับผิดชอบ ต่อ โจทก์ สำหรับ จำนวนเงิน ที่ จ่าย ไป ขอให้ ยกฟ้อง
ก่อน สืบพยาน จำเลย แถลงรับ ว่า รายงาน การ ตรวจ พิสูจน์ ของผู้เชี่ยวชาญ เอกสาร หมาย จ. ล. 1 เป็น ความเห็น ที่ ถูกต้อง โจทก์ แถลงรับ ว่า ได้ เปิด บัญชี กระแสรายวัน ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 ได้รับ สมุดเช็คตาม ตัวอย่าง สมุดเช็ค เอกสาร หมาย ล. 2 จาก จำเลย และ การ์ด บัญชี เงินฝากเอกสาร หมาย ล. 3 ถูกต้อง ศาล เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ แล้ว จึง ให้งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์จำนวน 549,550 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ว่า จำเลย จะ ต้อง รับผิดต่อ โจทก์ สำหรับ เงิน จำนวน ที่ จ่าย ไป ตามเช็ค พิพาท 2 ฉบับ ดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 วรรคหนึ่งบัญญัติ ว่า “ภายใน บังคับ แห่ง บทบัญญัติ ทั้งหลาย ใน ประมวล กฎหมาย นี้เมื่อใด ลายมือชื่อ ใน ตั๋วเงิน เป็น ลายมือชื่อปลอม ก็ ดี เป็น ลายมือชื่อลง ไว้ โดย ที่ บุคคล ซึ่ง อ้าง เอา เป็น เจ้าของ ลายมือชื่อ นั้น มิได้ มอบอำนาจให้ ลง ก็ ดี ท่าน ว่า ลายมือชื่อปลอม หรือ ลง ปราศจาก อำนาจ เช่นนั้นเป็น อัน ใช้ ไม่ได้ เลย ใคร จะ อ้างอิง อาศัย แสวง สิทธิ อย่างหนึ่ง อย่างใดเพื่อ ยึด หน่วง ตั๋วเงิน ไว้ ก็ ดี เพื่อ ทำให้ ตั๋ว นั้น หลุดพ้น ก็ ดีหรือ เพื่อ บังคับ การ ใช้ เงิน เอา แก่ คู่สัญญา แห่ง ตั๋ว นั้น คนใด คนหนึ่งก็ ดี ท่าน ว่า ไม่อาจ จะ ทำได้ เป็น อัน ขาด เว้นแต่ คู่สัญญา ฝ่ายซึ่ง จะ พึง ยึด หน่วง หรือ ถูก บังคับ ใช้ เงิน นั้น จะ อยู่ ใน ฐาน เป็น ผู้ต้องตัด บท มิให้ ยก ข้อ ลายมือชื่อปลอม หรือ ข้อ ลงลายมือชื่อ ปราศจาก อำนาจ นั้นขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ ” เมื่อ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย เช็คพิพาท 2 ฉบับ เป็น ลายมือ ปลอม มิใช่ ลายมือ ของ โจทก์ดังนั้น จำเลย จึง ไม่อาจ บังคับ การ ใช้ เงิน จาก โจทก์ ซึ่ง เป็น คู่สัญญา ได้จำเลย จึง หา หลุดพ้น ความรับผิด ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว ไม่ อนึ่งจำเลย ประกอบ ธุรกิจ การธนาคาร เป็น ที่ ไว้ วางใจ ของ ประชาชน การ รับ ฝากเงินเป็น ธุรกิจ อย่างหนึ่ง ของ จำเลย และ การ จ่ายเงิน ตามเช็ค ที่ มี ผู้ มา ขอเบิกเงิน จาก ธนาคาร เป็น งาน ส่วน หนึ่ง ของ จำเลย ซึ่ง จะ ต้อง ปฏิบัติอยู่ เป็น ประจำ จำเลย ย่อม มี ความ ชำนาญ ใน การ ตรวจสอบ ลายมือชื่อใน เช็ค ว่า เป็น ลายมือชื่อ ของ ผู้สั่งจ่าย หรือไม่ ยิ่งกว่า บุคคลธรรมดาทั้ง จำเลย จะ ต้อง มี ความระมัดระวัง ใน การ จ่ายเงิน ตามเช็ค ยิ่งกว่าวิญญูชน ทั่ว ๆ ไป เพราะ เป็น ธุรกิจ ของ จำเลย การ ที่ จำเลย จ่ายเงินตามเช็ค พิพาท 2 ฉบับ ให้ แก่ ผู้นำ มา เรียกเก็บเงิน ไป โดย ที่ ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ไม่ใช่ ลายมือชื่อ โจทก์ ทั้งที่ มี ตัวอย่าง ลายมือชื่อโจทก์ ที่ ให้ ไว้ กับ ธนาคาร กับ มี เช็ค อีก หลาย ฉบับที่ โจทก์ เคย สั่งจ่าย ไว้อยู่ ที่ ธนาคาร จำเลย ไป เช่นนี้ จึง เป็น การ ขาด ความระมัดระวัง ของ จำเลยผู้ประกอบ ธุรกิจ การธนาคาร เป็น การกระทำ ละเมิด และ ผิดสัญญา ฝากทรัพย์ต่อ โจทก์ และ จำเลย จะ อ้าง เอา ข้อตกลง ตาม คำขอ เปิด บัญชี กระแสรายวันเอกสาร หมาย ล. 1 ข้อ 20 และ 21 ดังกล่าว มา แล้ว เป็น ข้อยกเว้น ว่าโจทก์ ตกอยู่ใน ฐานะ เป็น ผู้ต้อง ตัด บท มิให้ ยก ข้อ ลายมือชื่อปลอม ขึ้นเป็น ข้อต่อสู้ ตาม มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย หาได้ไม่ ข้อเท็จจริงได้ความ ว่า จำเลย ได้ มอบ สมุดเช็ค ไว้ ให้ แก่ โจทก์ เพื่อ สั่งจ่าย เงินตามเช็ค โดย สมุดเช็ค แต่ละ เล่ม มี จำนวน เช็ค 20 ฉบับ ก่อนหน้า นั้นเช็คพิพาท 2 ฉบับ รวม อยู่ ใน สมุดเช็ค ที่อยู่ ใน ความ ครอบครอง ของ โจทก์ข้อเท็จจริง ที่ ว่า เช็คพิพาท ตก ไป อยู่ ใน ความ ครอบครอง ของ บุคคลอื่นจน กระทั่ง สามารถ นำ แบบพิมพ์ เช็ค ทั้ง สอง ฉบับ มา ปลอม ลายมือชื่อ โจทก์ได้ นั้น เป็น การแสดง ให้ เห็นว่า โจทก์ ละเลย ไม่ ระมัดระวัง ใน การดูแล รักษา แบบพิมพ์ เช็ค ดังกล่าว อัน ถือได้ว่า โจทก์ มี ส่วน ก่อ ให้ เกิดความเสียหาย ด้วย การ กำหนด ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เพียงใด ต้อง อาศัยพฤติการณ์ เป็น ประมาณ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา223 วรรคหนึ่ง , 438 และ 442 ศาลฎีกา เห็นควร กำหนด ให้ จำเลย ชดใช้ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ จำนวน 250,000 บาท ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า ตาม เงื่อนไขข้อ ที่ 20 และ 21 ตาม คำขอ เปิด บัญชี กระแสรายวัน เอกสาร หมาย ล. 1เป็น โมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 นั้น แม้ จะวินิจฉัย ให้ ก็ ไม่ทำ ให้ ผล คดี เปลี่ยนแปลง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัยฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์ จำนวน 250,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าวนับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็นไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share