คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่โจทก์แล้วเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเพราะประมวลรัษฎากรมาตรา12ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งจึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173เดิม(ปัจจุบันคือมาตรา193/14(2)ระยะเวลาที่ได้ล่วงไปก่อนนั้นย่อมไม่นับเข้าในอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา181วรรคหนึ่งเดิม(ปัจจุบันคือมาตรา193/15วรรคหนึ่ง) ต่อมาโจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินโดยให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิและ70ทวิคงเดิมแต่แก้หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ใหม่จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาศาลฎีกาพิพากษายืนและได้มีคำสั่งคำร้องศาลฎีกาอธิบายคำพิพากษาดังกล่าวด้วยว่า”ตามคำพิพากษาดังกล่าวจำเลยจะต้องประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลใหม่ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาจะบังคับให้โจทก์ชำระภาษีตามจำนวนที่จำเลยอ้างว่าคำนวณตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วทันทีโดยที่โจทก์ยังไม่ยอมรับว่าถูกต้องนั้นหาได้ไม่”ผลของคำพิพากษาดังกล่าวย่อมเป็นการก่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องแก่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยซึ่งมิได้เป็นฝ่ายฟ้องคดีให้ต้องผูกพันที่จะต้องประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ขึ้นใหม่โดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลฎีกาตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกากรณีหาใช่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามคำฟ้องของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิและ70ทวิตามมูลเหตุแห่งการประเมินไม่ถือไม่ได้ว่าการประเมินอันมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีต้องถูกยกฟ้องที่จะไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นใหม่โดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลฎีกาดังกล่าวได้ภายใน10ปีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา168เดิม(ปัจจุบันคือมาตรา193/32)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า การ ประเมิน ภาษี ของ จำเลย ขาดอายุความ ขอให้เพิกถอน หนังสือ แจ้ง การ ประเมิน และ เพิกถอน คำวินิจฉัย อุทธรณ์ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์
จำเลย ให้การ ว่า การ ประเมิน ชอบ ด้วย ข้อเท็จจริง และ ถูกต้อง ตามกฎหมาย แล้ว เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย ได้ ใช้ วิธีการ ประเมินภาษีเงินได้ นิติบุคคล ตาม คำพิพากษา ศาลฎีกา และ คำสั่ง คำร้องขอ งศาลฎีกาเป็น การ ปฏิบัติ ตาม คำสั่งศาล ฎีกา จึง ไม่ขาดอายุความ และ การ แจ้งการ ประเมิน ครั้งแรก ของ จำเลย อยู่ ใน อายุความ การ ใช้ สิทธิเรียกร้อง10 ปี อยู่ แล้ว ทำให้ อายุความ สะดุด หยุด ลง คดี จึง ไม่ขาดอายุความ
ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตามอุทธรณ์ ของ โจทก์ มี ว่า สิทธิเรียกร้อง ค่าภาษีอากร ประเมิน ตาม หนังสือแจ้ง ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ที่ ต.4/10 35 2/00020 ถึง 00023 ลงวันที่20 พฤศจิกายน 2533 ขาดอายุความ แล้ว หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ ได้รับ แจ้งการ ประเมิน ให้ เสีย ภาษีเงินได้ นิติบุคคล สำหรับ รอบ ระยะเวลา บัญชี ปี2521 และ ปี 2522 พร้อม เงินเพิ่ม เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2527ถือได้ว่า เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย ได้ ใช้ สิทธิเรียกร้อง บังคับ เอาแก่ โจทก์ แล้ว เป็น การ ที่ เจ้าหนี้ ได้ กระทำการ อัน นับ ว่า มีผล เป็น อย่างเดียว กัน กับ การ ฟ้องคดี เพราะ ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้ อธิบดีมีอำนาจ สั่ง ยึด หรือ อายัด และ ขายทอดตลาด ทรัพย์สิน ของ ผู้ต้องรับผิดเสีย ภาษีอากร ค้าง ได้ โดย มิต้อง ขอให้ ศาล ออกหมาย ยึด หรือ สั่ง จึงเป็นเหตุ ให้ อายุความ สะดุด หยุด ลง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เดิม ซึ่ง ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะ นั้น บัญญัติ ไว้ ระยะเวลา ที่ได้ ล่วง ไป ก่อน นั้น ย่อม ไม่ นับ เข้า ใน อายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181 วรรคหนึ่ง เดิม แต่เมื่อโจทก์ ได้ อุทธรณ์ การ ประเมิน ต่อ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ และ ฟ้องคดียัง ศาลภาษีอากรกลาง สืบเนื่อง กัน มา ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาให้ เพิกถอน การ ประเมิน ตาม หนังสือ แจ้ง การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงานประเมิน และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ เสียโดย ให้ โจทก์ เสีย ภาษีเงินได้ นิติบุคคล สำหรับ รอบ ระยะเวลา บัญชี ปี2521 และ ปี 2522 ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ และ 70 ทวิคง เดิม เพียงแต่ แก้ หลักเกณฑ์ และ วิธีการ คำนวณ กำไร สุทธิ ของ โจทก์ ใหม่จาก การ ที่ เจ้าพนักงาน ประเมิน ใช้ อัตรา กำไร สุทธิ 21.87 เปอร์เซ็นต์ ของนิติบุคคล อื่น เป็น หลักเกณฑ์ ใน การ คำนวณ กำไร สุทธิ ของ โจทก์ มา เป็น ให้ ใช้อัตรา ร้อยละ 5 ของ ยอด รายรับ ก่อน หัก รายจ่าย ใด ๆ มา เป็น หลักเกณฑ์ใน การ คำนวณ กำไร สุทธิ ของ โจทก์ ตาม ที่ ประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1)บัญญัติ ไว้ กับ ให้ ใช้ วิธี คำนวณ กำไร ย้อนกลับ ใน การ คำนวณ เงินได้ ของโจทก์ ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ ส่วน เงินเพิ่ม ตาม มาตรา 26คง ให้ โจทก์ เสีย ใน อัตรา ร้อยละ 30 ของ เงินเพิ่ม ตาม กฎหมาย ตาม ที่คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ได้ ลด ให้ ไว้ จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกาศาลฎีกา พิพากษายืน กับ ได้ มี คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 1750/2533 อธิบายคำพิพากษา ดังกล่าว ด้วย ว่า “ตาม คำพิพากษา ดังกล่าว จำเลย จะ ต้องประเมิน ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ใหม่ ตาม วิธีการ และ หลักเกณฑ์ ที่ ปรากฏใน คำพิพากษา ศาลฎีกา จะ บังคับ ให้ โจทก์ ชำระ ภาษี ตาม จำนวน ที่ จำเลย อ้างว่า คำนวณ ตาม คำพิพากษา ศาลฎีกา แล้ว ทันที โดย ที่ โจทก์ ยัง ไม่ยอม รับ ว่าถูกต้อง นั้น หาได้ไม่ ” ดังนี้ ผล ของ คำพิพากษา ดังกล่าว ย่อม เป็น การก่อตั้ง หลักฐาน สิทธิเรียกร้อง แก่ เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย ซึ่งมิได้ เป็น ฝ่าย ฟ้องคดี ให้ ต้อง ผูกพัน ที่ จะ ต้อง ประเมิน ภาษีเงินได้นิติบุคคล ของ โจทก์ สำหรับ รอบ ระยะเวลา บัญชี ปี 2521 และ ปี 2522 นั้นขึ้น ใหม่ โดย คำพิพากษา ชั้น ที่สุด ของ ศาลฎีกา ตาม วิธีการ และ หลักเกณฑ์ที่ ปรากฏ ใน คำพิพากษา ศาลฎีกา กรณี หาใช่ ศาล พิพากษา ให้ เพิกถอนการ ประเมิน ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ โดย โจทก์ ไม่ต้อง รับผิด ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ และ 70 ทวิ ตาม มูลเหตุ แห่ง การ ประเมินไม่ ถือไม่ได้ว่า การ ประเมิน อัน มีผล เป็น อย่างเดียว กับ การ ฟ้องคดี ต้อง ถูก ยกฟ้อง ที่ จะ ไม่ นับ ว่า เป็นเหตุ ให้ อายุความ สะดุด หยุด ลงเจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย จึง มีอำนาจ ประเมิน ภาษีเงินได้นิติบุคคล ของ โจทก์ ตาม สิทธิเรียกร้อง อัน ตั้ง หลักฐาน ขึ้น ใหม่ โดยคำพิพากษา ชั้น ที่สุด ของ ศาลฎีกา ดังกล่าว ได้ ภายใน 10 ปี ตาม บทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 เดิม ซึ่ง ใช้ บังคับ อยู่ใน ขณะ นั้น เมื่อ ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า เจ้าพนักงาน ของ จำเลย ได้ มีหนังสือ แจ้ง ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ที่ ต.4/10 35 2/00020 ถึง 00023ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 ให้ จำเลย ทราบ เมื่อ วันที่ 27 พฤศจิกายน2533 ภายใน 10 ปี นับแต่ วันที่ 2 สิงหาคม 2532 อันเป็น วัน ถัด จากวันที่ ศาลภาษีอากรกลาง อ่าน คำพิพากษา ศาลฎีกา ให้ คู่ความ ฟัง ย่อม เป็นการ ใช้ สิทธิเรียกร้อง บังคับ เอา แก่ โจทก์ ภายใน ระยะเวลา อัน กฏหมาย กำหนดไว้ สิทธิเรียกร้อง ค่าภาษีอากร ประเมิน ตาม หนังสือ แจ้ง ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ ต.4/10 35 2/00020 ถึง 00023 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน2533 จึง ไม่ขาดอายุความ ตาม กฎหมาย ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล อุทธรณ์ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share