คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ที่2และให้โจทก์ที่2นำส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยภายใน5วันไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน15วันนับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้องฎีกา ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ที่2ให้นำฎีกามายื่นลงชื่อทราบคำสั่งแล้วถือว่าโจทก์ที่2ได้ทราบคำสั่งแล้วต่อมาพนักงานเดินหมายนำหมายส่งสำเนาฎีกาไปส่งให้แก่จำเลยที่1แต่ส่งไม่ได้โจทก์ที่2ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน15วันจึงเป็นการ ทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2) ค่าขาดแรงงานในครอบครัวที่ภริยาโจทก์ที่1ถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำละเมิดของจำเลยทั้งสามเมื่อโจทก์ที่2ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่1กับผู้ตายอาศัยอยู่บ้านเดียวกับโจทก์ที่1การที่โจทก์ที่1จ้างบุคคลอื่นมาทำงานแทนผู้ตายโจทก์ที่2ย่อมได้รับประโยชน์จากการทำงานของบุคคลอื่นนี้ด้วยทั้งโจทก์ที่2ก็มิได้จ้างบุคคลอื่นมาช่วยทำงานอีกเมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์ที่1แล้วความเสียหายของโจทก์ที่2ในส่วนนี้ย่อมหมดไปโจทก์ที่2ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้อีก

ย่อยาว

คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิจารณา และ พิพากษา รวมกัน กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดงที่ 10256/2532 และ คดี หมายเลขแดง ที่ 10258/2532 แต่ คดี ดังกล่าวถึงที่สุด แล้ว คง ขึ้น มา สู่ การ พิจารณา ของ ศาลฎีกา เฉพาะคดี นี้ เพื่อความสะดวก ให้ เรียก นาย ประศาสน์ ประสิทธิ์กุศล ว่า โจทก์ ที่ 1นางสาว รวงพร ประสิทธิ์กุศล ว่า โจทก์ ที่ 2 นางสาว กัญญา ประสิทธิ์กุศล ว่า โจทก์ ที่ 3 ส่วน จำเลย ทั้ง สาม และ จำเลยร่วม ทั้ง สาม สำนวน ให้ เรียก ตาม เดิม
โจทก์ ที่ 2 ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 และที่ 3 ซึ่ง ขณะ ปฏิบัติ หน้าที่ ใน ทางการที่จ้าง ได้ ขับ รถโดยสาร โดยประมาททำให้ รถ พลิกคว่ำ นาง จำเนียร ประสิทธิ์กุศล มารดา ของ โจทก์ ที่ 2ถึงแก่ความตาย โจทก์ ที่ 2 ได้ จัดการ เกี่ยวกับ ศพ เสีย ค่าใช้จ่ายตาม รายละเอียด ใน ฟ้อง และ โจทก์ ที่ 2 ต้อง ขาด แรงงาน ใน ครัวเรือนปี ละ 12,000 บาท ขอ คิด เป็น เวลา 7 ปี ขอให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกันหรือ แทน กัน ชำระ เงิน แก่ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 238,785 บาท พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า ค่าเสียหาย ของ โจทก์ ที่ 2 เกิน ความจริง
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ใช่ ลูกจ้าง และ ขณะ เกิดเหตุไม่ได้ ขับ รถ ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 3 จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ประมาทค่าเสียหาย ของ โจทก์ ที่ 2 เกิน ความ เป็น จริง
จำเลย ที่ 2 ขอให้เรียก บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จำกัด เข้า มา เป็น จำเลยร่วม ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง อนุญาต
จำเลยร่วม ให้การ ว่า จำเลยร่วม เป็น ผู้ ออก กรมธรรม์ประกันภัยให้ แก่ จำเลย ที่ 2 แต่ ออก กรมธรรม์ หลัง เกิดเหตุ แล้ว ข้อตกลง ตามกรมธรรม์ประกันภัย เป็น โมฆะ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ร่วมกัน ชำระ เงินให้ โจทก์ ที่ 1 จำนวน 170,485 บาท ให้ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 154,825 บาทให้ โจทก์ ที่ 3 จำนวน 243,123 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน แต่ละ จำนวน นับแต่ วัน ละเมิด (วันที่ 12สิงหาคม 2528) จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ให้ จำเลยร่วม รับผิดต่อ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 3 จำนวน คน ละ 10,000 บาท และ รับผิด ต่อ โจทก์ที่ 2 จำนวน 100,000 บาท
