คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยที่5โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่1มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมายล.8ซึ่งจำเลยที่5ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่1และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่ กรมธนารักษ์แจ้งมาและโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่5ไกล่เกลี่ยแม้จำเลยที่1ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5แล้วดังนั้นจำเลยที่1และที่5จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา375 แม้จะได้ความว่าจำเลยที่2และที่3เป็นบุตรของ ว.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ย่อมจะรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่1และจำเลยที่5อันจะถือได้ว่าจำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่5โดยไม่สุจริตก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่4จำเลยที่4ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่4รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตแต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่4ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมาซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่4ไม่สุจริตด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่4กับจำเลยที่5ได้ สัญญาระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่5เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่1และที่5แล้วการที่จำเลยที่1และที่5ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่1และที่5จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองแต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่1เท่านั้นจึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องสำหรับจำเลยที่2และที่3นั้นมิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองส่วนจำเลยที่4นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เดิม โจทก์ ทั้ง สอง ทำ สัญญาเช่า อาคารพาณิชย์ ห้องแถว ไม้ 2 ชั้น จาก จำเลย ที่ 5 ห้อง เลขที่ 154 และ 152ถนน สุรสงคราม ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัด ลพบุรี ซึ่ง ปลูก อยู่ ใน ที่ดิน ราชพัสดุ โฉนด เลขที่ 3870 และ 6527 ตำบล ท่าดิน อำเภอ เมืองลพบุรี จังหวัด ลพบุรี จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 ทำ สัญญา ตกลง กัน ให้ จำเลย ที่ 1 รื้อถอน อาคาร ต่าง ๆ ที่ ปลูก อยู่ ใน ที่ดินราชพัสดุ ดังกล่าว แล้ว ก่อสร้าง อาคารพาณิชย์ และ ตลาดสด ขึ้น ใหม่ ทั้งนี้จำเลย ที่ 5 มีสิทธิ เรียกเก็บเงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง จาก ผู้เช่าเดิมได้ไม่ เกิน คู หา ละ 80,000 บาท และ จำเลย ที่ 1 มีสิทธิ เรียกเงินช่วย ค่าก่อสร้าง จาก บุคคลอื่น ได้ไม่ เกิน คู หา ละ 150,000 บาท ซึ่ง เป็นสัญญา เพื่อ ประโยชน์ บุคคลภายนอก โจทก์ ทั้ง สอง ได้ แสดง เจตนารับ สิทธิ การ เช่า อาคารพาณิชย์ ดังกล่าว จาก จำเลย ที่ 5 แล้ว โดยโจทก์ ที่ 1 มีสิทธิ การ เช่า อาคารพาณิชย์ ใน ล็อก อี คู หา ที่ 19ส่วน โจทก์ ที่ 2 มีสิทธิ การ เช่า อาคารพาณิชย์ ใน ล็อก อี คู หา ที่ 20แต่ จำเลย ที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ตาม สัญญา ดังกล่าว กลับ เรียกเงิน ช่วยค่าก่อสร้าง จาก โจทก์ ทั้ง สอง คู หา ละ 360,000 บาท โจทก์ ทั้ง สองจึง ร้องเรียน ต่อ จำเลย ที่ 5 ใน ที่สุด จำเลย ที่ 5 มี หนังสือ แจ้ง ให้โจทก์ ทั้ง สอง ทราบ ว่า จำเลย ที่ 1 มีสิทธิ ที่ จะ เรียกเงิน