คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเพราะชอบจะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้วอีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมดมิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185 บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1175ที่กำหนดให้แจ้งวันนัดประชุมใหญ่บริษัทโดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า7วันก็เพื่อให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเพื่อผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่เมื่อผู้คัดค้านที่1ในฐานะประธานกรรมการบริษัทมีหนังสือลงวันที่25พฤศจิกายน2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่3ธันวาคม2534โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7คนทราบและผู้ถือหุ้นทั้งหมดต่างก็ทราบนัดแล้วครั้นถึงกำหนดนัดมีชาย2คนมาประชุมแทนผู้ร้องและบุตรซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยแต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจจากผู้ร้องและบุตรจึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทชอบแล้วโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้านั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า7วันหรือไม่

ย่อยาว

ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง เป็น กรรมการ และ ผู้ถือหุ้น ใน บริษัท พระรามเก้าก่อสร้าง จำกัด เมื่อ วันที่ 3 ธันวาคม 2534 กรรมการ บางส่วน ของ บริษัท ได้ จัด ให้ มี การ ประชุม วิสามัญ ผู้ถือหุ้น ครั้งที่3/2534 โดย ฝ่าฝืน กฎหมาย กล่าว คือ การ ประชุม ดังกล่าว เป็น การเรียก ประชุม โดย กรรมการ เพียง คนเดียว ไม่ได้ เกิดจาก มติ ของคณะกรรมการ บริษัท การ ส่ง คำบอกกล่าว ไม่ได้ กระทำ ก่อน วันนัด ประชุมไม่ น้อยกว่า 7 วัน การ ออกเสียง ลงมติ ขัด ต่อ กฎหมาย เพราะ กรรมการและ ผู้ถือหุ้น มี ส่วนได้เสีย เป็น พิเศษ และ มติ ที่ ประชุม ที่ ให้ บริษัทชำระหนี้ แก่ กรรมการ และ ผู้ถือหุ้น โดย บุคคล ดังกล่าว มิได้เป็น เจ้าหนี้ เพราะ บริษัท ยัง ไม่เคย จัดทำ บัญชี งบ การเงิน งบดุลตั้งแต่ ปี 2532 ถึง ปี 2534 ขอให้ เพิกถอน มติ ที่ ประชุม วิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 3/2534 ของ บริษัท พระรามเก้าก่อสร้าง จำกัด
ผู้คัดค้าน ทั้ง ห้า ยื่น คำคัดค้าน ว่า คำร้องขอ เพิกถอน มติที่ ประชุม ขาดอายุความ ใน การ เรียก ประชุม ผู้ถือหุ้น ครั้ง พิพาทผู้คัดค้าน ที่ 1 ซึ่ง เป็น กรรมการ และ ใน ฐานะ ประธาน กรรมการ บริษัทเป็น ผู้มีอำนาจ เรียก ประชุม ได้ บริษัท ไม่มี ข้อบังคับ ว่าการ เรียกประชุม วิสามัญ ผู้ถือหุ้น จะ ต้อง กระทำ โดย มติ ที่ ประชุม ก่อนหน้า นี้ผู้คัดค้าน ที่ 1 ก็ เป็น ผู้ นัด ประชุม วิสามัญ ผู้ถือหุ้น