คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงอำนาจหน้าที่และการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ที่3ที่5ที่7และที่10ทำให้โจทก์เสียหายทั้งได้บรรยายถึงจำนวนเงินที่จำเลยดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดไว้แม้จำนวนเงินที่บรรยายไว้จะไม่ตรงกับเอกสารท้ายฟ้องก็ตามก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณาว่าที่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าไรฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้ว ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ.2520และคำสั่งป่าไม้จังหวัดอุบลราชธานีมุ่งให้คณะกรรมการรับส่งเงินรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งที่คลังจังหวัดเพื่อป้องกันการทุจริตจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7ในฐานะกรรมการรับส่งเงินมีหน้าที่ต้องปฎิบัติตามร่วมกันนำส่งเงินต่อคลังจังหวัดจนกว่าคลังจังหวัดจะรับเงินไว้เรียบร้อยแล้วหาใช่เพียงแต่ควบคุมเงินไปถึงคลังจังหวัดก็เป็นอันหมดหน้าที่ไม่การที่จำเลยดังกล่าวได้นำเงินไปส่งคลังจังหวัดโดยคอยอยู่นอกห้องคลังจังหวัดปล่อยให้จำเลยที่1เข้าไปนำส่งเงินในห้องคลังจังหวัดเพียงผู้เดียวเป็นการไม่ปฎิบัติตามระเบียบและคำสั่งดังกล่าวและเป็นผลให้จำเลยที่1สามารถปลอมใบนำส่งเงินปลอมลายมือชื่อคลังจังหวัดและตราประทับของคลังจังหวัดยักยอกเงินของโจทก์ไปได้ถือได้ว่าจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7ประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามจำนวนเงินที่ตนร่วมเป็นกรรมการนำส่งเงินข้อที่ว่ากรรมการอื่นก็ได้เคยปฎิบัติเช่นเดียวกับจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7หาอาจจะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดได้ไม่ แม้ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ.2520จะกำหนดให้เจ้าหน้าที่การเงินรวบรวมยอดเงินตามใบเสร็จรับเงินในแต่ละวันแล้วบันทึกยอดรวมไว้ด้านหลังสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับสุดท้ายและให้ส่วนราชการตรวจสอบจำนวนเงินที่นำส่งให้ตรงกับหลักฐานที่บันทึกในบัญชีเงินสดให้ถูกต้องทั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่218ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินจะบัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบแต่การจะให้ผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยนั้นย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยละเมิดกล่าวคือต้องจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นผลทำผู้ใต้บังคับบัญชายักยอกเงินไป

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 13 และ นาย ชนะ ไชยวัฒนนันทน์ รับ ราชการ ใน สำนักงาน ป่าไม้ จังหวัด อุบลราชธานี ซึ่ง เป็น ส่วนราชการของ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น เจ้าหน้าที่การเงิน และ บัญชี ได้ ทุจริตยักยอก เงิน ของ โจทก์ ไป ต่อมา มี ผู้ ชดใช้ เงิน แก่ โจทก์ และ โจทก์ได้ หักเงิน เดือน ของ จำเลย ที่ 1 แล้ว คงเหลือ เงิน ที่ จำเลย ที่ 1จะ ต้อง คืน แก่ โจทก์ 3,160,185.26 บาท จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้ช่วยป่าไม้ จังหวัด และ กรรมการ รับ ส่ง เงิน จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 9 ใน ฐานะกรรมการ รับ ส่ง เงิน ได้ กระทำ โดยประมาท เลินเล่อ ปล่อย ให้ จำเลย ที่ 1รับ เงิน ส่ง คลัง จังหวัด แต่เพียง ผู้เดียว เป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 1ยักยอก เงิน ไป ได้ จำเลย ที่ 10 ถึง ที่ 13 ใน ฐานะ ป่าไม้ จังหวัดได้ กระทำ โดยประมาท เลินเล่อ ไม่ ควบคุม