แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ระเบียบพนักงานบริษัทขนส่งจำกัดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงมีผลใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างเมื่อตามระเบียบฯให้สิทธิแก่ลูกจ้างผู้ถูกลงโทษอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์ก็เท่ากับนายจ้างยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์แม้ระเบียบจะมิได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ให้มีผลผูกมัดนายจ้างก็ตาม. จำเลยมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่งจำกัดของจำเลยแล้วดังนี้เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษของจำเลยจำเลยต้องผูกพันปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟ้อง ขอ ให้ ศาล พิพากษา ให้ เพิกถอน คำสั่งของ จำเลย ที่ ไล่ โจทก์ ออก จาก งาน และ ให้ จำเลย ปฏิบัติ ตาม คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ อุทธรณ์ ด้วย การ รับ โจทก์ ทั้ง สอง กลับเข้า ทำงาน ตาม เดิม โดย ลงโทษ เพียง ลด ขั้น เงินเดือน และ นับ อายุการ ทำงาน ต่อเนื่อง กัน
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ กระทำ ผิด วินัย อย่าง ร้ายแรง จึง ได้ ไล่โจทก์ ออก จาก งาน คณะกรรมการ อุทธรณ์ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ขัด ต่อพยาน หลักฐาน และ กำหนด โทษ ขัด ต่อ ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลยจำเลย จึง มี คำสั่ง ยืนยัน ลงโทษ โจทก์ ทั้ง สอง ตาม คำสั่ง เดิมการ กระทำ ของ จำเลย เป็น การ กระทำ โดย ชอบ แล้ว ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ได้ความ เป็น ยุติว่า โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย ทำ หน้าที่เป็น พนักงาน ขับรถ โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน กับ พวก ฝ่าฝืน ระเบียบของ จำเลย โดย ละทิ้ง หน้าที่ และ ยินยอม ให้ บุคคล ภายนอก ปฏิบัติหน้าที่ เป็น พนักงาน ขับรถ แทน ทำ ให้ รถ เกิด อุบัติเหตุ เป็น เหตุให้ บุคคล อื่น ได้ รับ บาดเจ็บ และ ถึง แก่ ความตาย จำเลย จึง แต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวน ความผิด ของ โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ใน ที่สุด จำเลยลงโทษ ไล่ โจทก์ ทั้ง สอง ออก จาก งาน ตาม คำสั่ง ที่ 994/2527 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2527 โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ คำสั่ง ต่อ คณะกรรมการอุทธรณ์ ของ จำเลย ตาม ระเบียบ พนักงาน ขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2522คณะกรรมการ อุทธรณ์ พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ให้ รับ โจทก์ ทั้ง สองกลับ เข้า ทำงาน ตาม เดิม โดย ให้ ลงโทษ เพียง ลด ขั้น เงินเดือน 1ขั้น แต่ ผู้จัดการ ของ จำเลย ไม่ เห็นชอบ ด้วย จึง มี คำสั่ง ยืนยันลงโทษ โจทก์ ตาม คำสั่ง เดิม และ แจ้ง มติ คำ วินิจฉัย ไป ยัง โจทก์เมื่อ วันที่ 5 ตุลาคม 2528 ปัญหา ว่า กรณี ที่ คณะกรรมการ อุทธรณ์วินิจฉัย เปลี่ยนแปลง คำสั่ง ลงโทษ ของ จำเลย จำเลย ผูกพัน ต้อง ปฏิบัติตาม คำ วินิจฉัย ของ คณะกรรมการ อุทธรณ์ หรือ ไม่ เห็น ว่า ระเบียบพนักงาน บริษัท ขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2522 เป็น ข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพ การ จ้าง จึง มี ผล ใช้ บังคับ แก่ นายจ้าง และ ลูกจ้าง ตามระเบียบ ดังกล่าว ซึ่ง กำหนด ไว้ ใน หมวด 9 การ อุทธรณ์ ข้อ 95 ที่ ระบุว่า ‘ผู้ ถูก ลงโทษ อาจ อุทธรณ์ คำสั่ง ลงโทษ โดย ทำ เป็น หนังสือลง ลายมือชื่อ ของ ผู้ อุทธรณ์ แสดง พยาน หลักฐาน และ เหตุผล ที่ ยื่นต่อ คณะกรรมการ อุทธรณ์ ภายใน หก สิบ วัน จาก วัน ทราบ คำสั่ง คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ อุทธรณ์ ให้ เป็น ที่สุด คณะกรรมการ อุทธรณ์ให้ แต่งตั้ง โดย ประธานกรรมการ หรือ ผู้จัดการ แล้วแต่ กรณี’ นั้นเป็น บท กำหนด คุ้มครอง ลูกจ้าง ผู้ ถูก ลงโทษ ให้ ได้ รับ ความเป็นธรรม ยิ่งขึ้น โดย ให้ ลูกจ้าง ผู้ ถูก ลงโทษ มี สิทธิ อุทธรณ์คำสั่ง ลงโทษ ไป ยัง คณะกรรมการ อุทธรณ์ ได้ ใน กรณี ที่ เห็น ว่า ตนไม่ ได้ รับ ความ เป็นธรรม แม้ ตาม ระเบียบ จะ มิได้ กำหนด ไว้ ชัดแจ้งว่า คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ อุทธรณ์ ให้ มี ผล ผูกมัด จำเลย หรือจำเลย ต้อง ปฏิบัติ ตาม ก็ ตาม แต่ การ ที่ จำเลย กำหนด ให้ ลูกจ้างมี สิทธิ อุทธรณ์ คำสั่ง ลงโทษ ไป ยัง คณะกรรมการ อุทธรณ์ ซึ่ง แต่งตั้งขึ้น โดย ประธาน กรรมการ หรือ ผู้จัดการ ของ จำเลย นั้น เห็น ได้ใน ตัว ว่า ถ้า คณะกรรมการ อุทธรณ์ วินิจฉัย เปลี่ยนแปลง คำสั่ง ลงโทษ ของ จำเลย เป็น ประการ ใด แล้ว จำเลย ยอมรับ ที่ จะ ปฏิบัติ ตามคำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ อุทธรณ์ มิฉะนั้น ข้อกำหนด ดังกล่าว ก็ ไม่มี ประโยชน์ แต่ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง และ ไม่ มี ความ จำเป็น ที่ จะ ต้องกำหนด ไว้ จริง อยู่ อำนาจ การ ลงโทษ พนักงาน หรือ ลูกจ้าง นั้น เป็นอำนาจ โดย เด็ดขาด ของ ผู้จัดการ แต่ ผู้เดียว ดัง ที่ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย ไม่ ใช่ อำนาจ ของ คณะกรรมการ อุทธรณ์ แต่ การ ปฏิบัติ งานหรือ การ สั่ง ลงโทษ ของ ผู้จัดการ ก็ ต้อง อยู่ ภายใต้ บังคับ ของระเบียบ ฉบับนี้ เช่นเดียว กัน ผู้จัดการ หา มี อำนาจ ลงโทษ พนักงานหรือ ลูกจ้าง ตาม ความ พอใจ ของตน ได้ ไม่ เมื่อ ระเบียบ ของ จำเลยกำหนด วิธี การ ลงโทษ และ วิธี การ อุทธรณ์ เป็น ขั้นตอน ไว้ และลูกจ้าง ได้ ปฏิบัติ ตาม ขั้นตอน แล้ว จำเลย ผูกพัน ต้อง ปฏิบัติ ไป ตามระเบียบ ที่ กำหนด ไว้ ศาลฎีกา จึง เห็น ว่า จำเลย ผูกพัน ต้อง ปฏิบัติตาม คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ อุทธรณ์ เมื่อ คณะกรรมการ อุทธรณ์วินิจฉัย ให้ รับ โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน กลับ เข้า ทำงาน ตาม เดิม โดยให้ ลงโทษ เพียง ลด ขั้น เงินเดือน คนละ 1 ขั้น การ ที่ จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม เป็น การ ไม่ชอบ ด้วย ระเบียบ คำสั่ง ของ จำเลย ที่994/2527 ลง วันที่ 6 ธันวาคม 2527 และ หนังสือ แจ้ง มติ หรือ คำวินิจฉัย ของ จำเลย ลง วันที่ 5 ตุลาคม 2528 เป็น คำสั่ง และ หนังสือไม่ ชอบ ไม่ มี ผล ใช้ บังคับ ศาลฎีกา ต้อง เพิกถอน อุทธรณ์ ของโจทก์ ฟัง ขึ้น
พิพากษา กลับ ให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 994/2527 ลง วันที่6 ธันวาคม 2527 และ หนังสือ แจ้งมติ หรือ คำ วินิจฉัย ของ จำเลย ฉบับลง วันที่ 5 ตุลาคม 2528 โดย ให้ จำเลย มี สิทธิ ลงโทษ โจทก์ ทั้ง สองสำนวน ด้วย การ ลด ขึ้น เงินเดือน 1 ขั้น ให้ จำเลย รับ โจทก์ ทั้ง สองสำนวน กลับ เข้า ทำงาน ตามเดิม และ นับ อายุ การ ทำงาน จาก อายุ การทำงาน เดิม