ช่วยค่าก่อสร้าง จาก โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ตาม สัญญา ที่ ทำ ไว้ กับ จำเลย ที่ 5เท่านั้น ต่อมา จำเลย ที่ 5 กลับ มี หนังสือ เรียก โจทก์ ทั้ง สอง ไป ตกลงเกี่ยวกับ เงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง ใน ที่สุด กำหนด ให้ โจทก์ ทั้ง สองออก เงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 เป็น เงิน 270,000 บาท และ260,000 บาท ตามลำดับ ซึ่ง สูง กว่า สัญญา ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5ทำ กัน ไว้ ดังกล่าว แต่ โจทก์ ทั้ง สอง ก็ ตกลง ยินยอม ด้วย โดย เหตุที่ จำเลย ที่ 1 ต้องการ นำ สิทธิ การ เช่า อาคารพาณิชย์ ของ โจทก์ทั้ง สอง ไป ให้ บุคคลอื่น เช่า ซึ่ง จะ ได้ ผลประโยชน์ ตอบแทน สูง มาก เพราะอาคารพาณิชย์ ดังกล่าว อยู่ ใน ทำเลการค้า จำเลย ที่ 1 จึง ทำ ทุก วิถีทางที่ จะ มิให้ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ สิทธิ การ เช่า อาคารพาณิชย์ ดังกล่าว โดยเรียกร้อง เงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง จาก โจทก์ ทั้ง สอง ถึง คู หา ละ1,500,000 บาท โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ยินยอม จำเลย ที่ 1 จึง โอนสิทธิการ เช่า อาคารพาณิชย์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ไป ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ซึ่ง เป็น ญาติ กับ นาย วิบูลย์ ผู้พัฒน์ หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ จำเลย ที่ 1 ทั้งนี้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ทราบ ดี อยู่ ว่า โจทก์ ทั้ง สองเป็น ผู้มีสิทธิ การ เช่า อาคารพาณิชย์ ตาม สัญญา ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5ทำ กัน ไว้ อันเป็น การ ฉ้อฉล โจทก์ ทั้ง สอง และ เพื่อ ให้การ ฉ้อฉล สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จึง โอนสิทธิ การ เช่า อาคารพาณิชย์ของ โจทก์ ทั้ง สอง ไป ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 ซึ่ง จำเลย ที่ 4 ทราบ ดี ว่าสิทธิ การ เช่า อาคารพาณิชย์ ทั้ง สอง คู หา เป็น ของ โจทก์ ทั้ง สองการกระทำ ดังกล่าว เป็น การกระทำ โดย ไม่สุจริต ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ที่ ไม่อาจ เข้า ไป ทำประโยชน์ ใน อาคารพาณิชย์ทั้ง สอง คู หา ได้ เป็น เวลา 2 ปี เศษ คิด เป็น ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ ทั้ง สองได้รับ คน ละ 300,000 บาท จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 ต้อง ร่วมกัน รับผิด ต่อโจทก์ ทั้ง สอง ขอให้ เพิกถอน สัญญาเช่า อาคารพาณิชย์ คู หา ที่ 19 และที่ 20 ที่ ทำ ขึ้น ระหว่าง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 กับ จำเลย ที่ 5และ ระหว่าง จำเลย ที่ 4 กับ จำเลย ที่ 5 โดย ให้ จำเลย ที่ 5 ทำ สัญญาเช่า อาคารพาณิชย์ คู หา ที่ 19 และ ที่ 20 กับ โจทก์ ทั้ง สอง ทั้งนี้ ให้จำเลย ที่ 1 รับ เงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง จาก โจทก์ ทั้ง สอง จำนวน 270,000 บาทและ 260,000 บาท ตามลำดับ และ ขอให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4ใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง คน ละ 300,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 ทำ สัญญา ต่อ กันไว้ จริง ตาม ฟ้องโจทก์ แต่ ต่อมา จน ถึง กลาง ปี 2530 จำเลย ที่ 5จึง รื้อถอน อาคารพาณิชย์ เดิม ได้ ทั้งนี้ เนื่องจาก ผู้เช่าเดิม รวมทั้งโจทก์ ทั้ง สอง ไม่ยอม ออกจาก อาคารพาณิชย์ เดิม จำเลย ที่ 5 ต้องฟ้องขับไล่ โจทก์ ทั้ง สอง จึง ยอม ออกจาก อาคารพาณิชย์ เดิม จำเลย