แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าทรัพย์ของจำเลยถูกยึดไว้โดยคำสั่งศาลแล้วถูกลักไปจำเลยรู้แล้วบังอาจพาทรัพย์นั้นไปเสียให้พ้นเช่นนี้ ย่อมมีผิดฐานรับของโจร ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.194-195-225 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์พิจารณาได้ความว่าจำเลยรับของโจร ลงโทษจำเลยได้ (ฟ้องก่อนตุลาคม) ข้อกฎหมายใดที่คู่ความมิได้ยกโต้เถียงมาในชั้น ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ย่อยาว
ได้ความว่าโคของกลางในคดีนี้เป็นของจำเลยที่ ๑ เจ้าพนักงานได้ยึดมาจากจำเลยตามคำสั่งศาลโดยชอบแล้ว มอบให้นายไดยมโจทก์และเจ้าทุกข์รักษาไว้ ต่อมาโครายนี้หายไป เจ้าพนักงานไปพบจำเลยกำลังจูงโครายนี้อยู่ โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรตาม ม.๓๒๑ ข้อ ๓ จำคุก ๙ เดือน
จำเลยที่ ๑ ฎีกาว่า ๑. โดยรายนี้เป็นทรัพย์ของจำเลย แม้จะถูกเจ้าพนักงานยึดไว้จำเลยยังไม่ควรมีผิด ๒. ศาลไม่ควรรับฟังคำพลตำรวจ ๒ คนเพราะพะยานไม่ให้การถึงข้อนี้ในชั้นไต่สวน ๓. ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อที่ว่าจำเลยอพยพไปจากกรุงเทพ ฯ ไปคลอง ๗ ทำไมจึงไม่เอาตั๋วพิมพ์รูปพรรณไปด้วย เป็นการคลาดเคลื่อนและขัดกับข้อต่อสู้
ศาลฎีกาตัดสินว่าถึงแม้ว่าโครายนี้จะเป็นของจำเลยก็ดี ตาม ม.๒+๐ ถ้าผู้เป็นเจ้าของลักไปก็ต้องเป็นผิด และย่อมเป็นผิดตามมาตรา ๓๒๑ ได้ด้วย เพราะมาตรานี้บัญญัติครอบถึงกรณีที่บุคคลที่รู้ว่าทรัพย์ใดเป็นของได้มาโดยกระทำผิดและช่วยเหลือพาเอาไปเสียให้พ้นเป็นความผิดฐานรับของโจร และในฎีกาข้อ ๒ นั้นจำเลยมิได้ฟ้องอุทธรณ์ข้อนี้ไว้ในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และข้อ ๓ ก็เป็นการคัดค้านข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยฎีกามิได้ พิพากษายกฎีกาจำเลยเสีย