แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์ฟ้องอย่างหนึ่งแต่กลับนำสืบพยานหลักฐานไปอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากคำฟ้องแต่ฎีกาของจำเลยทั้งสองไม่มีรายละเอียดว่าโจทก์ฟ้องอย่างไรแล้วไปนำสืบพยานหลักฐานอย่างไรอันนอกเหนือไปจากคำฟ้องไม่อาจเข้าใจได้ว่าพยานหลักฐานอันใดนอกเหนือไปจากคำฟ้องถือว่าเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าการแก้ไขเลขโฉนดที่ดินและจำนวนเนื้อที่ดินในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายหาทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะจำเลยทั้งสองฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่1มิได้ตกลงยินยอมให้แก้ไขเลขโฉนดที่ดินและจำนวนเนื้อที่ดินและที่ดินที่จำเลยที่1โอนแก่จำเลยที่2เป็นที่ดินคนละแปลงกันจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน 2527 โจทก์ ได้ ทำสัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน แปลง หมายเลข ที่ 60 ซึ่ง เป็น ส่วน หนึ่ง ของที่ดิน โฉนด เลขที่ 13214 จาก จำเลย ที่ 1 เนื้อที่ 50 ตารางวาโจทก์ ได้ ชำระ เงิน ค่าที่ดิน ให้ จำเลย ที่ 1 ครบถ้วน แล้ว แต่ จำเลย ที่ 1ไม่ยอม โอน ที่ดิน ให้ กลับ ยก กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ให้ แก่ จำเลย ที่ 2ขอให้ พิพากษา ว่า นิติกรรม การ ยก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 13214 เฉพาะ ส่วนระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ ที่ 2 เป็น โมฆะ ให้ จำเลย ทั้ง สอง โอน กรรมสิทธิ์ใน ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ หาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา แทน จำเลย ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ได้ แก้ไข สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ โจทก์ ใน ส่วน ที่ เป็น สาระสำคัญ โดย จำเลย ที่ 1ไม่ยินยอม ด้วย สัญญา ดังกล่าว เป็น โมฆะ โจทก์ ชำระ ราคา ค่าที่ดินไม่ครบ จึง ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ให้ โอน ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน การ โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 13214ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ ที่ 2 เฉพาะ ส่วน เนื้อที่ 50 ตารางวาซึ่ง โจทก์ ได้ ครอบครอง และ ปลูก บ้าน เลขที่ 301/14 และ ให้ จำเลย ที่ 1โอน ที่ดินพิพาท เฉพาะ ส่วน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ หาก จำเลย ที่ 1ไม่ ดำเนินการ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า โจทก์ ฟ้องอย่างหนึ่ง แต่ กลับ นำสืบ พยานหลักฐาน ไป อีก อย่างหนึ่ง นอกเหนือ จาก คำฟ้องเป็น การ นำสืบ พยานหลักฐาน นอกเหนือ จาก คำฟ้อง ศาล ไม่อาจ รับฟังพยานหลักฐาน ดังกล่าว และ เป็น การ วินิจฉัย นอกเหนือ จาก คำฟ้อง นั้นเห็นว่า ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ไม่มี รายละเอียด ว่า โจทก์ ฟ้อง อย่างไรแล้ว ไป นำสืบ พยานหลักฐาน อย่างไร อัน นอกเหนือ ไป จาก คำฟ้อง ไม่อาจ เข้าใจได้ว่า พยานหลักฐาน อัน ใด นอกเหนือ ไป จาก คำฟ้อง ถือว่า เป็น ฎีกาไม่ ชัดแจ้ง ไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ส่วน ที่ จำเลย ทั้ง สองฎีกา ว่า โจทก์ ได้ แก้ไข โฉนด เลขที่ 13216 เนื้อที่ 55 ตารางวาเป็น โฉนด เลขที่ 13214 เนื้อที่ 50 ตารางวา ตาม สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน แต่ ฝ่ายเดียว โดย จำเลย ที่ 1 หา ได้ยิน ยอม หรือ รู้เห็น ใน การเปลี่ยนแปลง แต่อย่างใด ไม่ และ เป็น การ เปลี่ยนแปลง เจตนา ของ โจทก์แต่เพียง ฝ่ายเดียว นั้น เห็นว่า คดี นี้ เมื่อ ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริงว่าการ แก้ไข เลข โฉนด ที่ดิน และ จำนวน เนื้อที่ดิน ใน สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน เป็น ไป ตาม เจตนา ของ คู่กรณี ทั้ง สอง ฝ่าย หา ทำให้ สัญญา ตกเป็น โมฆะแต่อย่างใด ไม่ ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง เท่ากับ เป็น การ โต้เถียง ดุลพินิจใน การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ ว่า จำเลย ที่ 1 ตกลง ยินยอมให้ แก้ไข เลข โฉนด ที่ดิน และ จำนวน เนื้อที่ดิน เพื่อ ให้ เป็น ไป ตาม เจตนาของ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 หรือไม่ จึง เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง เมื่อ คดี นี้จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ฎีกา ของจำเลย ทั้ง สอง จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง และ เมื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา แล้ว ว่า โจทก์ และ จำเลย ที่ 1ตกลง ให้ แก้ไข เลข โฉนด ที่ดิน และ จำนวน เนื้อที่ดิน ใน สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน เพื่อ ให้ เป็น ไป ตาม เจตนา ของ คู่กรณี ทั้ง สอง ฝ่าย เช่นนี้จึง มิใช่ เป็น การ นำสืบ เปลี่ยนแปลง แก้ไข ข้อความ ใน สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน อัน จะ ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 สำหรับ ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ที่ ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ ฟ้องขอให้ เพิกถอน การ โอน ที่ดิน เฉพาะ ส่วน ระหว่าง จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 2เพราะ ที่ดิน ที่ จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน กับ โจทก์ เป็นที่ดิน โฉนด เลขที่ 13216 ส่วน ที่ดิน ที่ จำเลย ที่ 1 โอน ให้ แก่จำเลย ที่ 2 เป็น ที่ดิน โฉนด เลขที่ 13214 เป็น ที่ดิน คน ละ แปลง กันและ จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ มี ส่วน รู้เห็น ด้วย นั้น เห็นว่า เมื่อ ได้วินิจฉัย มา แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1 ตกลง ยินยอม ให้ มี การ แก้ไข เลข โฉนด ที่ดินและ จำนวน เนื้อที่ดิน ใน สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สองข้อ นี้ จึง เป็น ฎีกา โต้เถียง ดุลพินิจ ใน การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของศาลอุทธรณ์ จึง เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกันศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
พิพากษายืน