คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่ผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่าง จ.กับพวกผู้รับโอนและจำเลยผู้โอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา114แม้จะเป็นอำนาจของผู้ร้องและก่อนยื่นคำร้องขอต่อศาลผู้ร้องได้สอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นได้ความว่าอยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนได้ก็ตามแต่เมื่อคดียังอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นและตามมาตรา114หากผู้รับโอนกระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็เพิกถอนการโอนไม่ได้กรณีจึงยังไม่แน่นอนว่าจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่การที่ จ. ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอให้เงินจำนวน1,200,000บาทแทนการโอนที่ดินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา145ประกอบด้วยมาตรา41การที่ผู้ร้องนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่สามเพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของ จ. หรือไม่เป็นการขอความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าวและเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของจำเลยในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา32ดังนี้เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ จ. และไม่คัดค้านที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนต่อศาลซึ่งเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความกับ จ. จึงหาเป็น ล่วงอำนาจของผู้ร้องไม่แม้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะมีจำนวนถึง57รายแต่เมื่อวันนัดประชุมเจ้าหนี้มีเจ้าหนี้มาประชุม15รายและที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์กรณีก็หาใช่เป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างน้อยไม่ ในการรับโอนที่ดิน จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่ผู้รับจำนองเป็นเงิน2,375,000บาทและได้ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยอีก1,000,000บาทแสดงว่า จ.รับโอนที่ดินโดยมีค่าตอบแทนและเมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ จ.เสนอใช้เพื่อยุติข้อพิพาทเป็นเงิน1,200,000บาทแล้วยังเกินกว่าราคาที่ดินที่ผู้ร้องตีไว้เสียอีกโดยผู้ร้องตีราคาที่ดินไว้4,400,000บาทแม้ที่ จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินและค่าซื้อที่ดินนั้นจะเกิดขึ้นก่อนจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็นำมาประกอบการพิจารณาข้อเสนอของ จ.ได้เมื่อ จ.รับโอนโดยมีค่าตอบแทนและเมื่อรวมกับจำนวนเงินตามข้อเสนอแล้วเป็นเงินเกินกว่าราคาที่ผู้ร้องตีไว้ก็นับว่าข้อเสนอของ จ. เป็นประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอของ จ.จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายอันผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา36ได้

