แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
กำหนดเวลา2ปีตามมาตรา10วรรค5แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469นั้นใช้กับกรณีการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไปแล้วก่อนนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา40ไม่รวมถึงกรณีการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ถูกประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมภายหลังจากนำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้วตามมาตรา112,112ทวิทั้งนี้จะเห็นได้จากบทบัญญัติในมาตรา10วรรค5ดังกล่าวที่ให้นับกำหนดเวลา2ปีตั้งแต่วันนำของเข้าและมิให้รับพิจารณาการเรียกร้องขอคืนเงินอากรหลังจากที่ได้เสียอากรและของนั้นๆได้ส่งมอบแล้วเว้นแต่ในกรณีที่ผู้นำเข้าได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องดังกล่าวซึ่งหากเป็นกรณีตามมาตรา112,112ทวิแล้วจะไม่อาจใช้ระยะเวลา2ปีนับจากวันที่นำของเข้าและไม่อาจแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องดังกล่าวได้การที่โจทก์เรียกอากรขาเข้าตามที่ถูกประเมินให้ชำระเพิ่มเติมในกรณีนี้มิใช่กรณีใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงก่อนนำของออกจากอารักขาของศุลกากรสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกเงินอากรขาเข้านี้คืนจึงมิได้เป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนด2ปีนับจากวันที่นำของเข้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรค5แต่กรณีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินและแจ้งให้โจทก์ชำระค่าอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้วซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปี
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ ประเมิน ของ พนักงาน เจ้าหน้าที่ของ จำเลย ที่ ประเมิน ราคา สินค้า ตาม ใบขนสินค้า ขาเข้า ทั้ง 9 ฉบับของ โจทก์ เพิ่ม ให้ จำเลย คืนเงิน จำนวน 1,562,076.20 บาท แก่ โจทก์พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 1,356,513.60บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า การ ประเมิน ราคา สินค้า ของ พนักงาน เจ้าหน้าที่ของ จำเลย ถูกต้อง ชอบ ด้วย กฎหมาย แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ เพิกถอน การ ประเมินของ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย เฉพาะ ที่ ประเมิน ราคา สินค้าของ โจทก์ เพิ่ม ตาม ใบขนสินค้า ขาเข้า เลขที่ 0102-00650223-6เลขที่ 0102-00954540-4 และ เลขที่ 0102-01057251-1 ให้ จำเลย คืนเงินค่าภาษีอากร จำนวน 535,728.85 บาท แก่ โจทก์
