คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่8จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลคงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่8เป็นที่ทำการสาขาของจำเลยที่7จำเลยที่8จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดได้ จำเลยที่7เป็นธนาคารมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตนเช็คพิพาทที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา991ที่จำเลยที่7จะไม่จ่ายเงินให้และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่7ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา992จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่7จะปฎิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินเช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่7ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ปฎิบัติธุรกิจเช่นที่จะพึงปฎิบัติก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้วจำเลยที่9ถึงที่11ลูกจ้างของจำเลยที่7ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่1ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่7จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีอาญาในข้อหา เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่1คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืนเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืนคำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสามจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่1อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สาม ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 6 เป็น ข้าราชการ สังกัดโจทก์ ที่ 1 จำเลย ที่ 7 เป็น นิติบุคคล ประกอบ กิจการ ธนาคารพาณิชย์จำเลย ที่ 8 เป็น นิติบุคคล สาขา ร้อยเอ็ด ของ จำเลย ที่ 7 จำเลย ที่ 9ที่ 10 และ ที่ 11 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 7 เมื่อ วันที่ 30พฤศจิกายน 2527 จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ซึ่ง เป็น กรรมการ รับ เงิน และส่ง เงิน ของ สำนักงาน ศึกษาธิการอำเภอ เสลภูมิ ตาม คำสั่ง อำเภอ เสลภูมิ จะ ต้อง ร่วมกัน ไป รับ เช็ค ของ จำเลย ที่ 7 สาขา ร้อยเอ็ด จาก จำเลย ที่ 4 ถึง ที่ 6 ที่ สำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด ร้อยเอ็ดแล้ว นำ ไป เข้าบัญชี ที่ ธนาคาร ออมสิน สาขา ร้อยเอ็ด เพื่อ เรียก เก็บ เงิน จาก จำเลย ที่ 8 และ โอน เงิน ไป ยัง ธนาคาร ออมสิน สาขา เสลภูมิ เพื่อ เบิกจ่าย เป็น เงินเดือน และ เงิน อื่น ๆ แก่ ข้าราชการ ใน สังกัดโจทก์ ทั้ง สาม หรือ เมื่อ รับ เช็ค แล้ว จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ต้อง ร่วมกันนำ เช็ค ไป เบิกเงิน แล้ว นำ ไป จ่าย เป็น เงินเดือน และ เงิน อื่น ๆดังกล่าว มา แล้ว แต่ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ร่วมกัน จงใจ หรือ ประมาทเลินเล่อ ใน การ ปฎิบัติ หน้าที่ โดย เมื่อ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ลงชื่อรับ เช็ค ของ จำเลย ที่ 8 เลขที่ 4916687 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527จำนวนเงิน 719,471.62 บาท จาก จำเลย ที่ 4 ถึง ที่ 6 แล้ว จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ปล่อยปละละเลย ให้ จำเลย ที่ 1 นำ เช็ค ไป เบิกเงินจำนวน ดังกล่าว จาก จำเลย ที่ 8 โดย จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่ได้ ร่วมไป รับ เงิน ด้วย ใน การ นี้ จำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็น ผู้บังคับบัญชา ของ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และ ที่ 6 ปล่อยปละละเลย ไม่ ควบคุม ดูแลระมัดระวัง ใน การ เบิกจ่าย เงิน ให้ ถูกต้อง ตาม ระเบียบ และ คำสั่ง ของทางราชการ เมื่อ จำเลย ที่ 1 นำ เช็ค ไป ขอ เบิกเงิน จำเลย ที่ 11ตรวจ ดู ลายมือชื่อ ผู้รับเงิน และ ตรวจ บัตร ประจำตัว ของ จำเลย ที่ 1โดย มิได้ ตรวจ ลายมือชื่อ และ บัตร ประจำตัว ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3และ ผู้รับเงิน ทุกคน มิได้ ลงลายมือชื่อ ต่อหน้า จำเลย ที่ 