ที่ 5แจ้ง ให้ จำเลย ที่ 1 เข้า ทำการ ก่อสร้าง อาคารพาณิชย์ ได้ แต่ เนื่องจากระยะเวลา นับ ตั้งแต่ วัน ทำ สัญญา จน ถึง วันที่ จำเลย ที่ 1 เริ่ม ทำการก่อสร้าง อาคารพาณิชย์ ห่าง กัน ถึง 15 ปี ทำให้ วัสดุ อุปกรณ์ ใน การก่อสร้าง มี ราคา สูง ขึ้น จำเลย ที่ 1 จึง ไม่อาจ ที่ จะ ปฏิบัติ ตาม ข้อตกลงเกี่ยวกับ กำหนด จำนวนเงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง เดิม ได้ จำเลย ที่ 1 ขอให้จำเลย ที่ 5 แก้ไข ข้อกำหนด เกี่ยวกับ เงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง ใหม่และ ตกลง ให้ โจทก์ ทั้ง สอง จ่ายเงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง จำนวน 318,338 บาทและ 309,098 บาท ตามลำดับ ตาม บันทึก ต่อ ท้าย สัญญา เมื่อ วันที่14 พฤศจิกายน 2531 แต่ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ ตกลง โดย โจทก์ ทั้ง สอง เสนอเงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง เพียง จำนวน 270,000 บาท และ 260,000 บาทจำเลย ที่ 1 จึง แจ้ง ให้ จำเลย ที่ 5 ทราบ จำเลย ที่ 5 มี หนังสือบอกกล่าว ให้ โจทก์ ทั้ง สอง มา ตกลง ทำ สัญญาเช่า และ ชำระ เงินช่วย ค่าก่อสร้าง ตาม บันทึก ต่อ ท้าย สัญญา แล้ว แต่ โจทก์ ทั้ง สอง เพิกเฉยจำเลย ที่ 5 จึง เพิกถอน สิทธิ การ เช่า อาคารพาณิชย์ ของ โจทก์ทั้ง สอง แล้ว โอนสิทธิ การ เช่า ให้ แก่ บุคคลอื่น การ โอนสิทธิ การ เช่าดังกล่าว เป็น การกระทำ ของ จำเลย ที่ 5 ไม่เกี่ยว ข้อง กับ จำเลย ที่ 1โจทก์ ทั้ง สอง จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง บังคับ จำเลย ที่ 1 ได้ ส่วน ค่าเสียหายที่ โจทก์ ทั้ง สอง เรียก มา ก็ มิได้ บรรยาย ให้ ชัดแจ้ง จึง เป็น ฟ้องเคลือบคลุม ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ทำ สัญญาเช่า อาคารพาณิชย์ จาก จำเลย ที่ 5 โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทนทั้งนี้ จำเลย ที่ 5 แจ้ง ให้ ทราบ ว่า ได้ เพิกถอน สิทธิ การ เช่าอาคารพาณิชย์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง แล้ว การ ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3โอนสิทธิ การ เช่า อาคารพาณิชย์ ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 ก็ กระทำการ โดยสุจริตเช่นกัน จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 มิได้ ร่วมกัน ฉ้อฉล โจทก์ ทั้ง สอง โจทก์ทั้ง สอง ไม่เสีย หาย จริง ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 5 ให้การ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ทำ สัญญาเช่า อาคารพาณิชย์ ห้อง เลขที่ 154 และ 152 จาก จำเลย ที่ 5 ทำ สัญญาเช่าครั้ง ละ 1 ปี สัญญาเช่า ฉบับ สุดท้าย ครบ กำหนด ใน วันที่ 30 ธันวาคม 2529เมื่อ วันที่ 20 กันยายน 2515 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 ทำ สัญญา ตกลง ให้จำเลย ที่ 1 ก่อสร้าง อาคารพาณิชย์ และ ตลาดสด ใน ที่ดิน ราชพัสดุตาม ฟ้องโจทก์ จริง จำเลย ที่ 1 ทำการ ก่อสร้าง อาคารพาณิชย์เสร็จ แล้ว จำนวน 124 คู หา คงเหลือ อีก เพียง 25 คู หา ที่ ยังก่อสร้าง ไม่ได้ เนื่องจาก โจทก์ ทั้ง สอง และ ผู้เช่า อื่น ไม่ยอม ขนย้ายออกจาก อาคารพาณิชย์ เดิม ที่ ต้อง รื้อถอน จำเลย ที่ 5 จึง ส่งมอบ พื้นที่ให้ จำเลย ที่ 1 ก่อสร้าง อาคารพาณิชย์ ส่วน นี้ ไม่ได้ ต้อง ขยาย ระยะเวลาการ ก่อสร้าง ให้ จำเลย ที่ 1 เรื่อย มา เมื่อ วันที่ 5 มีนาคม 2530โจทก์ ทั้ง สอง ทำ บันทึก ตกลง ยอม ขนย้าย ออกจาก อาคารพาณิชย์ เดิมไป อยู่ ใน อาคารพาณิชย์ ที่ จะ ก่อสร้าง ใหม่ ที่ อาคาร ล็อก อี คู หา ที่ 19 และ ที่ 20 ตามลำดับ แต่ โจทก์ ทั้ง สอง ก็ ไม่ยอม