ให้ คณะกรรมการ รับ ส่ง เงิน3 คน รับ เงิน และ นำ ส่ง เงิน ใน รูป คณะกรรมการ ปล่อย ให้ จำเลย ที่ 1รับ และ ถือ เงิน ประเภท ต่าง ๆ โดย ลำพัง ทั้ง มิได้ ตรวจสอบ หลักฐานการเงิน เป็นเหตุ ให้ โจทก์ เสียหาย ส่วน นาย ชนะ นั้น ได้ ถึงแก่ความตาย จำเลย ที่ 14 ใน ฐานะ ภริยา และ จำเลย ที่ 15 ถึง ที่ 20 ใน ฐานะ บุตรมีสิทธิ ได้รับ มรดก จึง ต้อง ร่วมรับผิด ชำระ เงิน ส่วน ที่นาย ชนะ ต้อง รับผิด ให้ แก่ โจทก์ โจทก์ ทวงถาม แล้ว จำเลย ทั้งหมด เพิกเฉย ขอให้บังคับ จำเลย ทั้ง ยี่สิบ ชำระ เงิน แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 8 ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม เพราะมิได้ บรรยาย ถึง รายละเอียด เกี่ยวกับ การ ละเมิด จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 8ได้ ปฎิบัติหน้าที่ ด้วย ความระมัดระวัง ตาม ระเบียบ กระทรวงการคลังและ ตาม คำสั่ง ของป่า ไม้ จังหวัด มิได้ ประมาท เลินเล่อ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 9 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 9 มิได้ ประมาท เลินเล่อจำเลย ที่ 9 มี หน้าที่ เพียงแต่ ตรวจ จำนวนเงิน และ ใบ นำ ส่ง เมื่อ เห็นว่าถูกต้อง จึง ได้ ลงชื่อ ใน ใบ นำ ส่ง เมื่อ จำเลย ที่ 1 ส่ง เงิน แล้วจำเลย ที่ 9 ก็ ลงชื่อ ใน บันทึก รายงาน เสนอ ต่อ ป่าไม้ จังหวัด อุบลราชธานีจำเลย ที่ 9 เป็น เพียง กรรมการ สำรอง และ ได้รับ แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2511 ภายหลัง ที่ มี การ ยักยอก เงิน แล้ว จำเลย ที่ 9ไม่ต้อง รับผิด ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 10 ถึง ที่ 13 ให้การ ว่า จำเลย ทุกคน ลงชื่อ ผู้นำส่งโดย ตรวจสอบ หลักฐาน การเงิน แล้ว เมื่อ ส่ง เงิน เสร็จ ได้ ตรวจสอบลายมือชื่อ ผู้รับเงิน ลายมือชื่อ คลัง จังหวัด รูป รอย ตรา คลัง จังหวัดที่ ประทับ ไว้ เชื่อ โดยสุจริต ว่า ได้ นำ ส่ง เงิน เรียบร้อย แล้วไม่ต้อง ร่วมรับผิด ขอให้ ยกฟ้อง โดยเฉพาะ จำเลย ที่ 10 ให้การ ด้วย ว่าฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม เพราะ มิได้ บรรยาย ถึง รายละเอียด แห่ง ข้อหา
จำเลย ที่ 14 ถึง ที่ 20 ให้การ ว่า นาย ชนะ ได้ ปฎิบัติหน้าที่ ด้วย ความระมัดระวัง มิได้ ประมาท เลินเล่อ ไม่ต้อง ร่วมรับผิดจำเลย ที่ 14 ถึง ที่ 20 มิใช่ ผู้รับ หรือ ครอบครอง ทรัพย์มรดก ของนาย ชนะ ไม่ต้อง รับผิด ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม เพราะ มิได้ บรรยาย ชัดแจ้ง ซึ่ง สภาพแห่งข้อหา ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 15 ถึงแก่กรรมนาง นฤมล ไชยวัฒนนันทน์ ภรรยา จำเลย ที่ 15 เด็ก ชาย พงศกร เด็ก ชาย นวกร และ เด็ก ชาย ปฐวี ไชยวัฒนนันทน์ บุตร จำเลย ที่ 15กับ จำเลย ที่ 17 น้องชาย จำเลย ที่ 15 ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทนศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน 3,160,185.26 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 15 เมษายน2525 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ แต่ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้อง(วันที่ 24 ตุลาคม 2526) ต้อง ไม่เกิน จำนวน 599,028.29 บาทโดย ให้ จำเลย ที่ 2 ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ใน ต้นเงิน จำนวน1,351,040.24 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 15 เมษายน 2524 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จให้ จำเลย ที่ 3 ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ใน ต้นเงิน จำนวน 365,658.27บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่15 เมษายน 2524 