คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ปรากฎว่าหนังสือที่โจทก์จำเลยสมัครใจจะหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยจะไปจดทะเบียนหย่าที่สำนักงานเขตต่อไปนั้นมีพยานลงลายมือชื่อเพียงคนเดียวจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1514วรรคสองโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยให้หย่าขาดจากโจทก์ตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ จำเลย จดทะเบียน และ เป็น สามี ภริยา กันโดยชอบ ด้วย กฎหมาย จำเลย ได้ กระทำการ อันเป็น ปฏิปักษ์ ต่อ การ เป็นสามี ภริยา กับ โจทก์ อย่างร้ายแรง ใช้ กำลัง ทำร้าย โจทก์ และ บุตรเป็นเหตุ ให้ ได้รับ บาดเจ็บ แก่ ร่างกาย หลาย ครั้ง ครั้งสุดท้ายโจทก์ ได้ ร้องทุกข์ ต่อ พนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวน ได้ สอบสวน และ ลงบันทึก ประจำวัน เกี่ยวกับ คดี แสดง เจตนา ของ โจทก์ และ จำเลย ที่ จะ หย่าขาดจาก การ เป็น สามี ภริยา ต่อ กัน โดย จำเลย สัญญา ว่า จะ ไป จดทะเบียน หย่าขาด จาก การ เป็น สามี ภริยา กับ โจทก์ ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 3ต่อมา โจทก์ มอบหมาย ให้ ทนายโจทก์ มี หนังสือ นัดหมาย ให้ จำเลย ไปทำการ จดทะเบียน หย่า จำเลย ไม่ยอม ไป และ ท้าทาย ให้ โจทก์ ฟ้องขอให้ บังคับ จำเลย ไป จดทะเบียน หย่าขาด จาก การ เป็น สามี ภริยา กับ โจทก์หาก จำเลย ขัดขืน ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แสดง เจตนา ของ จำเลยให้ จำเลย แบ่ง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 106916 พร้อม บ้าน เลขที่ 160/46 ให้ แก่โจทก์ ครึ่ง หนึ่ง ถ้า สภาพ ไม่ เปิด ช่อง ให้ แบ่ง ได้ ให้ ขายทอดตลาดหัก ค่าใช้จ่าย แล้ว เหลือ เงิน สุทธิ เท่าไร ให้ โจทก์ มีสิทธิ ได้รับครึ่ง หนึ่ง ให้ โจทก์ เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ผู้เยาว์ ทั้ง สอง คนแต่เพียง ฝ่ายเดียว ให้ จำเลย ใช้ เงิน ค่า อุปการะ เลี้ยงดู บุตร ทั้ง สองเดือน ละ 10,000 บาท แก่ โจทก์ นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า บุตร ผู้เยาว์ทั้ง สอง จะ บรรลุนิติภาวะ
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย ใช้กำลัง ทำร้าย โจทก์ และ บุตร ให้ ได้รับ บาดเจ็บ แก่ กาย ดัง ฟ้อง รายงานประจำวัน เกี่ยวกับ คดี ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 3 ซึ่ง โจทก์รับรอง ว่า เป็น เอกสาร ที่ ถูกต้อง นั้น ไม่สมบูรณ์ เป็น หนังสือ ยินยอมการ หย่า เพราะ พยาน ไม่ได้ ลงลายมือชื่อ อย่างน้อย 2 คน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 จำเลย ไม่ประสงค์จะ หย่าขาด กับ โจทก์ เพื่อ เห็น แก่ ความ สุข ของ บุตร ธิดาทั้ง สอง จำเลยขอ ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ทั้ง สอง แต่ ฝ่ายเดียว ค่า อุปการะ เลี้ยงดู บุตรทั้ง สอง ไม่ถึง จำนวน เดือน ละ 10,000 บาท อย่างมาก ไม่เกิน เดือน ละ3,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า รายงาน ประจำวันเกี่ยวกับ คดี เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 3 (เอกสาร หมาย ล. 1) ไม่สมบูรณ์เป็น หนังสือ ยินยอม การ หย่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514วรรคสอง พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน หย่า ให้โจทก์ ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ใน กรุงเทพมหานคร ภายใน เวลา อัน สมควรให้ จำเลย แบ่ง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 106916 และ บ้าน เลขที่ 106/46 ตาม ฟ้องให้ โจทก์ กึ่งหนึ่ง หาก ไม่อาจ จะ แบ่ง ได้ ด้วย เหตุใด ก็ ให้ ประมูล ราคาระหว่าง กันเอง และ หาก ยัง ตกลง กัน ไม่ได้ อีก ก็ ให้ นำ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ดังกล่าว ออก ขายทอดตลาด ได้ เงิน สุทธิ เท่าใด นำ มา แบ่งให้ โจทก์ กึ่งหนึ่ง โดย ให้ นำ หนี้สิน ที่ ค้างชำระ เกี่ยวกับ ที่ดิน และบ้าน พิพาท และ ค่าใช้จ่าย ใน การ นี้ มา หัก ออก ก่อน ให้ โจทก์ เป็นผู้ปกครอง ดูแล บุตร ผู้เยาว์ ทั้ง สอง คน โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้จ่ายค่า อุปการะ เลี้ยงดู บุตร ผู้เยาว์ ให้ โจทก์ เป็น รายเดือน เดือน ละ4,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า บุตร ผู้เยาว์ แต่ละ คน จะ บรรลุนิติภาวะแต่ ค่า อุปการะ เลี้ยงดู เด็ก ชาย อาศักดิ์ จำนวน กึ่งหนึ่ง ให้ จ่าย ตั้งแต่ วัน ฟัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ เป็นต้น ไป หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตามให้ ถือ คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย มี ว่ารายงาน ประจำวัน เกี่ยวกับ คดี ตาม เอกสาร หมาย จ. 8 และ ล. 1(เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 3) ที่ มี ข้อความ ว่า ทั้ง สอง ฝ่าย แจ้ง ว่ามี ความสมัครใจ จะ หย่าขาด จาก การ เป็น สามี ภริยา กัน โดย จะ พา กัน ไปจดทะเบียน หย่า ที่ สำนักงาน เขต ต่อไป นั้น สมบูรณ์ เป็น การ หย่า โดยความ ยินยอม ของ ทั้ง สอง ฝ่าย หรือไม่ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1514 วรรคสอง บัญญัติ ว่า “การ หย่า โดย ความ ยินยอม ต้อง ทำเป็น หนังสือ และ มี พยาน ลงลายมือชื่อ อย่างน้อย สอง คน ” ใน ขณะที่ โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เอกสาร หมาย จ. 8 และ ล. 1 (เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 3) มี พยานลงลายมือชื่อ เพียง 1 คน ไม่สมบูรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1514 วรรคสอง โจทก์ จึง ไม่อาจ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ให้ หย่าขาดจาก โจทก์ ตาม หนังสือ ดังกล่าว ได้
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share