แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คำว่า “ผู้ต้องหา” ในประกาศผู้บัญชาการทหารสูงสุดเรื่องอำนาจศาลทหารนั้นหมายถึงผู้ต้องหาในคดีที่ขึ้นมาสู่ศาลแล้ว คือจำเลยนั้นเอง คดีที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยทำผิดร่วมกับพลตำรวจอีก 2 นาย (พลตำรวจอยู่ในอำนาจศาลทหาร)แต่โจทก์ฟ้องจำเลยคนเดียว มิได้ฟ้องพลตำรวจด้วย คดีเช่นนี้อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน หาได้อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2486)
ย่อยาว
โจทฟ้องต่อสาลจังหวัดตรังซึ่งเปนสาลพลเรือนว่าจำเลยสมคบกับพลตำหรวด ๒ นายไห้โจทซึ่งเปนผู้เสียหายเสื่อมเสียอิสสรภาพ
สาลจังหวัดตรังยกฟ้องโจท โดยเห็นว่าโจทฟ้องว่าจำเลยสมคบกับพลตำหรวดตาม ป.ว.อ. มาตรา ๒(๒) พลตำหรวดได้ชื่อว่าหยู่ไนถานะผู้ต้องหา ตามประกาสกองบันชาการทหานสูงสุดออกตามความไนประกาสแก้ไขเพิ่มเติมการไช้กดอัยการสึก ลงวันที่ ๒๔ เมสายน ๒๔๘๕ ไห้สาลทหานพิจารนาพิพากสาคดีอาญาที่ผู้หยู่ไนอำนาดสาลทหาน กับผู้มิได้หยู่ไนอำนาดสาลทหานเปนผู้ต้องหาด้วยกัน ดังนั้นโจทจึงต้องฟ้องคดีนี้ต่อสาลทหาน
โจทอุธรน์ สาลอุธรน์เห็นว่า คำว่า “ผู้ต้องหา” ตามประกาสกองบันชาการทหานสูงสุด ไม่กินความถึงผู้ต้องหาตาม ป.ว.อ. แต่ก็เห็นว่าหมายถึงผู้ทำผิดร่วมกันนั่นเอง พิพากสายืน
โจทดีกา สาลดีกาเห็นว่าประกาสผู้บันชาการทหานสูงสุดไนเรื่องคดีที่หยู่ไนอำนาดสาลทหานพิจารนาพิพากสานั้น เปนประกาดว่าด้วยอำนาดพิจารนาพิพากสาคดี ฉะนั้นคำว่าผู้ต้องหาไนประกาสนี้ จึงหมายถึงผู้ต้องหาไนคดีที่ขึ้นมาสู่สาลแล้วคือจำเลยนั่นเอง คดีนี้โจทเปนแต่กล่าวมาไนฟ้องว่าตำหรวดสมคบกับจำเลยเท่านั้น มิได้ฟ้องตำหรวดเปนจำเลยด้วย คดีจึงไม่หยู่ไนอำนาดสาลทหาน แต่หยู่ไนอำนาดสาลพลเรือน สาลพลเรือน จึงพิพากษาให้ยกคำพิพากษาสาลอุธรณ์และสาลจังหวัด ไห้สาลจังหวัด ดำเนินการพิจารณาและพิพากษาต่อไป