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย เป็น บุคคล ล้มละลายและ ผู้ร้อง ได้ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาลชั้นต้น ขอให้ เพิกถอน การ โอน ที่ดินโฉนด เลขที่ 25936 ซึ่ง ต่อมา ได้ แบ่งแยก เป็น โฉนด ย่อย หลาย โฉนดระหว่าง นาย เจริญ เจริญทรัพย์ กับพวก รวม 7 คน ผู้รับโอน กับ จำเลย ผู้โอน ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 และมาตรา 116 ต่อมา ขณะ คดี ดังกล่าว อยู่ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลชั้นต้นนาย เจริญ ขอ ยุติ ข้อพิพาท การ เพิกถอน การ โอน โดย เสนอ ขอ ใช้ เงิน 1,000,000 บาท ให้ แก่ กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลย แทน การ โอน ที่ดินโดย จะ ชำระ เงิน ให้ เสร็จสิ้น ภายใน กำหนด 30 วัน นับแต่ ที่ ประชุมเจ้าหนี้ ยอมรับ ข้อเสนอ ของ นาย เจริญ และ ให้ ผู้ร้อง ขอ ถอน คำร้อง ขอ เพิกถอน การ โอน ต่อ ศาล ผู้ร้อง ได้ เรียก ประชุม เจ้าหนี้ ใน วัน ประชุมเจ้าหนี้ นาย เจริญ เสนอ จำนวนเงิน เพิ่ม เป็น 1,200,000 บาท ที่ ประชุม เจ้าหนี้ มี มติ เป็น เอกฉันท์ ยอมรับ ข้อเสนอ ยุติ ข้อพิพาท ของนาย เจริญ ทุกประการ และ ไม่ คัดค้าน ที่ ผู้ร้อง จะ ยื่น คำร้องขอ ถอน คำร้องขอ เพิกถอน การ โอน ต่อ ศาล
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง ขอให้ เพิกถอน การ โอน ให้ กลับคืน สู่ฐานะ เดิม หาก กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม ไม่ได้ ขอให้ ใช้ ราคา เป็น เงิน4,500,000 บาท การ ที่ ผู้รับโอน เสนอ ใช้ ราคา เป็น เงิน 1,200,000 บาทเป็น จำนวน น้อยมาก มติ ของ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ที่ ยอมรับ ข้อเสนอ ของนาย เจริญ ไม่ ก่อ ให้ เกิด ประโยชน์ อัน ร่วมกัน ของ เจ้าหนี้ ทั้งหลาย ขอให้ มี คำสั่ง ห้าม มิให้ ผู้ร้อง ปฏิบัติ ตาม มติ ของ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ดังกล่าว ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 36
ผู้คัดค้าน ที่ 1 ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่น คำคัดค้าน ว่า ข้อเสนอ ของ นาย เจริญ และ มติ ของ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ เป็น ประโยชน์ อัน ร่วมกัน ของ เจ้าหนี้ ทั้งหลาย ก่อน ที่นาย เจริญ จะ รับโอน ที่ดินพิพาท นาย เจริญ ต้อง ชำระหนี้ แทน จำเลย โดย ไถ่ถอน จำนอง เป็น เงิน 3,500,000 บาท และ ต้อง ชำระ ค่าซื้อ ที่ดิน อีก1,000,000 บาท รวม แล้ว เป็น เงิน ทั้งสิ้น 4,500,000 บาท การ ที่นาย เจริญ ขอ ยุติ ข้อพิพาท โดย เสนอ ใช้ เงิน จำนวน 1,200,000 บาท เพื่อ ให้ ผู้ร้อง ถอน คำร้อง ที่ ขอให้ เพิกถอน การ โอน ที่ดินพิพาท ซึ่งเมื่อ รวมทั้งหมด แล้ว นาย เจริญ ต้อง ชำระ เงิน สูง กว่า ราคา ที่ดินพิพาท ที่ ผู้ร้อง ตี ไว้ เสีย อีก ที่ ประชุม เจ้าหนี้ เห็นว่า เพื่อ ความเป็นธรรมแก่ นาย เจริญ และ เป็น ประโยชน์ อัน ร่วมกัน ของ เจ้าหนี้ ทั้งหลาย จึง มี มติ เป็น เอกฉันท์ ยอมรับ ข้อเสนอ ของ นาย เจริญ ขอให้ ยกคำร้อง ของ ผู้ร้อง