ขนย้ายใน ที่สุด จำเลย ที่ 5 จะ ฟ้องขับไล่ โจทก์ ทั้ง สอง ออกจาก อาคารพาณิชย์เดิม โจทก์ ทั้ง สอง จึง ยอม ออก ไป เนื่องจาก ค่า วัสดุ ก่อสร้าง สูง ขึ้นโจทก์ ทั้ง สอง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 จึง ประชุม เจรจา เกี่ยวกับเรื่อง เงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง อาคารพาณิชย์ กัน ใหม่ ตาม ที่ โจทก์ ทั้ง สองไป ร้องเรียน แต่ ตกลง กัน ไม่ได้ ใน ที่สุด เมื่อ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2531จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 ตกลง ปรับ เงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง ที่ โจทก์ ทั้ง สองจะ ชำระ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 เป็น เงิน 318,338 บาท และ 309,098 บาทตามลำดับ จำเลย ที่ 5 มี หนังสือ แจ้ง ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ทราบ และ กำหนดให้ โจทก์ ทั้ง สอง นำ เงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง ไป ชำระ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1แล้ว แต่ โจทก์ ทั้ง สอง เพิกเฉย จึง ถือว่า โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ประสงค์ที่ จะ เช่า อาคารพาณิชย์ อีก ต่อไป จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 จึง มีสิทธิที่ จะ นำ อาคารพาณิชย์ ดังกล่าว ไป ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 หรือ ที่ 4หรือ บุคคลอื่น เช่า ต่อไป ได้ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5ทำ สัญญา ตกลง กัน ให้ จำเลย ที่ 1 ก่อสร้าง อาคารพาณิชย์ และ ตลาดสดใน ที่ดิน ราชพัสดุ แล้ว ให้ อาคารพาณิชย์ และ ตลาด สด ตกเป็น กรรมสิทธิ์ของ กระทรวงการคลัง โดย จำเลย ที่ 1 มีสิทธิ เรียกเก็บเงิน ช่วยค่าก่อสร้าง จาก ผู้เช่า อาคารพาณิชย์ เดิม ที่ จะ ต้อง ถูก รื้อถอน ได้ไม่เกิน คู หา ละ 80,000 บาท ทั้งนี้ รวมทั้ง ค่า ติด ตั้ง ไฟฟ้า และ ประปาภายใน อาคาร เสร็จ แต่ ไม่รวม มาตรวัดน้ำ และ ไฟฟ้า นอกจาก ผู้เช่าเดิม แล้ว หาก เป็น บุคคลอื่น ให้ เรียกเก็บเงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง ได้ คู หา ละไม่เกิน 150,000 บาท ผู้เช่า จะ ต้อง มา ทำ สัญญาเช่า กับ จำเลย ที่ 5โจทก์ ทั้ง สอง เป็น ผู้เช่าเดิม หลังจาก จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญา ดังกล่าวกับ จำเลย ที่ 5 แล้ว จำเลย ที่ 1 ก่อสร้าง อาคารพาณิชย์ และ ตลาด สดแล้ว เสร็จ คงเหลือ อาคารพาณิชย์ อีก 34 คู หา ยัง มิได้ ก่อสร้างเนื่องจาก ผู้เช่าเดิม รวมทั้ง โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ยอม ย้าย ออก จำเลย ที่ 5เตรียม ฟ้องขับไล่ โจทก์ ทั้ง สอง และ ผู้เช่าเดิม โจทก์ ทั้ง สอง และผู้เช่าเดิม จึง ยอม ย้าย ออก เมื่อ กลาง ปี 2530 จำเลย ที่ 5 รื้อถอนอาคารพาณิชย์ เดิม แล้ว ส่งมอบ พื้นที่ แก่ จำเลย ที่ 1 เพื่อ ก่อสร้างวันที่ 12 ธันวาคม 2530 โจทก์ ทั้ง สอง ทำ หนังสือ ขอ ความเป็นธรรมต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัด ลพบุรี อ้างว่า จำเลย ที่ 1 เรียกเงิน ช่วยค่าก่อสร้าง คู หา ละ 360,000 บาท ต่อมา วันที่ 13 กรกฎาคม 2531จำเลย ที่ 5 โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย ที่ 1 มา เจรจา ตกลง กัน โจทก์ทั้ง สอง ยอม เสีย เงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง อาคารพาณิชย์ คู หา ที่ 19 และ ที่ 20เป็น เงิน 270,000 บาท และ 260,000 บาท ตามลำดับ ตาม บันทึกเอกสาร หมาย ล. 8 แต่ จำเลย ที่ 1 ไม่ยินยอม ต่อมา วันที่ 14 พฤศจิกายน2531 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 