แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอไห้สาลสั่งตั้งผู้ร้องเปนผู้จัดการมรดก มีผู้คัดค้านขึ้นมาโดยอ้างว่าพินายกัมที่ผู้ร้องเปนผู้ฟ้องคดี คำสั่งสาลเช่นนี้เปนคำสั่งระหว่างพิจารนา ต้องห้ามมิไห้อุธรน์.
ย่อยาว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอไห้สาลสั่งตั้งผู้ร้องเปนผู้จัดการมรดกโดยอ้างพินัยกัมของผู้ตาย
มีผู้คัดค้านว่าพินัยกัมที่ผู้ร้องอ้างนั้นไม่สมบูรน์ โดยผู้คัดค้านอ้างพินัยกัมของผู้ตายอีกฉบับหนึ่ง
วันนัดไต่สวน ผู้ร้องกับผู้คัดค้านตกลงกันไห้งดไต่สวนคดีไว้เพื่อจะจัดการฟ้องร้องกันแต่ไม่อาดตกลงกันได้ว่าไครจะเปนผู้ฟ้อง สาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีและไม่สั่งไนเรื่องไห้ฝ่ายไดฟ้อง ผู้ร้องอุธรน์สาลอุธรน์ไห้สาลชั้นต้นพิเคราะห์สั่งไห้ฝ่ายไดเปนผู้ฟ้อง สาลชั้นต้นสั่งไห้ผู้ร้องเปนผู้ฟ้องไนกำหนด ๕๐ วัน
ผู้ร้องอุธรน์อีก สาลอุธรน์เห็นว่าเมื่อผู้คัดค้านอ้างว่าพินัยกัมฉบับที่ผู้ร้องอ้างซึ่งลงวัน เดือน ปี พายหลังพินัยกัมฉบับที่ผู้คัดค้านอ้างนั้น เปนพินัยกัมปลอม ก็ไห้ผู้คัดค้านเปนโจทฟ้องไนกำหนด ๓๐ วัน
ผู้คัดค้านดีกา สาลดีกาเห็นว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ตกลงกันไนสาลชั้นต้น ไห้งดการไต่สวนคดีไว้เพื่อไปฟ้องร้องกัน สาลสั่งไห้ผู้ร้องเปนผู้ไปยื่นคำฟ้อง เช่นนี้ คำสั่งไนคดีของผู้ร้องนี้ จึงเปนคำสั่งระหว่างพิจารนา ทั้งไม่เข้าหยู่ไนข้อยกเว้นแห่ง ป.ว.พ. มาตรา ๒๒๗,๒๒๘. ที่จะอุธรน์ไห้แต่ประการได ฉเพาะหย่างยิ่ง คำสั่งนั้นไม่ทำไห้คดีเส็ดไปและไม่เปนคำสั่งที่คุ้มครองประโยชน์ของคู่ความฝ่ายไดหากเปนคำสั่งเรื่องไห้ไปหาทางพิสูจน์หลักถานแห่งคดีไห้แน่นอนก่อน คือหาทางพิสูจน์ว่า พินัยกัมที่ผู้ร้องประสงค์ที่จะอ้างนั้น จะไช้ได้เพียงไรหรือไม่ อุธรน์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามตาม ป.ว.พ. มาตรา ๒๒๖ พิพากสาไห้ยกคำสั่งสาลอุธรน์เสีย.