คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2487

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยเปนผู้ประกอบการค้าขายข้าวสาร เครื่องกะป๋องและของเบ็ดเตล็ดบางวันขายของได้สตางค์ 10 บาทกว่ามีเหรียนกสาปน์ชนิดสตางค์ห้าและสตางค์สิบรวมราคา 53 บาทและเหตุเกิดก่อนประกาสไช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.เงินตราไนภาวะฉุกเฉิน พ.ส.2484 พ.ส.2486 สาลดีกาฟังว่าจำเลยมีไว้ไม่มากเกิดสมควรและจำเปนอันจะถือว่ามีไว้เพื่อการค้า

ย่อยาว

ได้ความว่าจำเลยเปนผู้ประกอบการค้าขายข้าวสารเครื่องกะป๋องและของเบ็ดเตล็ด บางวันขายของได้สตางค์เหลือทอน ๑๐ บาทกว่า เจ้าพนักงานจับสตางค์ ๕๐ บาทเหรียนสลึง ๓ บาทได้จากจำเลย คดีนี้เกิดก่อนประกาสไช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเงินตราไนภาวะฉุกเฉิน พ.ส.๒๔๘๔ พ.ส.๒๔๘๖
สาลชั้นต้นพิพากสาลงโทสจำคุกจำเลย ๕ ปี
สาลอุธรน์เห็นว่า แม้ฟังว่าเหรียนกสาปน์เปนของจำเลยก็ด แต่คดีนี้เกิดก่อนระกาสไช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเงินตราไนภาวะฉุกเฉิน พ.ส.๒๔๘๔ พ.ส.๒๔๘๖ ข้อที่ว่าจำนวนเกินสมควนหรือไม่ ย่อมเปนหน้าที่ของโจทจะต้องพิสูจน์ แต่โจทสืบสแดงไม่ได้ จึงพิพากสายกฟ้อง
โจทดีกา สาลดีกาเห็นว่า เหตุเกิดก่อนกดหมายที่ไห้สันนิถานว่าผู้ค้าขายมีเหรียนกสาปน์เกิน ๓๐ บาทเปนการมีเกินสมควน คดีนี้แม้จะฟังว่าจำเลยมีเหรียนกสาปน์ไว้รวมราคา ๕๓ บาทก็ดี คดีโจทก็ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเหรียนกสาปน์ไว้มากเกินสมควนแก่การมีไว้โดยปรกติธุระหรือเกินความจำเปนไนการไช้จ่ายปรกติอันจะถือได้ว่าจำเลยมีไว้เพื่อการค้า จึงพิพากสายืนตามสาลอุธรน์.

Share