9 ถึง ที่ 11หลังจาก นั้น จำเลย ที่ 9 ที่ 11 ก็ ได้ จ่ายเงิน ตามเช็ค ให้ จำเลย ที่ 1ซึ่ง เป็น การ ไม่ชอบ จึง เป็น การ จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรงใน การ ที่ ได้ จ่ายเงิน ตามเช็ค ให้ จำเลย ที่ 1 รับ ไป คนเดียว เมื่อ รับเงิน จำนวน ดังกล่าว มา แล้ว จำเลย ที่ 1 นำ เงิน ไป ใช้ เป็น ประโยชน์ ส่วนตัวจำเลย ที่ 1 จึง ต้อง รับผิด ใช้ เงิน จำนวน ดังกล่าว แก่ โจทก์ ทั้ง สามจำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 11 ซึ่ง ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วย ความประมาท เลินเล่อเป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 1 ยักยอก เงิน ไป จึง ต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1ต่อ โจทก์ ทั้ง สาม ด้วย พนักงานอัยการ จังหวัด ร้อยเอ็ด เป็น โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 เป็น คดีอาญา ศาล พิพากษา ลงโทษ จำคุก จำเลย ที่ 1และ ให้ จำเลย ที่ 1 คืน หรือ ใช้ เงิน ที่ ยัง ไม่ได้ คืน จำนวน 718,471.62บาท แก่ โจทก์ ทั้ง สาม แล้ว ตาม คำพิพากษา คดีอาญา หมายเลขแดง ที่2383/2528 ของ ศาลชั้นต้น ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สิบเอ็ด ร่วมกัน ชำระเงิน จำนวน 719,471.62 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ ลงชื่อ สลักหลัง เช็คไว้ แก่ จำเลย ที่ 4 ถึง ที่ 6 ก่อน วันเกิดเหตุ และ ใน วันเกิดเหตุจำเลย ที่ 2 ไม่ได้ มา กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 เพื่อ ขอรับ เช็ค จากจำเลย ที่ 4 ถึง ที่ 6 ซึ่ง กรณี นี้ ตาม ทาง ปฎิบัติ แล้ว จำเลย ที่ 4ถึง ที่ 6 ต้อง ออก เป็น เช็ค ที่ ขีดคร่อม การ ที่ จำเลย ที่ 4 ถึง ที่ 6มอบ เช็ค โดย ไม่ได้ ขีดคร่อม ให้ จำเลย ที่ 1 ไป เบิกเงิน สด และ จำเลยที่ 7 จ่ายเงิน ให้ จำเลย ที่ 1 ไป จึง มิใช่ ความประมาท เลินเล่อของ จำเลย ที่ 2
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า เหตุ ที่ จำเลย ที่ 1 ยักยอก เงิน ตาม ฟ้องไป ได้ เกิดจาก การกระทำ ของ จำเลย ที่ 4 ถึง ที่ 6 เพราะ ยินยอม ให้จำเลย ที่ 2 ลงชื่อ ใน ต้น ขั้ว เช็ค และ ลงชื่อ รับ เงิน ด้านหลัง เช็คไว้ ล่วงหน้า เป็น การ ไม่ชอบ ด้วย ระเบียบ และ ทั้ง ๆ ที่ ทราบ ว่าใน วัน เบิกเงิน จำเลย ที่ 2 มิได้ มา ด้วย แต่ ยัง มอบ เช็ค ให้ จำเลย ที่ 1ไป จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11 รู้ อยู่ แล้ว ว่าการ จ่ายเงิน ตามเช็ค จะ ต้องจ่าย ตาม การ เรียกเก็บ ของ ธนาคาร ออมสิน สาขา ร้อยเอ็ด แต่ ก็ ยัง จ่ายเงิน ให้ จำเลย ที่ 1 ไป จำเลย ที่ 3 จึง ไม่ต้อง รับผิด
จำเลย ที่ 4 ถึง ที่ 6 ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า เหตุ ที่ เกิดทุจริต ขึ้น เพราะ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ปล่อย ให้ จำเลย ที่ 1 ไป รับเงิน คนเดียว และ จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11 ประมาท เลินเล่อ ยอม ให้จำเลย ที่ 1 รับ เงิน ไป ทั้ง ๆ ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่ได้ ร่วมไป รับ เงิน ด้วย จำเลย ที่ 4 ถึง ที่ 6 จึง ไม่ต้อง รับผิด
จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11 ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า เหตุ ที่จำเลย ที่ 1 ยักยอก เงิน ตามเช็ค ไป ได้ เป็น เพราะ ความประมาท เลินเล่อของ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 6 จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11 หา ต้อง รับผิด ไม่และ คดี ของ โจทก์ ขาดอายุความ เพราะ นำ คดี มา ฟ้อง เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ โจทก์ ทั้ง สาม รู้ เหตุ และ บุคคล ที่ กระทำ ความผิด