ผู้คัดค้าน ที่ 2 ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ ผู้ขอรับชำระหนี้ ยื่นคำคัดค้าน ว่าการ ที่นาย เจริญ ขอ ยุติ ข้อพิพาท โดย เสนอ ใช้ เงิน จำนวน 1,200,000 บาท เป็น ประโยชน์ แก่ เจ้าหนี้ ทั้งหลาย เพราะ หาก รอ ผล คดีที่ ขอให้ เพิกถอน การ โอน ที่ดินพิพาท อาจ เป็น การ เสี่ยง ต่อ ประโยชน์ของ เจ้าหนี้ เมื่อ คำนึง ถึง จำนวนเงิน ที่ จะ ได้รับ จาก นาย เจริญ เป็น อัตรา ถึง 25 เปอร์เซนต์ ของ ราคา ที่ดิน และ เทียบ กับ จำนวน หนี้ของ เจ้าหนี้ ที่ ศาล อนุญาต ให้ ได้รับ ชำระหนี้ จำนวน 4,300,000 บาทก็ เป็น อัตรา ถึง 25 เปอร์เซนต์ จึง เป็น ประโยชน์ ต่อ เจ้าหนี้ทั้ง ทรัพย์สิน ของ จำเลย ยัง มี ที่ดิน อาคาร เรียน อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร โรงงาน ใช้ ประกอบการ ศึกษา และ รายได้ จาก นักเรียนซึ่ง จำเลย ยัง เปิด กิจการ อยู่ อัน มาก พอ ที่ ผู้ร้อง จะ บังคับ เอา มา ชำระหนี้ได้ มติ ของ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ จึง เป็น ประโยชน์ ร่วมกัน ของ เจ้าหนี้ทั้งหลาย ขอให้ ยกคำร้อง ของ ผู้ร้อง และ มี คำสั่ง ให้ ผู้ร้อง ปฏิบัติ ตามมติ ของ ที่ ประชุม เจ้าหนี้
ระหว่าง พิจารณา ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ผู้ร้อง แถลงรับ ข้อเท็จจริงกัน ว่า ใน การ ซื้อ ที่ดินพิพาท นั้น นาย เจริญ ได้ ชำระ เงิน ไถ่ถอน จำนอง ที่ดินพิพาท ให้ แก่ ผู้รับจำนอง เป็น เงิน 2,375,000 บาท และ ชำระเงิน ค่าซื้อ ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย อีก 1,000,000 บาท ศาลชั้นต้นเห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ โดย ไม่จำต้อง สืบพยาน จึง ให้ งดสืบพยาน ผู้ร้องและ ผู้คัดค้าน แล้ว มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ ผู้ร้อง ว่ามติ ของ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ที่ ยอมรับ ข้อเสนอ ของ นาย เจริญ ผู้รับโอน ที่ดินพิพาท ซึ่ง เสนอ ขอ ใช้ เงิน จำนวน 1,200,000 บาท แทน การ โอน ที่ดินพิพาท คืน แก่ กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลย นั้น ขัด ต่อ กฎหมาย หรือ ประโยชน์อัน ร่วมกัน ของ เจ้าหนี้ ทั้งหลาย ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 36 หรือไม่ เห็นว่า การ ที่ ผู้ร้อง ร้องขอ ต่อ ศาล ให้ เพิกถอนการ โอน ที่ดินพิพาท ระหว่าง นาย เจริญ กับพวก ผู้รับโอน และ จำเลย ผู้โอน ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 นั้นแม้ จะ เป็น อำนาจ ของ ผู้ร้อง และ ก่อน ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาล ผู้ร้อง ได้สอบสวน ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ได้ความ ว่า อยู่ ใน ข่าย ที่ จะ เพิกถอนได้ ก็ ตาม แต่เมื่อ คดี ยัง อยู่ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลชั้นต้น และ ตามมาตรา 114 ดังกล่าว หาก ผู้รับโอน กระทำ โดยสุจริต และ มีค่า ตอบแทนก็ เพิกถอน การ โอน ไม่ได้ กรณี จึง ยัง ไม่แน่ นอน ว่า จะ เพิกถอน การ โอนได้ หรือไม่ การ ที่นาย เจริญ ขอ ยุติ ข้อพิพาท โดย เสนอ ให้ เงิน จำนวน 1,200,000 บาท แทน การ โอน ที่ดินพิพาท