คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2494

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

มติของคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าที่ให้ความยินยอมแก่ผู้ให้เช่าเข้าอยู่อาศัยในเคหะที่เช่าเองนั้น แม้ในชั้นแรกคณะอนุกรรมการฯจะมีความเห็นว่าไม่ควรอนุญาตก็ดี แต่เมื่อคณะกรรมการผู้มีอำนาจสูงกว่าได้พิจารณาอนุญาตแล้ว มตินั้นหาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากเคหะที่เช่าโดยอ้างว่า ครบกำหนดสัญญาเช่าและบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว แต่ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า จำเลยได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ โจทก์จึงขอต่อคณะกรรมการณข้าอยู่เอง เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว+ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยอีก โดยทางมติอนุญาตของคณะกรรมการควบคุมค่าเช่า ฯ ดังนี้ย่อมเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน หาต้อง+ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 148 หรือ 173 (1) ไม่
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแล้ว ข้าหลวงยุติธรรมก็ยังมีอำนาจอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 230 วรรคสาม

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าของโจทก์โดยอ้างมติคณะกรรมการ ฯลณ ให้ความยินยอมแก่โจทก์ให้เข้าอยู่อาศัยเองได้
จำเลยต่อสู้หลายประการ ที่สำคัญก็คือ อ้างว่าคำยินยอมของคณะกรรมการเป็นโมฆะ และโจทก์ฟ้องซ้ำ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง คงรับเฉพาะแต่ปัญหาข้อกฎหมาย แต่ข้าหลวงยุติธรรมภาค ๑ ได้อนุญาตเป็นหนังสือให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ด้วย
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า แม้คณะอนุกรรมการฯ จะมีความเห็นว่าไม่ควรอนุญาต แต่คณะกรรมการฯมีอำนาจสูงกว่า ได้พิจารณาอนุญาตให้ความยินยอมแก่โจทก์ จึงหาเป็นโมฆะไม่
ข้อที่จำเลยเถียงว่าโจทก์ฟ้องซ้ำนั้น ปรากฎว่าคดีเรื่องก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย โดยอาศัยข้อสัญญาเช่าเป็นมูลฟ้องร้อง แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยมติอนุญาตของคณะกรรมการฯ จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกันหาต้องห้ามไม่
ข้อที่คัดค้านว่า ข้าหลวงยุติธรรมไม่มีอำนาจรับรองให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ เมื่อผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแล้วนั้น ก็ปรากฎชัดตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา ๒๓๐ วรรคสามว่าข้าหลวงยุติธรรมมีอำนาจรับรองให้อุทธรณ์ได้ ข้อคัดค้านของจำเลยฟังไม่ขึ้น
คงพิพากษายืน

Share