แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
พระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522มาตรา62วรรคหนึ่งบัญญัติว่า”สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุเจ็ดปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร”จำเลยได้ขอรับสิทธิบัตรตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เลขที่71และ64เมื่อวันที่5มิถุนายน2524และเลขที่73เมื่อวันที่28ตุลาคม2524สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยจึงสิ้นสุดอายุลงตั้งแต่วันที่5มิถุนายน2531และวันที่28ตุลาคม2531ตามลำดับแล้วตามมาตราดังกล่าวซึ่งเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการออกสิทธิบัตรทั้งสามฉบับให้แก่จำเลยแบบผลิตภัณฑ์เม็ดยาตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522ภายหลังจากนั้นอีกต่อไปเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยไม่สมบูรณ์และขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรนั้นแต่ขณะนี้ปรากฏว่าสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยสิ้นอายุไปแล้วคดีจึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาฎีกาของโจทก์ทั้งสองต่อไปชอบที่ศาลฎีกาจะจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้จำหน่าย และ โจทก์ ที่ 2 เป็นผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ ยา จำเลย เป็น นิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัด ตามกฎหมาย แห่งประเทศ สหราชอาณาจักร เมื่อ ประมาณ ปี 2524 จำเลย ยื่นคำขอ รับ สิทธิบัตร การ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ เม็ด ยา ต่อ กอง สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ จำนวน 3 คำขอคือ คำขอ เลขที่ 000493 รูปร่าง ลักษณะ เป็น รูป กลม นูน บน เม็ด ยา รูป กลมคำขอ เลขที่ 000494 รูปร่าง ลักษณะ เป็น รูป กลม นูน บน เม็ด ยา รูป เหลี่ยมและ คำขอ เลขที่ 000648 รูปร่าง ลักษณะ เป็น รูป ดาว นูน บน เม็ด ยา รูป กลมโดย อ้างว่า จำเลย ได้รับ โอนสิทธิ จาก นาย ยีออฟฟรีย์ เดวิด โทวี่ย์ ผู้ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ได้ ออก สิทธิบัตร การ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ เม็ด ยา ดังกล่าว ให้ จำเลย ตามสิทธิบัตร เลขที่ 71, 64, 73 ตามลำดับ ซึ่ง เป็น การ ออก สิทธิบัตรให้ โดย ไม่ ขอบ ด้วย พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56, 57,48, และ 65 เพราะ แบบ ผลิตภัณฑ์ ที่ จำเลย ยื่น คำขอ รับ สิทธิบัตร ไม่ใช่แบบ ผลิตภัณฑ์ ใหม่ แต่ ได้ มี หรือ ใช้ แพร่หลาย อยู่ แล้ว ทั้ง ใน และนอก ราชอาณาจักร ตลอดจน ได้ มี การ เปิดเผย ภาพ สาระสำคัญ รายละเอียดใน เอกสาร หรือ สิ่ง พิมพ์ ที่ ได้ แพร่หลาย อยู่ แล้ว ทั้ง ใน และ นอกราชอาณาจักร ก่อน วัน ขอรับ สิทธิบัตร และ ไม่มี ลักษณะ พิเศษ อีก ด้วยอีก ทั้ง ปรากฎ ว่า บุคคลภายนอก รวมทั้ง โจทก์ ได้ ผลิต และ จำหน่าย เม็ด ยารูป ลักษณะ ดังกล่าว โดย ทั่วไป จน แพร่หลาย อยู่ แล้ว ใน ราชอาณาจักร ก่อนวัน ขอรับ สิทธิบัตร สิทธิบัตร ดังกล่าว จึง ไม่สมบูรณ์ จำเลย ไม่อาจอ้าง สิทธิ แต่ ผู้เดียว ใน แบบ ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว และ กัน ไม่ให้ ผู้อื่นผลิต หรือ จำหน่าย ยา ใน รูป แบบ ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว ขอให้ พิพากษา ว่าสิทธิบัตร ใน ผลิตภัณฑ์ เม็ด ยา (ที่ ถูก คือ สิทธิบัตร การ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ )ตาม สิทธิบัตร เลขที่ 64, 71 และ 73 ไม่สมบูรณ์ และ เพิกถอนสิทธิบัตร ดังกล่าว