แก่ กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลยเป็น การ ขอ ประนีประนอม ยอมความ ซึ่ง ผู้ร้อง จะ ประนีประนอม ยอมความได้ ต่อเมื่อ ได้รับ ความเห็น ชอบ ของ กรรมการ เจ้าหนี้ หรือ ที่ ประชุมเจ้าหนี้ ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 145 ประกอบด้วย มาตรา 41 การ ที่ ผู้ร้อง นัด ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งที่ สาม เพื่อพิจารณา ว่า จะ ยอมรับ ข้อเสนอ ของ นาย เจริญ หรือไม่ เป็น การ ขอ ความเห็น ชอบ ของ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว และ เป็นการ ปรึกษา ถึง วิธี ที่ จะ จัดการ ทรัพย์สิน ของ จำเลย ใน การ ประชุม เจ้าหนี้ครั้ง อื่น ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 32 ดังนี้เมื่อ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ มี มติ ยอมรับ ข้อเสนอ ของ นาย เจริญ และ ไม่ คัดค้าน ที่ ผู้ร้อง จะ ยื่น คำร้องขอ ถอน คำร้องขอ เพิกถอนการ โอน ต่อ ศาล ซึ่ง เท่ากับ เป็น การ ให้ ความเห็น ชอบ ใน การ ที่ ผู้ร้องจะ ประนีประนอม ยอมความ กับ นาย เจริญ จึง หา เป็น ล่วง อำนาจ ของ ผู้ร้อง ไม่ แม้ เจ้าหนี้ ที่ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ จะ มี จำนวน ถึง 57 รายแต่เมื่อ วันนัด ประชุม เจ้าหนี้ มี เจ้าหนี้ มา ประชุม 15 ราย และที่ ประชุม มี มติ เป็น เอกฉันท์ กรณี ก็ หาใช่ เป็น มติ ของ เจ้าหนี้ฝ่าย ข้าง น้อย ตาม ที่ ผู้ร้อง ฎีกา ไม่ ทั้ง เมื่อ ข้อเท็จจริง ที่ แถลงรับ กัน ได้ความ ว่า ใน การ รับโอน ที่ดินพิพาท นาย เจริญ ได้ ชำระ เงิน ไถ่ถอน จำนอง ที่ดินพิพาท ให้ แก่ ผู้รับจำนองเป็น เงิน 2,375,000 บาท และ ได้ ชำระ เงิน ค่าซื้อ ที่ดินพิพาท ให้ แก่จำเลย อีก 1,000,000 บาท แสดง ว่า นาย เจริญ รับโอน ที่ดิน พิพาท โดย มีค่า ตอบแทน และ เมื่อ รวมกับ จำนวนเงิน ที่นาย เจริญ เสนอ ใช้ เพื่อ ยุติ ข้อพิพาท เป็น เงิน 1,200,000 บาท แล้ว ยัง เกินกว่าราคา ที่ดินพิพาท ที่ ผู้ร้อง ตี ไว้ เสีย อีก โดย ผู้ร้อง ตีราคา ที่ดินพิพาทไว้ 4,500,000 บาท แม้ ที่นาย เจริญ ได้ ชำระ เงิน ไถ่ถอน จำนอง ที่ดินพิพาท และ ค่าซื้อ ที่ดินพิพาท นั้น จะ เกิดขึ้น ก่อน จำเลย ถูกพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด ก็ นำ มา ประกอบการ พิจารณา ข้อเสนอ ของ นาย เจริญ ได้ เมื่อ นาย เจริญ รับโอน โดย มีค่า ตอบแทน และ เมื่อ รวมกับ จำนวนเงิน ตาม ข้อเสนอ แล้ว เป็น เงิน เกินกว่า ราคา ที่ ผู้ร้อง ตี ไว้ ก็ นับ ว่าข้อเสนอ ของ นาย เจริญ เป็น ประโยชน์ อัน ร่วมกัน ของ เจ้าหนี้ ทั้งหลาย โดย เหตุ ดัง ได้ วินิจฉัย มา มติ ของ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ ที่ ยอมรับข้อเสนอ ของ นาย เจริญ จึง ไม่ ขัด ต่อ กฎหมาย หรือ ประโยชน์ อัน ร่วมกัน ของ เจ้าหนี้ ทั้งหลาย อัน ผู้ร้อง จะ ร้องขอ ให้ ศาล มี คำสั่ง ห้ามมิให้ ปฏิบัติ ตาม มติ นั้น ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 36 ได้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ยก คำร้อง ชอบแล้ว
พิพากษายืน

Share