แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ฟ้องเรียกทรัพย์ของผู้ตายโดยฟ้องว่าเป็นผู้รับมฤดกและว่าจำเลยไม่ใช่ภริยาชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิควรได้ส่วนแบ่งมฤดก ดั่งนี้ศาลตัดสินแบ่งทรัพย์ระหว่างผัวเมียและแบ่งมฤดกได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 142 (2)
ป.ม.แพ่ง ฯ ม.1636 บัญญัติถึงกรณีเจ้ามฤดกมีภรรยาหลายคนให้ได้รับมฤดกตามลำดับชั้นและส่วนแบ่งดังระบุไว้ใน ม.1635 และบัญญัติให้ภริยาน้อยได้ส่วนแบ่งเพียงกึ่งส่วนของภริยาหลวง
คู่ความไม่ได้นำสืบถึงสินเดิมแต่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิม ฎีกาของจำเลยคัดค้านว่าไม่ชอบแต่มิได้กล่าวว่าการแบ่งเช่นนั้นจำเลยเสียเปรียบอย่างไรหรือควรแบ่งอย่างไร ฎีกาย่อมฟังไม่ขึ้น
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นภริยาและบุตรของนายจำรัสโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยเป็นเพียงแต่นางบำเรอของนายจำรัสซึ่งตายไปแล้ว และมีมฤดกตามบัญชีท้ายฟ้อง คือเรือนปั้นหยา ๑ หลังซึ่งจำเลยอาศัยอยู่ กับมีทรัพย์หมายเลข ๒ ถึง ๗ ตกอยู่ที่จำเลยขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืน
จำเลยให้การว่าเป็นภริยาของนายจำรัสโดยชอบด้วยกฎหมาย เรือนเป็นของมารดาจำเลย ทรัพย์หมายเลข ๒ ถึง ๗ ผู้ตายไม่เคยนำไปให้รักษา
ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมาย เรือนที่โจทก์ฟ้องเป็นของจำเลย และทรัพย์หมายเลข ๒ ถึง ๗ โจทก์นำสืบไม่ได้ จึงพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ข้อเท็จจริงฉะเพาะเรื่องเรือนโดยฟังว่าเป็นสินสมรสระหว่างนายจำรัสกับจำเลย ควรแบ่งปันกันได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง ม.๑๔๒ (๒) และการแบ่งสินสมรสให้แบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ ๖๘ ส่วนการแบ่งมฤดกบังคับตาม ป.ม.แพ่ง น ม.๑๖๓๕ (๑) จึงให้แบ่งเรือนเป็น ๓ ส่วน ให้จำเลย ๑ ส่วนเหลืออีก ๒ ส่วนเป็นมฤดกของนายจำรัสแล้วให้แบ่งออกอีกเป็น ๕ ส่วน ให้แก่โจทก์ ๔ คน ๆ ละ ๑ ส่วน จำเลย ๑ ส่วน
จำเลยฎีกาทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาฉะเพาะปัญหาข้อกฎหมาย
ศาลฎีกากล่าวว่าจะวินิจฉัยฉะเพาะปัญหาข้อกฎหมายที่ฎีกามาและฟังตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพะยานหลักฐานในสำนวน ข้อกฎหมายที่จำเลยคัดค้านมามี
๑. คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์คืน ไม่มีประเด็นในทางมฤดกที่ศาลอุทธรณ์ให้แบ่งตาม ป.ม.วิ.แพ่ง ม.๑๔๒ (๒) นั้นมิชอบ
๒. ในสำนวนมิได้นำสืบถึงเรื่องสินเดิม จึงไม่ชอบที่จะแบ่งอย่างชายหาบหญิงคอน
๓. ถ้าจะแบ่งทรัพย์รายนี้ควรแบ่งตาม ม.๑๖๓๖ ไม่ใช่ ม.๑๖๓๕ (๑)
ในปัญหาข้อ ๑ เห็นว่าฟ้องได้บรรยายแล้วว่าทรัพย์เป็นมฤดกซึ่งโจทก์ว่าตกได้แก่โจทก์ฝ่ายเดียวเพราะจำเลยไม่+ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อศาลฟังว่าจำเลยเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมาย+ควรได้รับส่วนแบ่งมฤดก ศาลก็ย่อมแบ่งได้ทีเดียว
ในปัญหาข้อ ๒ แม้คู่ความจะไม่ได้นำสืบถึงเรื่องสินเดิม ศาลอุทธรณ์ให้แบ่งอย่างชายหาบหญิงคอย ก็เท่ากับจำเลยมีสินเดิมกับนายจำรัส จำเลยมิได้กล่าวว่าการแบ่งเช่นนั้น จำเลยเสีย+หรือว่าควรจะแบ่งอย่างไร คำคัดค้านฟังไม่ขึ้น
ในปัญหาข้อ ๓ เห็นว่า ม.๑๖๓๖ บัญญัติในกรณีเจ้ามรดก+ภริยาหลายคน ให้ได้รับมรดกตามลำดับขั้นและส่วนแบ่งดั่งระยะไว้ในมาตรา ๑๖๓๕ ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มาบังคับมานั้นเอง ทั้งมาตรา ๑๖๓๖ ยังบัญญัติให้ภริยาน้อยได้รับส่วนแบ่งเพียงกึ่งส่วนของภริยาหลวง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยได้ส่วนแบ่งเท่ากับนางสำเนียงโจทก์นั้นก็เป็นคดีแก่จำเลยอยู่แล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์