แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
รูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปคนในเรือ2คนอยู่ตรงกลางคนหนึ่งเป็นผู้หญิงกำลังพายเรืออยู่กลางลำน้ำซึ่งอยู่ด้านขวาของรูปส่วนอีกคนหนึ่งเป็นเด็กผู้ชายถือถ่อช่วยอยู่ท้ายเรือลำเดียวกันที่ด้านซ้ายของรูปกลางลำเรือมีรูปดอกไม้ที่ด้านหัวและท้ายเรือก็มีรูปดอกไม้มีภาพทิวทัศน์ภูเขาและเรือใบ2ลำภาพดังกล่าวอยู่ในกรอบวงรีด้านบนกรอบวงรีมีอักษรภาษาจีนอ่านว่า ลีคุมกี และด้านล่างมีวงกลมอยู่ด้านซ้ายและขวาข้างละ1วงภายในวงกลมมีอักษรภาษาจีนตรงกลางด้านล่างกรอบวงรีมีถ้อยคำว่าOYSTERFLAVOREDSAUCEอยู่ในกรอบประดิษฐ์รูปสี่เหลี่ยมและที่มุมด้านในของกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีรูปดอกไม้อยู่ทั้งสี่มุมส่วนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยเป็นรูปชายกับหญิงพายเรือสวนกันกลางน้ำซึ่งมีภาพภูเขา3ลูกและเมฆเป็นทิวทัศน์อยู่ภายในวงกลมและมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมนั้นไว้อีกชั้นหนึ่งส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามคำขอจดทะเบียนก็เป็นรูปคน2คนพายเรือสวนกันกลางน้ำมีภูเขา3ลูกเป็นทิวทัศน์อยู่ภายในวงกลมด้านข้างซ้ายและขวาของวงกลมมีดอกไม้วางเรียงกันลงมาด้านละ3ดอกและมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมวงกลมไว้อีกชั้นหนึ่งภาพเรือ2ลำแล่นสวนกันในเครื่องหมายการค้าของจำเลยซ้อนกันหากไม่สังเกตให้ดีจะดูคล้ายคน2คนนั่งอยู่ในเรือลำเดียวกันตำแหน่งของคนทั้งสองอยู่ในตำแหน่งเดียวกับคนทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมาใช้กับสินค้าซอสหอยนางรมจะเห็นได้ชัดเจนว่าฉลากเครื่องหมายการค้าที่ปิดข้างขวดคล้ายกับฉลากเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างมากเครื่องหมายการค้าของจำเลยและสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ภาพถ่ายสินค้าและสลากเครื่องหมายการค้าเมื่อโจทก์ได้ส่งซอสน้ำมันหอยมาจำหน่ายในประเทศไทย40ปีเศษแล้วและโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในต่างประเทศหลายประเทศการที่จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อปี2529และได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้อย่างหนึ่งแต่เวลานำไปใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับของโจทก์จำเลยได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมรายละเอียดอื่นลงไปให้เหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่จะเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยแม้โจทก์จะยังมิได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือโจทก์ก็เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นและในเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของโจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของจำเลยและให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปคนพายเรือของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่42รายการสินค้าซอสน้ำมันหอยโจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคแรกและโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฎว่าจำเลยทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามมาตรา29วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทโจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกกระทำละเมิดตามฟ้องได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า