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน 719,471.62 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ ให้ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 11ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้อง สำหรับ จำเลยที่ 7 ถึง ที่ 11 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สามมี ว่า จำเลย ที่ 7 ถึง ที่ 11 จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ทั้ง สาม หรือไม่เห็นว่า สำหรับ จำเลย ที่ 8 ซึ่ง เป็น สาขา ของ จำเลย ที่ 7 ประจำจังหวัด ร้อยเอ็ด นั้น โจทก์ ไม่มี พยานหลักฐาน ใด มา แสดง ให้ เห็นว่าจำเลย ที่ 8 จดทะเบียน เป็น นิติบุคคล คง ได้ความ แต่เพียง ว่า จำเลยที่ 8 เป็น เพียง ที่ทำการ สาขา ของ จำเลย ที่ 7 เท่านั้น จำเลย ที่ 8จึง มิได้ เป็น นิติบุคคล อัน อาจ ถูก ฟ้อง ให้ รับผิด ได้ ส่วน จำเลย ที่ 7และ ที่ 9 ถึง ที่ 11 นั้น เห็นว่า จำเลย ที่ 7 เป็น ธนาคาร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 991 จำเลย ที่ 7 มี หน้าที่ ต้องจ่ายเงิน ตามเช็ค ที่ ผู้ เคย ค้า กับ ธนาคาร ได้ ออก เบิกเงิน แก่ ตนเว้นแต่ ใน บัญชี ของ ผู้สั่งจ่าย ไม่มี เงิน พอ ที่ จะ จ่าย ตามเช็ค นั้น ได้หรือ เช็ค นั้น ยื่น เพื่อ ให้ ใช้ เงิน เมื่อ พ้น เวลา หก เดือน นับแต่วันออกเช็ค หรือ ได้ มี คำบอกกล่าว ว่า เช็ค นั้น หาย หรือ ถูก ลัก ไป เช็คที่ จำเลย ที่ 1 นำ ไป ขอ เบิกเงิน ใน คดี นี้ ไม่ เข้า ข้อยกเว้น ที่ จำเลยที่ 7 จะ ไม่จ่าย เงิน ให้ ดังกล่าว แล้ว ยิ่งกว่า นั้น เช็ค ดังกล่าว ก็ไม่มี การ บอก ห้าม ใช้ เงิน หรือ ปรากฎ ว่า ผู้สั่งจ่าย ถึงแก่ความตายหรือ ผู้สั่งจ่าย ถูก ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ชั่วคราว หรือ ล้มละลายอัน จะ ทำให้ จำเลย ที่ 7 หมด หน้าที่ และ อำนาจ ที่ จะ จ่ายเงิน ตามเช็คทั้งนี้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 992 จึง ไม่มี เหตุตาม กฎหมาย ที่ จำเลย ที่ 7 จะ ปฎิเสธ ไม่ ใช้ เงิน ตามเช็ค ที่ จำเลย ที่ 1นำ ไป ขอ เบิกเงิน ตาม ที่ กล่าว แล้ว ได้ และ เห็นว่า เช็ค เป็น ตรา สารที่ ออก ใช้ แทน เงินสด ทั้งนี้ เพื่อ ความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และคล่อง ตัว ใน การ ประกอบ ธุรกิจ ดังนั้น หาก ธนาคาร ผู้จ่าย เงิน ตามเช็คได้ ปฎิบัติ หน้าที่ ด้วย ความระมัดระวัง ตาม ควร แก่ หน้าที่ ที่ ผู้ประกอบธุรกิจ เช่นนี้ จะ พึง ปฎิบัติ ก็ นับ ว่า เป็น การ เพียงพอ แล้ว จะ ถือว่าธนาคาร ประมาท เลินเล่อ มิได้ และ วินิจฉัย ต่อไป ว่า เมื่อ เช็คพิพาทไม่มี เหตุ ตาม กฎหมาย ที่ ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ได้ ดังกล่าว ข้างต้นและ จำเลย ที่ 9 ถึง ที่ 11 ก็ ได้ ปฎิบัติ หน้าที่ ด้วย ความระมัดระวังตาม ควร แก่ หน้าที่ แล้ว เช่นนี้ ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น จึง มิใช่ เพราะความประมาท เลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 7 ที่ 9 ถึง ที่ 11 หาก จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 มิได้ ลงลายมือชื่อ รับ เงิน ไว้ ด้านหลัง เช็ค หรือ หาก จำเลยที่ 4 ถึง ที่ 6 ขีดคร่อม เช็ค ดังกล่าว เสีย จำเลย ที่ 120 และ ที่ 11ก็ จะ ไม่จ่าย เงิน ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น
ปรากฏว่า จำเลย ที่ 1 ถูก พนักงานอัยการ จังหวัด ร้อยเอ็ด ฟ้อง เป็น คดีอาญา ต่อ ศาลชั้นต้น ใน ข้อหา เจ้าพนักงาน ยักยอก ทรัพย์ซึ่ง เป็น เงิน ตามเช็ค เอกสาร หมาย จ. 8 ใน คดี นี้ ขอให้ ลงโทษ และ ให้จำเลย ที่ 1 คืน หรือ ใช้ เงิน ที่ ยักยอก ไป ยัง ไม่ได้ คืน เป็น การ ฟ้องคดีแพ่ง เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา เมื่อ คดีถึงที่สุด โดย ศาล พิพากษาลงโทษ จำเลย ที่ 1 กับ ให้ คืน หรือ ใช้ เงิน ที่ ยักยอก ไป ส่วน ที่ ยังไม่ได้ คืน ตาม คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 2383/2528 ของ ศาลชั้นต้นคำพิพากษา ดังกล่าว ย่อม ผูกพัน โจทก์ ทั้ง สาม ซึ่ง เป็น เจ้าของ เงินเป็น ผู้เสียหาย ใน คดีอาญา เพราะ ถือว่า พนักงานอัยการ จังหวัด ร้อยเอ็ดฟ้องคดี แทน โจทก์ ทั้ง สาม จึง ต้องห้าม มิให้ โจทก์ ทั้ง สาม นำ คดี มารื้อ ร้อง ฟ้อง จำเลย ที่ 1 อีก ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ปัญหา เรื่อง ฟ้องซ้ำ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย เกี่ยว ด้วยความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ศาลฎีกา เห็นควร หยิบยก ขึ้น วินิจฉัย เอง
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ ทั้ง สาม สำหรับ จำเลย ที่ 1นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1

Share