ผู้ร้อง ก็เข้าร่วม ประชุม ทุกคราว และ การ ประชุม วิสามัญ ผู้ถือหุ้น ครั้งนี้ ได้มี การ ส่ง หนังสือ นัด ประชุม แก่ ผู้ถือหุ้น ทุกคน ก่อน วันนัด ประชุมไม่ น้อยกว่า 7 วัน แล้ว อีก ทั้ง ผู้คัดค้าน ที่ 1 ก็ ยัง แจ้ง ด้วย วาจาให้ ผู้ร้อง ทราบ แล้ว ใน วันที่ 19 พฤศจิกายน 2534 นอกจาก นี้ ใน การ ลงมติก็ ไม่ ถือว่า ผู้ถือหุ้น และ กรรมการ มี ส่วนได้เสีย เพราะ การ จ่ายเงินดังกล่าว เป็น การ ชำระหนี้ สิน ของ บริษัท ตาม ที่ เคย ตกลง กัน ไว้ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ เพิกถอน มติ ที่ ประชุม วิสามัญ ผู้ถือหุ้นครั้งที่ 3/2534 ของ บริษัท พระรามเก้าก่อสร้าง จำกัด ซึ่ง ได้ ประชุม เมื่อ วันที่ 3 ธันวาคม 2534
ผู้คัดค้าน ที่ 2 และ ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้คัดค้าน ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่าบริษัท พระรามเก้าก่อสร้าง จำกัด มี ผู้ร้อง ผู้คัดค้าน ที่ 1และ ที่ 3 เป็น กรรมการ ผู้คัดค้าน ที่ 1 มี หนังสือ ลงวันที่25 พฤศจิกายน 2534 แจ้ง เชิญ ผู้ถือหุ้น ทุกคน ให้ เข้าร่วมประชุม วิสามัญ ผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 3/2534 ใน วันที่ 3 ธันวาคม 2534ปรากฎ รายละเอียด ตาม เอกสาร หมาย ร.4 ใน วัน ประชุม ได้ มี มติที่ ประชุม ให้ บริษัท ชำระหนี้ แก่ ผู้ถือหุ้น ทุกคน พร้อม ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 15 ต่อ ปี ปรากฎ ตาม รายงาน การ ประชุม เอกสาร หมาย ร.6ปัญหา ตาม ฎีกา ของ ผู้คัดค้าน ที่ 2 และ ที่ 3 ข้อ แรก มี ว่ามติ ที่ ประชุม วิสามัญ ผู้ถือหุ้น ของ บริษัท พระรามเก้าก่อสร้าง จำกัด เมื่อ วันที่ 3 ธันวาคม 2534 ที่ ให้ บริษัท ชำระหนี้ แก่ ผู้ถือหุ้น ทุกคนพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี เป็น มติ ที่ ขัด ต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1185 หรือไม่ เห็นว่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1185 บัญญัติ ห้าม มิให้ผู้ถือหุ้น คนใด ที่ มี ส่วนได้เสีย เป็น พิเศษ ใน ข้อ อัน ใด ซึ่ง ที่ ประชุม จะลงมติ ออกเสียง ลง คะแนน ด้วย ใน มติ ข้อ นั้น หมายความ เฉพาะ ผู้ถือหุ้นที่ มี ส่วนได้เสีย เป็น พิเศษ เท่านั้น ผู้ถือหุ้น ที่ เป็น เจ้าหนี้ บริษัทที่ ร่วม ประชุม และ ลงมติ ให้ บริษัท ชำระหนี้ แก่ ตน ไม่ใช่ ผู้มีส่วนได้เสียเป็น พิเศษ เพราะ แม้ ไม่มี มติ ของ บริษัท ดังกล่าว ผู้ถือหุ้น ที่ เป็นเจ้าหนี้ บริษัท ก็ ชอบ ที่ จะ ได้รับ ชำระหนี้ หรือ เรียกร้อง ให้ มี การชำระหนี้ ได้ อยู่ แล้ว อีก ทั้งที่ ประชุม ก็ มี มติ ให้ ชำระหนี้ คืน แก่ผู้ถือหุ้น พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา เดียว กัน หมด มิได้ เลือก ปฏิบัติแก่ ผู้ถือหุ้น บางคน เป็น พิเศษ แต่อย่างใด มติ ดังกล่าว จึง ไม่ ขัด ต่อบทบัญญัติ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1185 ฎีกาผู้คัดค้าน ที่ 2 และ ที่ 3 ข้อ นี้ ฟังขึ้น
ปัญหา ตาม ฎีกา ของ ผู้คัดค้าน ที่ 2 และ ที่ 3 ข้อ ต่อไป ที่ ว่าการ แจ้ง กำหนด นัด ประชุม ผู้ถือหุ้น ของ บริษัท ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ปัญหา นี้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 บัญญัติ ว่าคำบอกกล่าว เรียก ประชุมใหญ่ ทุกคราว นั้น ให้ ลง พิมพ์ โฆษณา อย่างน้อยสอง คราว ใน หนังสือพิมพ์ แห่ง ท้องที่ ฉบับ หนึ่ง ก่อน วันนัด ประชุมไม่ น้อยกว่า 7 วัน หรือ ส่ง ทาง ไปรษณีย์ ไป ยัง ผู้ถือหุ้น ทุกคน บรรดามี ชื่อ ใน ทะเบียน ของ บริษัท ก่อน วันนัด ประชุม ไม่ น้อยกว่า 7 วันที่ ผู้คัดค้าน ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา ว่า นอกจาก ได้ มี การ แจ้ง กำหนด นัดให้ ทราบ ด้วย วาจา แล้ว ยัง มี การ แจ้ง เป็น หนังสือ ให้ ผู้ถือหุ้นทราบ ก่อน วันนัด ไม่ น้อยกว่า 7 วัน ผู้ร้อง ทราบ นัด แล้ว ถือได้ว่า มีการ แจ้ง กำหนด นัด ให้ ผู้ถือหุ้น ทราบ โดยชอบ แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 เห็นว่า การ ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 กำหนด ให้ แจ้ง วันนัดประชุมใหญ่ บริษัท ด้วย การ ลง พิมพ์ โฆษณา ใน หนังสือพิมพ์ แห่ง ท้องที่หรือ ส่ง ทาง ไปรษณีย์ ลงทะเบียน ไป ยัง ผู้ถือหุ้น ทุกคน โดย กำหนด เวลา ว่าต้อง แจ้ง ก่อน วันนัด ประชุม ไม่ น้อยกว่า 7 วัน นั้น ก็ เพื่อ มุ่ง ประสงค์ให้ มี การ แจ้ง ให้ ผู้ถือหุ้น ทราบ ล่วงหน้า เพื่อ ที่ ผู้ถือหุ้น จะ ได้เตรียม ตัว สอบถาม หรือ แสดง ความ คิดเห็น อัน จะ เป็น ประโยชน์ แก่บริษัท ได้ เต็มที่ เมื่อ ข้อเท็จจริง ปรากฎ ว่า ผู้ร้อง ที่ 1 ใน ฐานะประธาน กรรมการ บริษัท ได้ มี หนังสือ ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534เรียก ประชุม ผู้ถือหุ้น ใน วันที่ 3 ธันวาคม 2534 โดย ส่ง ให้ ผู้ถือหุ้นทั้งหมด ซึ่ง มี อยู่ 7 คน ทราบ และ ผู้ถือหุ้น รวมทั้ง ผู้ร้อง ต่าง ก็ ทราบนัด แล้ว ครั้น ถึง กำหนด นัด ผู้คัดค้าน ทั้ง ห้า ซึ่ง เป็น ผู้ถือหุ้น ได้ไป ประชุม โดย พร้อมเพรียงกัน ส่วน ผู้ร้อง และ นาย พรชัย วิสุกมล บุตร ผู้ร้อง ซึ่ง เป็น ผู้ถือหุ้น ด้วย ไม่ได้ เข้า ประชุม ได้ความ จาก ทางนำสืบ ของ ผู้คัดค้าน ทั้ง ห้า ว่า มี ชาย 2 คน มา ประชุม แทน แต่ เนื่องจากไม่มี หนังสือมอบอำนาจ จาก ผู้ร้อง และ นาย พรชัย ชาย ทั้ง สอง จึง เข้า ประชุม ไม่ได้ ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่าการ แจ้ง กำหนด นัด ประชุมผู้ถือหุ้น ของ บริษัท ชอบ ด้วย กฎหมาย แล้ว ฎีกา ผู้คัดค้าน ที่ 2 และ ที่ 3ข้อ นี้ ฟังขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษากลับ ให้ยก คำร้องของผู้ร้อง

Share