จำเลย ให้การ ว่า ไม่มี ภูมิลำเนา ใน ประเทศ ไทย จำเลย ได้รับสิทธิบัตร แบบ ผลิตภัณฑ์ (ที่ ถูก คือ สิทธิบัตร การ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ )เลขที่ 64, 71 และ 73 โดยชอบ ด้วย กฎหมาย แบบ ผลิตภัณฑ์ เม็ด ยา ตามคำขอ รับ สิทธิบัตร ของ จำเลย เป็น แบบ ผลิตภัณฑ์ ใหม่ เพื่อ อุตสาหกรรมมิได้ มี หรือ ใช้ แพร่หลาย อยู่ แล้ว ทั้ง ใน และ นอก อาณาจักร ตลอด ทั้งมิได้ มี การ เปิดเผย ภาพ สาระสำคัญ รายละเอียด ใน เอกสาร หรือ สิ่ง พิมพ์ใด ๆ ที่ ได้ เผยแพร่ อยู่ แล้ว ทั้ง ใน และ นอก ราชอาณาจักร ก่อน วัน ขอรับสิทธิบัตร และ ไม่เคย มี บุคคล ใด ผลิต และ จำหน่าย เม็ด ยา ตาม แบบ ผลิตภัณฑ์ของ จำเลย จน แพร่หลาย ใน ราชอาณาจักร ก่อน จำเลย ยื่น คำขอ รับ สิทธิบัตรแบบ ผลิตภัณฑ์ เม็ด ยา ตาม คำขอ รับ สิทธิบัตร ทั้ง สาม คำขอ ได้ ผ่าน การพิจารณา และ ตรวจสอบ อย่าง ละเอียด โดย เจ้าหน้าที่ กอง สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า แล้ว ว่า เป็น แบบ ผลิตภัณฑ์ ใหม่ จึง ออก สิทธิบัตรให้ แก่ จำเลย โดยชอบ ด้วย พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา62 วรรคหนึ่ง บัญญัติ ว่า “สิทธิบัตร การ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ ให้ มีอายุ เจ็ด ปี นับแต่ วัน ขอรับ สิทธิบัตร ” เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็นยุติ ว่า จำเลย ได้ ขอรับ สิทธิบัตร ตาม สิทธิบัตร การ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์เลขที่ 71 และ 64 เมื่อ วันที่ 5 มิถุนายน 2524 และ เลขที่ 73เมื่อ วันที่ 28 ตุลาคม 2524 สิทธิบัตร การ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวของ จำเลย จึง สิ้น อายุ ลง ตั้งแต่ วันที่ 5 มิถุนายน 2531 และ วันที่28 ตุลาคม 2531 ตามลำดับ แล้ว ตาม มาตรา ดังกล่าว ซึ่ง เป็น บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะที่ มี การ ออก สิทธิบัตร ทั้ง สาม ฉบับให้ แก่ จำเลย แบบ ผลิตภัณฑ์ เม็ด ยา ตาม สิทธิบัตร การ ออก แบบพิมพ์ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว ของ จำเลย จึง มิได้ รับ ความคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ภายหลัง จาก นั้น อีก ต่อไป เมื่อ โจทก์ ฟ้องขอให้ ศาล พิพากษา ว่า สิทธิบัตร การ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว ของ จำเลยไม่สมบูรณ์ และ ขอให้ เพิกถอน สิทธิบัตร นั้น แต่ ขณะ นี้ ปรากฏว่าสิทธิบัตร การ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว ของ จำเลย สิ้น อายุ ไป แล้ว คดีจึง ไม่มี ประโยชน์ ที่ ศาลฎีกา จะ พิจารณา ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สอง ต่อไป
ให้ จำหน่ายคดี เสีย จาก สารบบความ ของ ศาลฎีกา ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกา ให้ เป็น พับ