แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
พะยานในพินัยกรรม์ที่รับรองลายมือของผู้ทำพินัยกรรม์นั้นไม่จำต้องเขียนข้อความแลลงวันเดือนปีที่รับรองด้วยตนเอง เมื่อปรากฎวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม์ในหนังสือแล้ว พินัยกรรม์นั้นก็สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการทำพินัยกรรม์ พ.ศ.2475 ม.5(4) พะยาน หน้าที่นำสืบ โจทก์ฟ้องขอให้ทำลายพินัยกรรม์โดยอ้างว่าผู้+ ๆ ในขณะป่วยหนักไม่มีสติดีนั้นเป็นหน้าที่โจทก์+นำสืบให้สม
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ทำลายพินัยกรรม์ฉะบับที่ผู้ตายทำยกทรัพย์ให้จำเลยเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๗ นั้นเสีย โดยอ้างว่าผู้ตายทำขณะป่วยหนักไม่มีสติดี แลว่าพินัยกรรม์ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการทำพินัยกรรม์ พ.ศ.๒๔๗๕
ข้อที่ว่าพินัยกรรม์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายนั้นปรากฎว่า พินัยกรรม์ฉะบับนี้ทำเป็นหนังสือผู้ทำพินัยกรรม์ลงลายมือชื่อต่อหน้าพะยานกว่า ๒ คนแลพะยานก็ได้รับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม์ วันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม์ก็ปรากฎข้างต้นแลข้างท้าย ปรากฎว่าพินัยกรรม์ฉะบับนี้พะยานในพินัยกรรม์แลพะยานที่ลงชื่อรับรองก็มาเบิกความว่าได้อยู่ ณ ที่นั้นพร้อมกันกว่า ๒ คน แต่มิได้ระบุวันเดือนปีที่ลงลายมือชื่อไว้ด้วยตนเอง
ศาลแพ่งเห็่นว่าพินัยกรรม์ทำไม่ถูกต้องตาม ม.๕(๔) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการทำพินัยกรรม์ พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยวินิจฉัยว่าพะยานที่ลงชื่อในพินัยกรรม์ต้องเขียนวันเดือนปี ไว้โดยตนเองทุกคนจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา ๒๔
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์
ศาลฎีกาเห็นว่า พินัยกรรม์ฉะบับนี้มีพะยาน ๒ คนเซ็นชื่อรับรองว่าผู้ทำพินัยกรรม์นั้นได้ลงลายมือต่อหน้าตนมีวันเดือนปีเป็นสำคัญ ซึ่งผู้นั่งพินัยกรรม์มิจำเป็นต้องเขียนข้อความแลวันเดือนปีนั้นด้วยตนเอง ก็เป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการทำพินัยกรรม์ ม.๕(๔) แล้ว ส่วนข้อที่ว่าผู้ตายมีสติไม่ดี ไม่สามารถทำพินัยกรรม์ได้นั้นเป็นหน้าที่โจทก์ต้องสืบว่าเมื่อทำพินัยกรรม์นั้นผู้ตายไม่มีสติบอกความประสงค์ไม่ได้ แต่ปรากฎตามพะยานหลักฐานจำเลยว่าขณะทำพินัยกรรม์ ผู้ตายยังมีสติดีอยู่ จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ให้ยกฟ้องโจทก์