อักษร โรมันคำ ว่า LEE KUM KEE เครื่องหมายการค้า ภาษา จีน อ่าน ว่า ลีคุมกี และ เครื่องหมายการค้า รูป คนพายเรือ โดย โจทก์ ได้ ใช้ และ โฆษณาเครื่องหมายการค้า ดังกล่าว กับ สินค้า เครื่อง ปรุง อาหาร ของ โจทก์ใน ประเทศ ต่าง ๆ รวมทั้ง ใน ประเทศ ไทย มา นาน 50 ปี โจทก์ ได้ ยื่นคำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า รูป คน พายเรือ เพื่อ ใช้ กับ สินค้าจำพวก ที่ 42 รายการ สินค้า น้ำมันหอย ตาม คำขอ เลขที่ 169030เมื่อ เดือน กันยายน 2530 จำเลย ได้ ยื่น ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้ารูป คน พายเรือ ตาม คำขอ เลขที่ 169504 เพื่อ ใช้ กับ สินค้า ใน จำพวก ที่ 42รายการ สินค้า ซอส น้ำมันหอย โจทก์ ได้ ยื่น คัดค้าน การ จดทะเบียนของ จำเลย ต่อ นายทะเบียน นายทะเบียน ได้ วินิจฉัย ยก คำคัดค้าน ของ โจทก์โจทก์ ไม่เห็น ด้วย กับ คำวินิจฉัย ของ นายทะเบียน และ เมื่อ ปี 2529จำเลย ได้ ยื่น คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า รูป คน พายเรือตาม คำขอ เลขที่ 157133 ซึ่ง นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า ได้รับจดทะเบียน เป็น ทะเบียน เลขที่ 109181 จำเลย กระทำ โดย ไม่สุจริตเครื่องหมายการค้า ที่ จำเลย ขอ จดทะเบียน เหมือน หรือ คล้าย กับเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ทำให้ สาธารณชน เข้าใจผิด ว่า สินค้าที่ จำเลย ใช้ กับ เครื่องหมายการค้า รูป คน พายเรือ เป็น สินค้า ของ โจทก์ก่อน ฟ้องคดี นี้ จำเลย ได้ ผลิต และ จำหน่าย ซอส น้ำมัน หอย โดย ใช้เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ที่ เป็น อักษร โรมัน อักษร จีน และ อักษร ไทยคำ ว่า ลีคุมกี ใช้ ร่วม กับ เครื่องหมายการค้า รูป คน พายเรือ ของ โจทก์ อีก ด้วย ทำให้ ยอด จำหน่าย สินค้า ของ โจทก์ ตก ต่ำ และ สินค้า ของ จำเลยได้ ทำลาย ชื่อเสียง เกียรติคุณ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ทำให้ โจทก์ได้รับ ความเสียหาย เดือน ละ 50,000 บาท ขอให้ พิพากษา ว่า โจทก์ เป็นเจ้าของ และ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า รูป คน พายเรือ ตาม เอกสาร ท้ายฟ้องหมายเลข 3 ดีกว่า จำเลย ให้ จำเลย ถอน คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าเลขที่ 169504 และ ถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่ 109181หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนาของ จำเลย และ ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 50,000 บาทนับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย จะ เลิก กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ได้ เป็น ผู้ผลิต และ จำหน่าย สินค้าเครื่อง ปรุง อาหาร ตาม ฟ้อง จำเลย ได้ ยื่น คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า พิพาท ต่อ นายทะเบียน โดยสุจริต และ ได้ ใช้ เครื่องหมายการค้าที่ ได้รับ จดทะเบียน ถูกต้อง ก่อน จดทะเบียน มาก ว่า 10 ปี จำเลยไม่ทราบ ว่า เครื่องหมายการค้า