แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ใครเป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ท้องที่ใดมีอำนาจรับจดทะเบียนต้นขั้วจดรายงานการจำนองเรือของอำเภอเป็นการจดทะเบียนการจำนองการจำนองเรือกรมการจำเลยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่กรมเจ้าท่าการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องจดทะเบียนในท้องที่ที่
ย่อยาว
ได้ความว่าเรือรายพิพาทเดิมเป็นของ ช. ๆ ได้จำนองแก่โจทก์แล้วจึงโอนขายให้แก่จำเลย บัดนี้โจทก์ฟ้องบังคับจำนอง
ในการจำนองนั้นได้ความว่าโจทก์แล ช.มีภูมิลำเนาในอำเภออื่น แต่ทำจำนองกันที่อำเภอสัมพันธวงศ์ ในต้นขั้วของอำเภอจดไว้ว่านายอำเภอได้ตรวจอ่านข้อความในสัญญาจำนองแล้วเห็นว่าทำกันโดยสุจริต จึงได้จดวันเดือนปีลงจดหมายรูปพรรณและลงชื่อคู่สัญญาทั้งมีสำเนาสัญญาจำนองผนึกไว้ด้วย อนึ่งเรือลำนี้ได้จดทะเบียนไว้ที่กรมเจ้าท่า
ศาลคดีต่างประเทศพิพากษาว่าการจำนองสมบูรณ์ ให้จำเลยส่งเรือให้โจทก์เพื่อขายทอดตลาด
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำดังกล่าวข้างต้นไม่มีการจดทะเบียนการจำนองและอำเภอสัมพันธวงศ์ไม่ใช่ท้องที่ ๆ จะรับจดทะเบียนได้ทั้งเห็นว่าเรื่องการจำนองเรือเป็นหน้าที่ของพนักงานกรมเจ้าท่า ไม่ใช่อยู่ในหน้าที่ของกรมการอำเภอ จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ อนึ่งหลวงธรรมนูญ ผู้พิพากษาอุทธรณ์ซึ่งเป็นผู้เรียงคำพิพากษานั้น เคยเป็นเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ของ ช.และเคยสั่งในการพิศูจน์หนี้เกี่ยวกับสัญญาจำนองเรือรายนี้ว่าสัญญาจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในการพิจารณาชั้นศาลอุทธรณ์มีการออกนั่งฟังแถลงคารมและหลวงธรรมนูญ ฯ ก็ออกนั่งพิจารณาด้วย แต่โจทก์ไม่คัดค้าน พึ่งคัดค้านในฎีกาว่าหลวงธรรมนูญ ฯ ไม่มีอำนาจนั่งพิจารณา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่คัดค้านผู้พิพากษาเสียในชั้นต้น จะมาคัดค้านในชั้นนี้ไม่ได้
ในเรื่องจำนองนั้นเห็นว่ากรมการอำเภอเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่โดย พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ ๒๔๕๗ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยระเบียบราชการบริหาร และไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการจดทะเบียนจะต้องทำต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นใด ทั้งกฎหมายอื่นเช่นการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ว่าต้องจดทะเบียนในท้องที่ ๆ ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ฉะนั้นการจำนองเรือรายนี้ได้จดทะเบียนในท้องที่ ๆ โจทก์ตั้งร้านค้าขายจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย จึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ข้ออื่นของคู่ความต่อไป