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แต่ ดอกเบี้ยคิด ถึง วันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน จำนวน 67,606.29 บาท ให้ จำเลย ที่ 4ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ใน ต้นเงิน จำนวน 73,312 บาท พร้อมดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 15 เมษายน 2524เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แต่ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้อง ต้อง ไม่เกินจำนวน 13,896.65 บาท ให้ จำเลย ที่ 5 ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1ใน ต้นเงิน จำนวน 308,021.24 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 15 เมษายน 2524 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระเสร็จ แต่ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน จำนวน 58,386.95 บาทให้ จำเลย ที่ 6 ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ใน ต้นเงิน จำนวน108,273.40 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 15 เมษายน 2524 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแต่ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน จำนวน 20,523.76 บาทให้ จำเลย ที่ 7 ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ใน ต้นเงิน จำนวน 337,841 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 15 เมษายน2524 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แต่ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้อง ต้องไม่เกิน จำนวน 64,039.40 บาท ให้ จำเลย ที่ 8 ร่วมรับผิด กับจำเลย ที่ 1 ใน ต้นเงิน จำนวน 39,507.70 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 15 เมษายน 2524 เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แต่ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน จำนวน7,488.88 บาท ให้ จำเลย ที่ 9 ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ใน ต้นเงินจำนวน 46,159.80 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 15 เมษายน 2524 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแต่ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน จำนวน 8,749.83 บาทให้ จำเลย ที่ 14 ถึง ที่ 20 ร่วมกัน รับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ใน ต้นเงินจำนวน 2,396,842.41 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี นับแต่ วันที่ 15 เมษายน 2524 เป็นต้น จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแต่ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน จำนวน 454,332.97 บาท โดยไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ เกินกว่า ทรัพย์มรดก ของ นาย ชนะ ไชยวัฒนนันทน์ ที่ ตกทอด แก่ ตน คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 2 ร่วมรับผิดกับ จำเลย ที่ 1 ใน ต้นเงิน 2,052,917.46 บาท ให้ จำเลย ที่ 10ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ใน ต้นเงิน 2,289,711.02 บาท ให้ จำเลย ที่ 11ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ใน ต้นเงิน 426,755.84 บาท ให้ จำเลย ที่ 12ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ใน ต้นเงิน 339,496.20 บาท ให้ จำเลย ที่ 13ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ใน ต้นเงิน 188,484.45 บาท พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ยอดเงิน ที่ จำเลย แต่ละ คน จะ ต้อง ชดใช้นับ ตั้งแต่ วันที่ 15 เมษายน 2524 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 12 และ ที่ 13 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี คง