จำเลย ที่ 2 และ จำเลยร่วม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3ร่วมกัน ชำระ เงิน ให้ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 104,425 บาท นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ที่ 2 ยื่นฎีกา เมื่อ วันที่ 20มีนาคม 2535 ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่ง ใน ฎีกา ของ โจทก์ ที่ 2 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2535 ว่า รับ เป็น ฎีกา ของ โจทก์ สำเนา ให้ จำเลยให้ โจทก์ นำ ส่ง ภายใน 5 วัน ไม่มี ผู้รับ โดยชอบ ให้ ปิด หาก ส่ง ไม่ได้ให้ โจทก์ แถลง เพื่อ ดำเนินการ ต่อไป ภายใน 15 วัน นับแต่ วัน ส่ง ไม่ได้หาก ไม่ แถลง ให้ ถือว่า โจทก์ ทิ้งฟ้อง ฎีกา และ มี ข้อความ ประทับ ไว้ด้วย ว่า ให้ มา ทราบ คำสั่ง ใน วันที่ 1 เมษายน 2535 ถ้า ไม่มา ให้ ถือว่าทราบ คำสั่ง แล้ว และ ผู้รับมอบฉันทะ จาก ทนายโจทก์ ที่ 2 ให้ นำ ฎีกามา ยื่น ได้ ลงชื่อ ไว้ ข้าง ล่าง ข้อความ ดังกล่าว แล้ว จึง ต้อง ถือว่าโจทก์ ที่ 2 ได้ ทราบ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ สั่ง ใน ฎีกา ของ โจทก์ ที่ 2โดยชอบ แล้ว ต่อมา ใน วันที่ 15 เมษายน 2535 พนักงานเดินหมาย ได้นำ หมายนัด และ สำเนา ฎีกา ไป ส่ง ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 แต่ ส่ง ไม่ได้ แต่โจทก์ ที่ 2 ไม่ได้ แถลง ต่อ ศาลชั้นต้น เพื่อ ดำเนินการ ต่อไป ภายใน เวลา15 วันที่ ศาลชั้นต้น กำหนด เป็น การ ทิ้งฟ้อง ฎีกา ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 174(2) จึง ให้ จำหน่ายคดี เฉพาะ ใน ส่วนที่ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 1
สำหรับ ฎีกา ของ โจทก์ ที่ 2 ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ จำเลย อื่น นั้นข้อเท็จจริง ที่ ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ฟังได้ ว่า โจทก์ ที่ 1เป็น สามี ของ นาง จำเนียร ประสิทธิ์กุศล โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3เป็น บุตร ของ โจทก์ ที่ 1 กับ นาง จำเนียร เมื่อ วันที่ 12 สิงหาคม 2528 จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ขับ รถยนต์โดยสาร หมายเลข ทะเบียน 10-0148 กรุงเทพมหานคร ใน ทางการที่จ้างของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 รับ ผู้โดยสาร จาก จังหวัด นครศรีธรรมราชมาก รุงเทพ มหานคร มี โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 3 กับ นาง จำเนียร โดยสาร มา ด้วย เมื่อ รถยนต์ แล่น มา ถึง ตำบล ทรายทอง อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ จำเลย ที่ 1 ขับ รถ ด้วย ความประมาท เป็นเหตุให้ รถยนต์ คัน ดังกล่าว พลิกคว่ำ ทำให้ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 3 ได้รับอันตรายสาหัส นาง จำเนียร ถึงแก่ความตาย
พิเคราะห์ แล้ว โจทก์ ที่ 2 ฎีกา ว่า โจทก์ ที่ 2 ฟ้อง เรียกค่า ขาด แรงงาน ใน ครอบครัว ที่มา รดาโจทก์ ที่ 2 ถึงแก่ความตาย เนื่องจากการ ทำละเมิด ของ จำเลย ทั้ง สาม ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ว่า โจทก์ ไม่มีสิทธิ เรียก ค่าเสียหาย ส่วน นี้ เพราะ ไม่มี สิทธิ ที่ จะ ได้รับ ค่า อุปการะเลี้ยงดู ย่อม ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก เป็น คน ละ เรื่อง กัน นั้น โจทก์ ที่ 2เบิกความ ว่า ใน ระหว่าง ที่นา ง จำเนียร มี ชีวิต อยู่ มี หน้าที่ ปฏิบัติ หน้าที่ ใน ครัวเรือน โดย ดูแล บ้าน และ ทำ กับข้าว โจทก์ ที่ 1 เบิกความและ ตอบ ทนายจำเลย ที่ 2 ถาม ค้าน ว่า หลังจาก นาง จำเนียร ถึงแก่ความตาย แล้ว โจทก์ ที่ 1 ได้ว่า จ้าง นาง มณีรัตน์ มา ดูแล ทำ ความสะอาด บ้าน ประกอบ อาหาร และ ซัก เสื้อผ้า ให้ บุตร ด้วย ปรากฏ ตาม คำฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1และ ที่ 2 อาศัย อยู่ บ้าน เดียว กัน และ โจทก์ ที่ 2 ตอบ ทนายจำเลย ที่ 2ถาม ค้าน ว่า โจทก์ ที่ 1 ได้ว่า จ้าง บุคคลอื่น มา ทำงาน แทน นาง จำเนียร โจทก์ ที่ 1 ได้ ฟ้อง เรียกเงิน ส่วน นี้ แล้ว ส่วน โจทก์ ที่ 2 ไม่ได้ว่าจ้าง ส่วน นี้ อีก ศาลฎีกา เห็นว่า เมื่อ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 อาศัยอยู่ บ้าน เดียว กัน การ ที่ โจทก์ ที่ 1 ได้ว่า จ้าง นาง มณีรัตน์ มา ทำ งาน บ้าน ทุกอย่าง ที่นา ง จำเนียร เคย ทำ อยู่ แทน นาง จำเนียร แล้ว โจทก์ ที่ 2 ย่อม ได้รับ ประโยชน์ จาก การ ทำงาน ของ นาง มณีรัตน์ ด้วย และ โจทก์ ที่ 2 ก็ ไม่ได้ ว่าจ้าง ให้ บุคคลอื่น มา ช่วย ทำงาน อีก ดังนั้นแม้ โจทก์ ที่ 2 จะ มีสิทธิ ได้รับ ความเสียหาย ใน ส่วน นี้ แต่ ก็ เป็นค่าเสียหาย ใน เรื่อง เดียว กัน กับ ที่ โจทก์ ที่ 1 ฟ้อง เรียก มา และศาลล่าง ทั้ง สอง ก็ ได้ พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ใช้ ค่าเสียหาย ส่วน นี้ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 แล้ว ความเสียหาย ของ โจทก์ ที่ 2 ใน ส่วน นี้ ย่อมหมด ไป โจทก์ ที่ 2 จึง ไม่มี สิทธิ ที่ จะ เรียก ค่าเสียหาย ส่วน นี้ อีกที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ไม่ให้ ค่าเสียหาย ส่วน นี้ แก่ โจทก์ ที่ 2ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา ของ โจทก์ ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share