พิพาท จะ เหมือน หรือ คล้าย ของ ผู้ใดนายทะเบียน ได้ มี คำวินิจฉัย ที่ 277/2532 ว่า เครื่องหมายการค้าพิพาท ของ จำเลย ไม่ เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์โจทก์ ไม่ได้ รับ ความเสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ว่า เครื่องหมายการค้า รูป คน พายเรือ รวม 2 รายการ ของ จำเลย ตาม เอกสาร หมาย จ. 33และ จ. 34 กับ เครื่องหมายการค้า รูป คน พายเรือ ที่ สินค้า ซอส หอยนางรมของ จำเลย วัตถุ พยาน หมาย จ. 5 เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้ารูป คน พายเรือ ของ โจทก์ ตาม คำขอ จดทะเบียน เลขที่ 169030 เอกสาร หมาย จ. 21ภาพถ่าย สินค้า ซอสหอยนางรม และ สลาก เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์วัตถุ พยาน หมาย จ. 7 และ จ. 10 และ โจทก์ มีสิทธิ ขอให้ เพิกถอน ทะเบียนเครื่องหมายการค้า เลขที่ 109081 กับ ให้ จำเลย ถอน คำขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เลขที่ 169504 หรือไม่ เห็นว่า เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ ที่ ใช้ กับ สินค้า ซอสหอยนางรม ตาม ภาพถ่าย หมาย จ. 7และ สลาก เครื่องหมายการค้า วัตถุ พยาน หมาย จ. 10 มี รูป แบบ และ ลักษณะเหมือนกับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ อยู่ ใน กรอบ สี่เหลี่ยมผืนผ้ามี รูป คน ใน เรือ 2 คน อยู่ ตรง กลาง คนหนึ่ง เป็น ผู้หญิง กำลัง พายเรืออยู่ กลาง ลำน้ำ ซึ่ง อยู่ ด้านขวา ของ รูป ส่วน อีก คนหนึ่ง เป็น เด็ก ผู้ชายถือ ถ่อ ช่วย อยู่ ท้าย เรือ ลำ เดียว กัน ที่ ด้านซ้าย ของ รูป กลาง ลำเรือมี รูป ดอกไม้ ที่ ด้าน หัว และ ท้าย เรือ ก็ มี รูป ดอกไม้ มี ภาพ ทิวทัศน์ภูเขา และ เรือใบ 2 ลำ ภาพ ดังกล่าว อยู่ ใน กรอบ วงรี ด้าน บน กรอบ วงรีมี อักษร ภาษา จีน อ่าน ว่า ลีคุมกี และ ด้าน ล่าง มี วงกลม อยู่ ด้านซ้าย และ ขวา ข้าง ละ 1 วง ภายใน วงกลม มี อักษร ภาษา จีน ตรง กลาง ด้าน ล่างกรอบ วงรี มี ถ้อยคำ ว่า OYSTER FLAVORED SAUCE อยู่ ใน กรอบ ประดิษฐ์รูป สี่เหลี่ยม และ ที่ มุม ด้าน ใน ของ กรอบ สี่เหลี่ยมผืนผ้า มี รูป ดอกไม้อยู่ ทั้ง สี่ มุม ส่วน เครื่องหมายการค้า จดทะเบียน ของ จำเลย ตามเอกสาร หมาย จ. 33 เป็น รูป ชาย กับ หญิง พา ยเรือ สวน กัน กลาง น้ำ ซึ่ง มีภาพ ภูเขา 3 ลูก และ เมฆ เป็น ทิวทัศน์อยู่ ภายใน วงกลม และ มีกรอบ สี่เหลี่ยม ล้อม วงกลม นั้น ไว้ อีก ชั้น หนึ่ง ส่วน เครื่องหมายการค้าของ จำเลย ตาม คำขอ จดทะเบียน เอกสาร หมาย จ. 34 ก็ เป็น รูป คน 2 คนพา ยเรือ สวน กัน กลาง น้ำ มี ภูเขา 3 ลูก เป็น ทิวทัศน์อยู่ ภายใน วงกลมด้าน ข้าง ซ้าย และ ขวา ของ วงกลม มีด อก ไม้ วาง เรียง กัน ลง มา ด้าน ละ 3 ดอกและ มี กรอบ สี่เหลี่ยม ล้อม วงกลม ไว้ อีก ชั้น หนึ่ง ภาพ เรือ 2 ลำแล่น สวน กัน ใน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ซ้อน กัน หาก ไม่ สังเกต ให้ ดีจะ ดู คล้าย คน 2 คน นั่ง อยู่ ใน เรือ ลำ เดียว กัน ตำแหน่ง ของ คน ทั้ง สองอยู่ ใน ตำแหน่ง เดียว กับ คน ทั้ง สอง ใน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ทั้ง เมื่อ จำเลย นำ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ดังกล่าว มา ใช้ กับ สินค้าซอส หอยนาง รม ตาม วัตถุ พยาน หมาย จ. 5 จะ เห็น ได้ ชัดเจน ว่า