มี ปัญหา ใน ชั้น นี้ ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2ที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 12 และ ที่ 13 เฉพาะ ที่ เกี่ยวกับ จำเลยดังกล่าว เท่านั้น ซึ่ง ข้อเท็จจริง ที่ มิได้ โต้เถียง กัน ฟัง ยุติ ได้ว่าโจทก์ เป็น ส่วนราชการ สังกัด กระทรวงเกษตร และ สหกรณ์ สำนักงาน ป่าไม้จังหวัด อุบลราชธานี เป็น ส่วนราชการ ภูมิภาค ของ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ที่ 2ที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 12 และ ที่ 13 รับ ราชการ สังกัด สำนักงานป่าไม้ จังหวัด อุบลราชธานี โดย จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าหน้าที่การเงินและ บัญชี จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ช่วยป่าไม้ จังหวัด และ กรรมการ รับ ส่ง เงินซึ่ง บางครั้ง จะ รักษา ราชการ แทน ป่าไม้ จังหวัด ด้วย จำเลย ที่ 3 ที่ 5และ ที่ 7 เป็น พนักงานป่าไม้ และ กรรมการ สำรอง รับ ส่ง เงินจำเลย ที่ 10 ที่ 12 และ ที่ 13 เป็น ป่าไม้ จังหวัด เมื่อ ระหว่าง ปี2518 ถึง 2524 จำเลย ที่ 1 ได้ ยักยอก เงิน ของ โจทก์ ไป รวมเป็น เงินทั้งสิ้น 3,174,151.13 บาท เมื่อ หัก กับ ที่ ได้รับ ชดใช้ จาก ผู้ที่ ต้องรับผิด ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 และ เงินเดือน ของ จำเลย ที่ 1 แล้ว คงเหลือจำนวนเงิน ที่ จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง รับผิด เป็น เงิน 3,160,185.26 บาทจำนวนเงิน ที่ จำเลย ที่ 1 ยักยอก ไป ดังกล่าว เป็น เงิน ที่ จำเลย ที่ 2ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 และ กรรมการ อื่น อีก หนึ่ง คน เป็น ผู้นำส่ง คลัง จังหวัดแล้ว จำเลย ที่ 1 ยักยอก ไป จำนวน 1,351,040.24 บาท เป็น เงิน ที่จำเลย ที่ 1 ยักยอก ไป ใน ระหว่าง ที่ จำเลย ที่ 2 รักษา ราชการ แทน ป่าไม้จังหวัด จำนวน 701,877.22 บาท เป็น เงิน ที่ จำเลย ที่ 3 ร่วม กับจำเลย ที่ 1 และ กรรมการ อื่น อีก หนึ่ง คน เป็น ผู้นำส่ง คลัง จังหวัด แล้วจำเลย ที่ 1 ยักยอก ไป จำนวน หนึ่ง เป็น เงิน ที่ จำเลย ที่ 5 และ ที่ 7ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 และ กรรมการ อื่น อีก หนึ่ง คน เป็น ผู้นำส่ง คลัง จังหวัดแล้ว จำเลย ที่ 1 ยักยอก ไป จำนวน 308,021.24 บาท และ 337,841 บาทตามลำดับ เป็น เงิน ที่ จำเลย ที่ 1 ยักยอก ไป ใน ระหว่าง ที่ จำเลย ที่ 10เป็น ป่าไม้ จังหวัด โดย จำเลย ที่ 10 เป็น ผู้อนุมัติ ใน ใบ นำ ส่ง เงินจำนวน 1,607,636.02 บาท และ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ รักษา ราชการแทน จำเลย ที่ 10 เป็น ผู้อนุมัติ ใน ใบ ส่ง เงิน จำนวน 682,075 บาทเป็น เงิน ที่ จำเลย ที่ 1 ยักยอก ไป ใน ระหว่าง ที่ จำเลย ที่ 12 และ ที่ 13เป็น ป่าไม้ จังหวัด จำนวน 339,496.20 บาท และ 188,484.45 บาทตามลำดับ
ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และ ที่ 10ว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม หรือไม่ เห็นว่า ฟ้องโจทก์ บรรยาย ว่าจำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 เป็น กรรมการ รับ ส่ง เงิน ทุก ประเภทมี หน้าที่ นำ เงิน ไป ส่ง ที่ คลัง จังหวัด อุบลราชธานี และ รับ เงิน จากคลัง จังหวัด อุบลราชธานี ใน รูป ของ คณะกรรมการ ตาม ระเบียบ ของกระทรวงการคลัง แต่ จำเลย ดังกล่าว ประมาท เลินเล่อ ไม่ ร่วม นำ ส่ง เงิน ให้ถูกต้อง โดย ปล่อย ให้ จำเลย ที่ 1 ถือ เงิน นำ ส่ง เพียง ผู้เดียวเป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 1 ยักยอก เงิน ของ โจทก์ ไป ได้ ทำให้ โจทก์ เสียหายและ บรรยาย ว่า จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ รักษา ราชการ แทน ป่าไม้ จังหวัดอุบลราชธานี และ จำเลย ที่ 10 ใน ฐานะ ป่าไม้ จังหวัด อุบลราชธานีมี หน้าที่ ควบคุม ดูแล การ รับ ส่ง เงิน และ จ่ายเงิน ให้ เป็น ไป โดย ถูกต้องแต่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 10 ประมาท เลินเล่อ ไม่ ควบคุม ดูแล และ ตรวจสอบตาม หน้าที่ เป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 1 ยักยอก เงิน ของ โจทก์ ไป ได้ ทำให้โจทก์ เสียหาย ทั้ง ได้ บรรยาย ถึง จำนวนเงิน ที่ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5ที่ 7 และ ที่ 10 จะ ต้อง ร่วมรับผิด ไว้ แม้ จำนวนเงิน ที่ บรรยาย ไว้จะ ไม่ ตรง กับ เอกสาร ท้ายฟ้อง ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ที่ 7และ ที่ 10 ก็ ตาม ก็ เป็น เพียง รายละเอียด ที่ จะ ไป ว่ากล่าว กัน ใน ชั้นพิจารณา ว่า ที่ ถูกต้อง เป็น จำนวน เท่าไร ฟ้องโจทก์ ได้ บรรยาย ชัดแจ้งซึ่ง สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และ ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหาชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และ ที่ 10 ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ว่า จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 ใน ฐานะ กรรมการ นำ ส่งเงิน จะ ต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 หรือไม่ เห็นว่า แม้ จำเลย ที่ 2ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 จะ มิใช่ เจ้าหน้าที่การเงิน และ บัญชีแต่ จำเลย ที่ 2 เป็น กรรมการ นำ ส่ง เงิน ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ส่วนจำเลย ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 แม้ จะ เป็น กรรมการ สำรอง แต่เมื่อ ได้ปฎิบัติหน้าที่ เป็น กรรมการ นำ ส่ง เงิน ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ก็ ต้องรับผิดชอบ ใน ฐานะ กรรมการ การ นำ ส่ง เงิน นั้น ตาม ระเบียบ การ เก็บรักษาเงิน และ นำ เงิน ส่ง คลัง ของ ส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ข้อ 68 กำหนดให้ หัวหน้า ส่วนราชการ แต่งตั้ง กรรมการ รับผิดชอบ ร่วมกัน ควบคุม เงินไป ส่ง และ ตาม คำสั่ง ป่าไม้ จังหวัด อุบลราชธานี ที่ แต่งตั้ง กรรมการรับ -ส่ง เงิน ของ ราชการ เอกสาร หมาย จ. 5 หน้า 58 ถึง 63 หน้า 335 และ336 ก็ กำหนด ให้ นำ ส่ง เงิน โดย กรรมการ หรือ รูป ของ คณะกรรมการนอกจาก นี้ ตาม ระเบียบ การ ควบคุม การ ไป รับ และ ส่ง เงิน ของ ส่วนราชการต่าง ๆ ของ กระทรวงการคลัง ตาม เอกสาร หมาย จ. 5 หน้า 580 ยังกำหนด ไว้ ใน ข้อ 4 ให้ กรรมการ แต่ละ คน มี หน้าที่ รับผิดชอบ ร่วมกันใน จำนวนเงิน ที่ ไป รับ หรือ นำ ส่ง ทุก ๆ ขณะที่ เงิน ยัง อยู่ ใน อารักขาห้าม มิให้ แยก ย้าย จาก กัน เป็น อัน ขาด จะ เห็น ได้ว่า ตาม ระเบียบและ คำสั่ง ดังกล่าว มุ่ง ให้ คณะกรรมการ รับผิดชอบ ร่วมกัน ควบคุม เงิน ไป ส่งที่ คลัง จังหวัด เพื่อ ป้องกัน การทุจริต จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ใน ฐานะ กรรมการ นำ ส่ง เงิน มี หน้าที่ ต้อง ปฎิบัติตาม ซึ่ง หมายถึงจะ ต้อง ร่วมกัน นำ ส่ง เงิน ต่อ คลัง จังหวัด จนกว่า คลัง จังหวัด จะ รับ เงิน ไว้เรียบร้อย แล้ว หาใช่ เพียงแต่ ควบคุม เงิน ไป ถึง คลัง จังหวัด ก็ เป็น อัน หมดหน้าที่ ตาม ที่ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 อ้าง ไม่ การ ที่จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 ใน ฐานะ กรรมการ นำ ส่ง เงินได้ นำ เงิน ไปส่ง คลัง จังหวัด โดย เมื่อ ไป ถึง คลัง จังหวัด ได้ คอย อยู่ นอก ห้องคลัง จังหวัด ปล่อย ให้ จำเลย ที่ 1 เข้า ไป นำ ส่ง เงิน ใน ห้อง คลัง จังหวัดเพียง ผู้เดียว ซึ่ง จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 นำสืบ รับ ใน ข้อ นี้การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 เป็น การ ไม่ ปฎิบัติตามระเบียบ และ คำสั่ง การ นำ ส่ง เงิน ดังกล่าว และ เป็น ผล ให้ จำเลย ที่ 1สามารถ ปลอม ใบ นำ ส่ง เงิน ปลอม ลายมือชื่อ คลัง จังหวัด และ ตรา ประทับของ คลัง จังหวัด ยักยอก เงิน ของ โจทก์ ไป ได้ ถือได้ว่า จำเลย ที่ 2ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 ประมาท เลินเล่อ ทำให้ โจทก์ เสียหาย จึง ต้อง ร่วมรับผิด ต่อ โจทก์ ตาม จำนวนเงิน ที่ ตน ร่วม เป็น กรรมการ นำ ส่ง เงิน ข้อ ที่ ว่ากรรมการ อื่น ก็ ได้ เคย ปฎิบัติเช่นเดียว กับ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5และ ที่ 7 หาก อาจจะ ยก เป็น ข้ออ้าง ให้ พ้น ความรับผิด ได้ไม่ ฎีกา ข้อ นี้ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 7 ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ว่า จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ รักษา ราชการ แทน ป่าไม้ จังหวัดและ จำเลย ที่ 10 ที่ 12 และ ที่ 13 ใน ฐานะ ป่าไม้ จังหวัด จะ ต้องร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 หรือไม่ เห็นว่า แม้ ตาม ระเบียบ การ เก็บรักษาเงิน และ การ นำ เงิน ส่ง คลัง ของ ส่วนราชการ พ.ศ. 2520 จะ กำหนดให้ เจ้าหน้าที่การเงิน รวบรวม ยอดเงิน ตาม ใบเสร็จรับเงิน ใน แต่ละ วันแล้ว บันทึก ยอด รวม ไว้ ด้านหลัง สำเนา ใบเสร็จรับเงิน ฉบับ สุดท้ายและ ให้ ส่วนราชการ ตรวจสอบ จำนวนเงิน ที่ นำ ส่ง ให้ ตรง กับหลักฐาน ที่ บันทึก ใน บัญชี เงินสด ให้ ถูกต้อง ทั้ง ตาม ประกาศ ของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 218 ว่าด้วย ระเบียบ บริหาร ราชการ แผ่นดินจะ บัญญัติ ให้ หัวหน้า ส่วนราชการ ประจำจังหวัด นั้น ๆ เป็น ผู้ปกครองบังคับบัญชา รับผิดชอบ ซึ่ง หมายถึง มีอำนาจ ปกครอง ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ ปฏิบัติ หน้าที่ ราชการ ให้ ถูกต้อง ตาม ระเบียบ แบบ แผน ดัง ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ยกขึ้น วินิจฉัย ก็ ตาม แต่ การ จะ ให้ ผู้บังคับบัญชาต้อง ร่วมรับผิด กับ ผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วย นั้น ย่อม ต้อง เป็น ไป ตามกฎหมาย ว่าด้วย ละเมิด กล่าว คือ ต้อง จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ อันเป็นผล ทำให้ ผู้ใต้บังคับบัญชา ยักยอก เงิน ไป แล้ว ศาลฎีกา วินิจฉัยข้อเท็จจริง ว่า คดี ฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ รักษา ราชการ แทนป่าไม้ จังหวัด และ จำเลย ที่ 10 ที่ 12 และ ที่ 13 ใน ฐานะ ป่าไม้จังหวัด ประมาท เลินเล่อ เป็น ผล ให้ จำเลย ที่ 1 ยักยอก เงิน ของ โจทก์ไป จำเลย ดังกล่าว จึง ไม่ต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ต่อ โจทก์ ในส่วน นี้ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา ให้ รับผิด ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของศาลฎีกา ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 10 ที่ 12 และ ที่ 13ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้ เป็น ว่า สำหรับ จำเลย ที่ 2 ที่ 10 ที่ 12 และที่ 13 ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ส่วน จำเลย ที่ 3 ให้ ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ใน ต้นเงิน 356,658.27 บาท พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 15 เมษายน 2524 จนกว่า จะชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ แต่ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้อง (24 ตุลาคม 2526) ต้องไม่เกิน 67,606.29 บาท นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 1

Share