คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์โดยอาศัยบทบัญญัติในหมวด2แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522แต่สิทธิบัตรพิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบไว้ในหมวด3เป็นบทกฎหมายต่างหมวดกันหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าจะเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ได้มีข้อบัญญัติแตกต่างกันหลายประการคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับประเด็นตามที่โจทก์ฟ้องปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นกล่าวได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5),246และมาตรา247วรรคสอง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ยื่น ขอรับ สิทธิบัตร แบบ ผลิตภัณฑ์โครง สำหรับ ยึด หลอด นีออน ประเภท ผลิตภัณฑ์ 26-05 ต่อ กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ และ ได้รับ สิทธิบัตร เมื่อ วันที่ 30 กรกฎาคม 2529ตาม ภาพถ่าย คำขอ รับ สิทธิบัตร เอกสาร ท้ายฟ้อง หมาย 3 ซึ่ง มี ลักษณะเช่นเดียวกัน กับ แบบ ที่ โจทก์ ผลิต จำหน่าย มา ก่อน เป็น การ ไม่ชอบ ด้วยมาตรา 56 แห่ง พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เพราะ ไม่ใช่การ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ ใหม่ เพื่อ การ อุตสาหกรรม หรือ หัตถกรรม ขอให้เพิกถอน สิทธิบัตร การ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ เลขที่ 416 ประเภท ผลิตภัณฑ์26-05 แบบ ผลิตภัณฑ์ โครง สำหรับ ยึด หลอด นีออน และ แจ้ง คำพิพากษาไป ยัง กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ให้ จำเลย ชดใช้ เงิน จำนวน284,440 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์เป็น รายเดือน เดือน ละ 45,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า โจทก์ จะ ได้ใช้ เครื่องจักร ดำเนินการ ผลิต ต่อไป ได้
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ เพิ่ง ทำการ ผลิต และ จำหน่าย ขา ราง (โครง )เหล็ก ยึด หลอด นีออน ที่พิพาท ภายหลัง จาก จำเลย ได้ ยื่น ขอรับ สิทธิบัตรแบบ ผลิตภัณฑ์ ที่พิพาท ใน คดี นี้ แล้ว การกระทำ ของ โจทก์ ดังกล่าว เป็นการกระทำ โดย ไม่สุจริต เป็น การ ลอก เลียน ผลิตภัณฑ์ ที่ ได้รับ สิทธิบัตรแล้ว ของ จำเลย อันเป็น การ ละเมิด ต่อ จำเลย โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้องขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ เพิกถอน สิทธิบัตร เลขที่ 416ประเภท ผลิตภัณฑ์ 26-05 แบบ ผลิตภัณฑ์ โครงสร้าง ยึด หลอด นีออนนอกจาก ที่ แก้ ให้ คง เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ เพิกถอนสิทธิบัตร พิพาท ของ จำเลย ส่วน ที่ โจทก์ ขอให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหายใน การกระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ให้ยก คำขอ โจทก์ ฎีกา ขอให้ จำเลย ชดใช้ค่าเสียหาย ตาม ฟ้อง ส่วน จำเลย ไม่ได้ ฎีกา จึง ไม่มี ปัญหา ให้ วินิจฉัยเรื่อง การ เพิกถอน สิทธิบัตร พิพาท อย่างไร ก็ ตาม ปรากฎ ข้อเท็จจริง ว่าตาม คำฟ้อง โจทก์ กล่าวหา ว่า จำเลย นำ แบบ ผลิตภัณฑ์ โครง สำหรับยึด หลอด นีออน ไป ขอรับ สิทธิบัตร จน ได้รับ สิทธิบัตร เป็น การ ไม่ชอบ ด้วยพระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56 เพราะ มิใช่ การ ออก แบบผลิตภัณฑ์ ใหม่ เพื่อ การ อุตสาหกรรม หรือ หัตถกรรม โจทก์ เป็น ผู้ มีส่วนได้เสีย จึง ขอให้ เพิกถอน สิทธิบัตร นั้น ตาม คำฟ้อง โจทก์ จึง มีประเด็น ที่ จะ ต้อง พิจารณา ว่าการ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ โครง สำหรับ ยึดหลอด นีออน ที่ จำเลย นำ ไป ขอรับ สิทธิบัตร ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ เป็น การออก แบบ ผลิตภัณฑ์ ใหม่ ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน พระราชบัญญัติ สิทธิบัตรพ.ศ. 2522 มาตรา 56 หรือไม่ หาก ฟังได้ ว่า ไม่ใช่ เป็น การ ออก แบบผลิตภัณฑ์ ใหม่ สิทธิบัตร พิพาท ที่ จำเลย ได้รับ มา ก็ ออก โดย ไม่ชอบ ด้วยมาตรา 56 ศาล ย่อม มีอำนาจ สั่ง เพิกถอน สิทธิบัตร พิพาท ได้ ตาม มาตรา 64แต่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย ว่า ผลิตภัณฑ์ ที่ จำเลย ขอรับ สิทธิบัตรไม่ใช่ ผลิตภัณฑ์ ที่ ประดิษฐ์ ขึ้น ใหม่ หรือ เป็น การ ประดิษฐ์ ที่ มีขั้น ประดิษฐ์ สูง ขึ้น และ ไม่เป็น การ ประดิษฐ์ ที่ สามารถ ประยุกต์ใน ทาง อุตสาหกรรม การ ได้รับ สิทธิบัตร พิพาท ของ จำเลย จึง ไม่ชอบ ด้วยมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 โจทก์ จึง มีสิทธิฟ้อง ขอให้ เพิกถอน ได้ ตาม มาตรา 54 เห็น ได้ว่า ศาลอุทธรณ์ ไป วินิจฉัยเรื่อง การ เพิกถอน สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ ซึ่ง เป็น การ วินิจฉัย โดย อาศัยบทบัญญัติ ใน หมวด 2 แห่ง พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522แต่ สิทธิบัตร พิพาท ที่ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน เป็น สิทธิบัตร การ ออก แบบผลิตภัณฑ์ ซึ่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ได้ บัญญัติ เรื่อง การ เพิกถอนสิทธิบัตร ที่ ออก ไป โดย ไม่ชอบ ไว้ ใน หมวด 3 เป็น บท กฎหมาย ต่าง หมวด กันหลักเกณฑ์ ใน การ พิจารณา ว่า จะ เพิกถอน สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ กับสิทธิบัตร ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ ได้ หรือไม่ ได้ มี ข้อ บัญญัติ แตกต่าง กันหลาย ประการ คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ยัง คลาดเคลื่อน ไม่ ตรง กับประเด็น ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง ปัญหา ดังกล่าว นี้ เป็น ปัญหาข้อกฎหมายอัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน แม้ ไม่มี คู่ความ ฝ่ายใด ฎีกาศาลฎีกา มีอำนาจ ยกขึ้น กล่าว ได้เอง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5), 246 และ 247 วรรคสอง คดี นี้ แม้ คู่ความ จะ สืบพยานมา เสร็จสิ้น แล้ว แต่ เพื่อ ให้การ พิจารณา พิพากษาคดี เป็น ไป ตามลำดับ ชั้น ศาล ศาลฎีกา จึง เห็นสมควร ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์พิจารณา พิพากษาคดี ใหม่ ทั้งหมด ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณา พิพากษาคดี ใหม่ ตาม รูปคดี เมื่อ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ใหม่ แล้ว หาก โจทก์ ยื่นฎีกาคัดค้าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ใหม่ ให้ยก เว้น ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกาแก่ โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียม ของ ศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา ใน ชั้น นี้ให้ ศาลอุทธรณ์ รวม สั่ง เมื่อ มี คำพิพากษา ใหม่

Share