ฉลากเครื่องหมายการค้า ที่ ปิด ข้าง ขวด วัตถุ พยาน หมาย จ. 5 คล้าย กับฉลาก เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ตาม วัตถุ พยาน หมาย จ. 10 อย่างมากกล่าว คือ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย จะ อยู่ ใน กรอบ สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด เท่ากัน กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ จุดเด่น ของ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย คือ คน พา ยเรือ 2 คน ก็ อยู่ ใน กรอบ วงรี เช่นเดียวกันกับ รูป คน พา ยเรือ ใน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ มี ภาพ ทิวทัศน์รวมทั้งรูป เรือใบ 2 ลำ เหมือนกับ ของ โจทก์ ภายใน กรอบ วงรี ด้านซ้าย และ ขวามี รูป ดอกไม้ ด้าน ละ 1 ดอก เหมือนกัน ด้าน บน กรอบ วงรี ของ โจทก์เป็น อักษร ภาษา จีน อ่าน ว่า ลีคุมกี ของ จำเลย เขียน เป็น ภาษา ไทย ว่า ตราลีกัมกี ซึ่ง มี ขนาด ใกล้เคียง กัน ภายใน กรอบ วงรี ด้าน บน มี คำ ว่า LEE KUM KEE เหมือนกัน ด้าน ล่าง กรอบ วงรี ของ โจทก์ มี คำ ว่า OYSTERFLAVORED SAUCE อยู่ ใน กรอบ สี่เหลี่ยม ประดิษฐ์ ส่วน ของ จำเลยเป็น คำ ว่า ซอส หอยนาง รม ซึ่ง มี ความหมาย เหมือนกัน ด้าน ล่าง ของกรอบ วงรี ทั้ง สอง ข้าง มี วงกลม อยู่ ด้าน ละ วง ของ โจทก์ มี อักษร ภาษา จีนอยู่ ใน วงกลม ส่วน ของ จำเลย มี อักษร ภาษา ไทย ว่า “ปริมาตร สุทธิ700 ลูกบาศก์ เซนติเมตร ” ใน วงกลม ด้านซ้าย และ คำ ว่า “ระวัง ของเลียนแบบ ” ใน วงกลม ด้านขวา ที่ มุม ของ กรอบ สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด อก ไม้อยู่ ทั้ง สี่ มุม เหมือนกัน ซึ่ง รายละเอียด ของ เครื่องหมายการค้าของ จำเลย ที่ เหมือน และ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ดังกล่าวจำเลย มิได้ ยื่น ขอ จดทะเบียน ไว้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 33 และ จ. 34แต่อย่างใด ทั้ง สี ใช้ กับ ฉลาก เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ก็ เป็นสี ที่ เหมือน และ คล้าย กับ ของ โจทก์ ใน ทุก ตำแหน่ง ของ รายละเอียด ดังกล่าวเช่น สีแดง สี เหลือง สี ชมพู ทั้ง จำเลย ยัง เน้นรูป ผู้หญิง เป็น สลากเครื่องหมายการค้า ที่ ปิด คอ ขวด ด้าน บน โดย ใช้ สี เสื้อผ้า ด้วย สี ฟ้า เข้มเช่นเดียว กับ ของ โจทก์ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ตาม เอกสาร หมาย จ. 33จ. 34 และ สลาก เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย ตาม วัตถุ พยาน หมาย จ. 5จึง เหมือน และ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ตาม คำขอ จดทะเบียนเลขที่ 169030 ภาพถ่าย สินค้า หมาย จ. 7 และ สลาก เครื่องหมายการค้าหมาย จ. 10 เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ได้ ส่ง ซอส น้ำมัน หอยมา จำหน่าย ใน ประเทศ ไทย 40 ปี เศษ แล้ว และ โจทก์ ได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ที่ เมือง ฮ่องกง เมื่อ ปี 2509 และ ที่ประเทศ อื่น อีก 30 ประเทศ การ ที่ จำเลย เพิ่ง ยื่น คำขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เมื่อ ปี 2529 และ ได้รับ การ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ไว้ อย่างหนึ่ง แต่ เวลา นำ ไป ใช้ กับ สินค้าชนิด เดียว กัน กับ ของ โจทก์ จำเลย ได้ แก้ไข เปลี่ยนแปลง และ เพิ่มเติมรายละเอียด อื่น ลง ไป ให้ เหมือน และ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ย่อม แสดง ให้ เห็น เจตนา ไม่สุจริต ของ จำเลย ที่ จะ เลียน เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ เพื่อ ให้ สาธารณชน สับสน หลงผิด ใน แหล่งกำเนิด ของ สินค้าเมื่อ โจทก์ เป็น เจ้าของ และ ใช้ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ มา ก่อน จำเลยแม้ โจทก์ จะ ยัง มิได้ รับ การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า รูป คน พา ยเรือโจทก์ ก็ เป็น ผู้มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า นั้น และ ใน เครื่องหมายการค้า ที่ เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ดีกว่าจำเลย ผู้ที่ ได้ จดทะเบียน เป็น เจ้าของ โจทก์ ย่อม เป็น ผู้มีส่วนได้เสียและ มีสิทธิ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้า รูป คน พา ยเรือของ จำเลย เลขที่ 109181 และ ให้ จำเลย ถอน คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า รูป คน พา ยเรือ ตาม คำขอ เลขที่ 169504 ได้ ตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) อันเป็น กฎหมาย ที่ ใช้บังคับ อยู่ ใน ขณะ โจทก์ ถูก โต้แย้ง สิทธิ
ปัญหา ต่อไป ตาม ฎีกา ของ โจทก์ มี ว่า โจทก์ มีสิทธิ เรียก ค่าเสียหายจาก จำเลย ตาม ฟ้อง หรือไม่ ข้อ นี้ ปรากฎ ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ เพียง ว่าก่อน ฟ้องคดี นี้ จำเลย ได้ ผลิต และ จำหน่าย ซอส น้ำมัน หอยโดย ใช้เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ทำให้ ยอด จำหน่าย สินค้า ของ โจทก์ ต่ำ ลงและ สินค้า ของ จำเลย ได้ ทำลาย ชื่อเสียง เกียรติคุณ เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย เดือน ละ 50,000 บาทดังนี้ เมื่อ ปรากฎ ว่า เครื่องหมายการค้า รูป คน พา ยเรือ ของ โจทก์ยัง ไม่ได้ รับ การ จดทะเบียน สำหรับ สินค้า จำพวก ที่ 42 รายการ สินค้าซอส น้ำมัน หอย โจทก์ จึง เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า ที่ ไม่ได้จดทะเบียน ไม่อาจ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย ใน การ ล่วงละเมิด สิทธิใน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ได้ ตาม พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และ โจทก์ ไม่ได้ บรรยายฟ้อง ให้ ปรากฎ ว่าจำเลย ทำการ ลวง ขาย สินค้า ของ จำเลย ว่า เป็น สินค้า ของ โจทก์ ตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติ เดียว กัน อันเป็น บท กฎหมายที่ ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะ เกิด ข้อพิพาท โจทก์ จึง ไม่อาจ เรียก ค่าเสียหายรายเดือน นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลย จะ เลิก กระทำ ละเมิด ตาม ฟ้อง ได้
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ เพิกถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้าเลขที่ 109181 ให้ จำเลย ถอน คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าเลขที่ 169504 หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทนการแสดง เจตนา ของ จำเลย และ ให้ยก คำขอ ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหายรายเดือน แก่ โจทก์