ทำ บันทึก ต่อ ท้าย สัญญา ฉบับ ลงวันที่20 กันยายน 2515 เปลี่ยนแปลง สิทธิ เรียกเงิน ช่วย ค่าก่อสร้างโดย ให้ จำเลย ที่ 1 มีสิทธิ เรียกเงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง อาคารพาณิชย์ ล็อกอี คู หา ที่ 19 และ ที่ 20 เป็น เงิน 318,338 บาท และ 309,098 บาท ตามลำดับ จำเลย ที่ 5 มี หนังสือ แจ้ง ให้ โจทก์ ทั้ง สอง นำ เงิน ช่วยค่าก่อสร้าง ไป ชำระ แก่ จำเลย ที่ 1 แล้ว โจทก์ ทั้ง สอง เพิกเฉย จำเลย ที่ 5จึง นำ อาคารพาณิชย์ ทั้ง 2 คู หา ดังกล่าว ไป ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3เช่า ต่อมา จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 โอนสิทธิ การ เช่า ให้ จำเลย ที่ 4
คดี มี ปัญหา ประการ แรก ว่า โจทก์ ทั้ง สอง แสดง เจตนา แก่จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 ว่า จะ ถือเอา ประโยชน์ จาก สัญญา ระหว่างจำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 แล้ว หรือ ยัง เห็นว่า ใน วันที่ 13 กรกฎาคม 2531จำเลย ที่ 5 โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย ที่ 1 มา เจรจา ตกลง กันตาม บันทึก เอกสาร หมาย ล. 8 ซึ่ง จำเลย ที่ 5 ได้ ไกล่เกลี่ย ให้ จำเลย ที่ 1และ โจทก์ ทั้ง สอง ตกลง กัน ใน เรื่อง เงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง โดย ถือ อัตราค่าก่อสร้าง เฉพาะตัว อาคาร เป็น เกณฑ์ กำหนด ตาม ที่ กรมธนารักษ์แจ้ง มา และ โจทก์ ทั้ง สอง ก็ ยินยอม เสีย เงิน ช่วย ค่าก่อสร้าง อาคารพาณิชย์คู หา ที่ 19 และ ที่ 20 เป็น เงิน 270,000 บาท และ 260,000 บาทตามลำดับ ตาม ที่ จำเลย ที่ 5 ไกล่เกลี่ย แม้ จำเลย ที่ 1 ไม่ยินยอมและ ตกลง ด้วย ก็ ถือได้ว่า โจทก์ ทั้ง สอง แสดง เจตนา แก่ จำเลย ที่ 1และ ที่ 5 ว่า จะ ถือเอา ประโยชน์ จาก สัญญา ระหว่าง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5แล้ว ดังนั้น จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 จึง หา อาจจะ เปลี่ยนแปลง หรือ ระงับสิทธิ นั้น ใน ภายหลัง ได้ไม่ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375ฎีกา ข้อ นี้ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ฟังขึ้น
คดี มี ปัญหา ต่อไป ว่า จะ เพิกถอน สัญญาเช่า อาคารพาณิชย์ คู หาที่ 19 และ ที่ 20 ที่ ทำ ขึ้น ระหว่าง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 กับจำเลย ที่ 5 และ ระหว่าง จำเลย ที่ 4 กับ จำเลย ที่ 5 ได้ หรือไม่ใน ข้อ นี้ โจทก์ ทั้ง สอง นำสืบ ทำนอง ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น บุตรของ นาย วิบูลย์ ผู้พัฒน์ หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ จำเลย ที่ 1นาย วิบูลย์ เป็น ผู้ พา จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ไป ทำ สัญญาเช่า อาคารพาณิชย์ คู หา ที่ 19 และ ที่ 20 กับ จำเลย ที่ 5 จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 ทำ สัญญาเช่า โดย ไม่สุจริต เพราะ รู้ อยู่ แล้ว ว่า โจทก์ ทั้ง สองมีสิทธิ เช่า อาคารพาณิชย์ คู หา ที่ 19 และ ที่ 20 อยู่ ก่อน แล้ว ใน ส่วน ที่เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 4 ผู้รับโอน สิทธิ การ เช่า อาคารพาณิชย์ คู หา ที่ 19และ ที่ 20 จาก จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 นั้น นาย สันติ ธรรมเกษตร สามี โจทก์ ที่ 1 เบิกความ ว่า จำเลย ที่ 4 รับโอน สิทธิ การ เช่า จาก จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 โดย ไม่สุจริต เพราะ จำเลย ที่ 4 เป็น ผู้เช่าอาคารพาณิชย์ เดิม เช่นเดียว กับ โจทก์ ทั้ง สอง และ ได้ สอบถาม เรื่องราวเกี่ยวกับ อาคาร พิพาท จาก โจทก์ ทั้ง สอง ตลอดมา ย่อม จะ รู้ อยู่ แล้ว ว่าโจทก์ ทั้ง สอง มีสิทธิ เช่า อาคารพาณิชย์ คู หา ที่ 19 และ ที่ 20 อยู่ ก่อนแล้ว เห็นว่า แม้ จะ ได้ความ ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น บุตรของ นาย วิบูลย์ หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ จำเลย ที่ 1 ย่อม จะ รู้ ถึง สิทธิ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ที่ มี ต่อ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 5 อัน จะ ถือได้ว่าจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เข้า ทำ สัญญาเช่า กับ จำเลย ที่ 5 โดย ไม่สุจริตก็ ตาม แต่เมื่อ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 โอนสิทธิ การ เช่า แก่ จำเลย ที่ 4จำเลย ที่ 4 ได้ ชื่อ ว่า เป็น บุคคลภายนอก ซึ่ง ได้รับ ประโยชน์จาก ข้อสันนิษฐาน ของ กฎหมาย ว่า กระทำการ โดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 โจทก์ ทั้ง สอง จึง มี ภาระการ พิสูจน์ ว่า จำเลย ที่ 4 รับโอน สิทธิ การ เช่า โดย ไม่สุจริต แต่ โจทก์ทั้ง สอง นำสืบ ได้ แต่เพียง ว่า จำเลย ที่ 4 ได้ สอบถาม เรื่องราวเกี่ยวกับ อาคาร พิพาท จาก โจทก์ ทั้ง สอง ตลอดมา ซึ่ง ยัง ไม่อาจ ชี้ ชัดได้ว่า จำเลย ที่ 4 ไม่สุจริต ด้วย เหตุ นี้ จึง ไม่อาจ เพิกถอน สัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ คู หา ที่ 19 และ ที่ 20 ระหว่าง จำเลย ที่ 4 กับ จำเลย ที่ 5ได้ ฎีกา ข้อ นี้ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น
คดี มี ปัญหา ประการ สุดท้าย ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เสียหาย เพียงใดใน ส่วน ค่าเสียหาย นั้น เนื่องจาก โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้องเรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 จึง สมควรวินิจฉัย เสีย ก่อน ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลยคนใด ได้ บ้าง เห็นว่า สัญญา ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 5เป็น สัญญา เพื่อ ประโยชน์ บุคคลภายนอก เมื่อ โจทก์ ทั้ง สองซึ่ง เป็น บุคคลภายนอก แสดง เจตนา แก่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5ว่า จะ ถือเอา ประโยชน์ จาก สัญญา ระหว่าง จำเลย ที่ 1และ ที่ 5 แล้ว การ ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 ระงับ สิทธิ ของ โจทก์ ทั้ง สองโดย ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เข้า ทำ สัญญาเช่า อาคารพาณิชย์ คู หา ที่ 19และ ที่ 20 แทนที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 5 จึง ต้อง รับผิด ชำระ ค่าเสียหายแก่ โจทก์ ทั้ง สอง แต่ โจทก์ ทั้ง สอง ประสงค์ จะ เรียกร้อง ค่าเสียหาย เอากับ จำเลย ที่ 1 เท่านั้น จึง บังคับ ให้ ได้ เท่าที่ โจทก์ ทั้ง สองเรียกร้อง สำหรับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 นั้น มิใช่ คู่สัญญา ใน สัญญาเพื่อ ประโยชน์ บุคคลภายนอก จึง ไม่มี นิติสัมพันธ์ กับ โจทก์ ทั้ง สองไม่ต้อง รับผิด ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ส่วน จำเลย ที่ 4 นอกจากฟัง ไม่ได้ ดัง วินิจฉัย มา ว่า รับโอน สิทธิ การ เช่า โดย ไม่สุจริต แล้วยัง ไม่มี นิติสัมพันธ์ กับ โจทก์ ทั้ง สอง เช่นกัน จึง ไม่ต้อง รับผิด ใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สอง แล้ว ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า เห็นสมควร กำหนดค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สอง คน ละ 100,000 บาท
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ทั้ง สอง คน ละ 100,000 บาท

Share