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าโจทก์ นำ สินค้า พิพาท เข้า มา ใน ราชอาณาจักร รวม 9 เที่ยว โดย ยื่นใบขนสินค้า ขาเข้า และ แบบแสดงรายการ การค้า ใบขนสินค้า ขาเข้าพร้อม แบบแสดงรายการ ภาษี สรรพสามิต และ ภาษี มูลค่า เพิ่ม เลขที่072-24290 เลขที่ 013-20167 เลขที่ 053-24129 เลขที่ 123-21697เลขที่ 112-23110 เลขที่ 104-25842 เลขที่ 0102-00650223-6เลขที่ 0102-00954540-4 เลขที่ 0102-01057251-1 พนักงาน เจ้าหน้าที่ของ จำเลย สั่ง ให้ โจทก์ ชำระ ค่าภาษีอากร ตาม ที่ สำแดง ไป ก่อนพร้อม ทั้ง ให้ วาง ประกัน ค่าภาษีอากร ที่ อาจ ต้อง เสีย เพิ่มเติมไว้ แล้ว ส่งมอบ สินค้า ให้ โจทก์ รับ ไป ต่อมา พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของจำเลย ได้ ประเมิน ราคา สินค้า ที่ โจทก์ สำแดง เพิ่มขึ้น โดย อาศัยเทียบ เคียง จาก ราคา สินค้า ที่ ผู้นำ เข้า ราย อื่น นำเข้า มา ใน ราชอาณาจักรใน ช่วง ไม่เกิน 3 เดือน ก่อน การ นำเข้า ของ โจทก์ โจทก์ ชำระ ค่าภาษีอากรเพิ่มเติม รวมทั้ง เงินเพิ่ม ให้ จำเลย แล้ว แต่ ไม่เห็น ด้วย กับ การประเมิน ปัญหา ตาม อุทธรณ์ โจทก์ ที่ ว่า สิทธิเรียกร้อง ขอ คืนเงิน อากรที่ ชำระ ไว้ เกินกว่า ที่ จะ พึง ต้อง เสีย จริง ของ โจทก์ ใน คดี นี้ มี อายุความสอง ปี หรือ สิบ ปี ปัญหา นี้ เห็นว่า ตาม พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 10 วรรคห้า ที่ บัญญัติ ว่า “สิทธิ ใน การ เรียกร้อง ขอ คืนเงินอากร เฉพาะ เหตุ ที่ ได้เสีย ไว้ เกิน จำนวน ที่ พึง ต้อง เสีย จริง เป็นอัน สิ้นไป เมื่อ ครบ กำหนด สอง ปี นับ จาก วันที่ นำ ของ เข้า หรือ ส่ง ของ ออกแล้วแต่ กรณี แต่ คำ เรียกร้อง ขอ คืน อากร เพราะ เหตุ อัน เกี่ยวกับ ชนิดคุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือ ราคา แห่ง ของ ใด ๆ หรือ เกี่ยวกับอัตรา อากร สำหรับ ของ ใด ๆ นั้น มิให้ รับ พิจารณา หลังจาก ที่ ได้เสีย อากร และ ของ นั้น ๆ ได้ ส่งมอบ หรือ ส่งออก ไป แล้ว เว้นแต่ ใน กรณีที่ ได้ แจ้งความ ไว้ ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ก่อน การ ส่งมอบ หรือ ส่งออกว่า จะ ยื่น คำ เรียกร้อง ดังกล่าว หรือ ใน กรณี ที่ พนักงาน เจ้าหน้าที่พึง ต้อง รู้ อยู่ ก่อน ส่งมอบ หรือ ส่งออก ว่า อากร ที่ ชำระ ไว้ นั้น เกิน จำนวนที่ พึง ต้อง เสีย สำหรับ ของ ที่ ส่งมอบ หรือ ส่งออก ” นั้น หมายถึง การเรียกร้อง ขอ คืนเงิน อากร ที่ ได้เสีย ไป แล้ว ก่อน นำ ของ ออกจาก อารักขาของ ศุลกากร ตาม มาตรา 40 ไม่รวม ถึง การ เรียกร้อง ขอ คืนเงิน อากรที่ ถูก ประเมิน เรียกเก็บ เพิ่มเติม ภายหลัง จาก นำ ของ ออกจาก อารักขาของ ศุลกากร แล้ว ตาม มาตรา 112, 112 ทวิ ทั้งนี้ จะ เห็น ได้ จากบทบัญญัติ ใน มาตรา 10 วรรคห้า ดังกล่าว ที่ ให้ นับ กำหนด เวลา 2 ปีตั้งแต่ วัน นำ ของ เข้า และ มิให้ รับ พิจารณา การ เรียกร้อง ขอ คืนเงินอากร หลังจาก ที่ ได้เสีย อากร และ ของ นั้น ๆ ได้ ส่งมอบ แล้วเว้นแต่ ใน กรณี ที่ ผู้นำ เข้า ได้ แจ้งความ ไว้ ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ก่อน การ ส่งมอบ ว่า จะ ยื่น คำ เรียกร้อง ดังกล่าว ซึ่ง หาก เป็น กรณีตาม มาตรา 112, 112 ทวิ แล้ว จะ ไม่อาจ ใช้ ระยะเวลา 2 ปี นับ จากวันที่ นำ ของ เข้า และ ไม่อาจ แจ้งความ ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ก่อนการ ส่งมอบ ของ ว่า จะ ยื่น คำ เรียกร้อง ดังกล่าว ได้ การ ที่ โจทก์เรียกคืน เงินอากร ขาเข้า ตาม ที่ ถูก ประเมิน ให้ ชำระ เพิ่มเติมใน กรณี นี้ มิใช่ กรณี ใช้ สิทธิ ใน การ เรียกร้อง ขอ คืนเงิน อากร ขาเข้าเพราะ เหตุ ที่ ได้เสีย ไว้ เกิน จำนวน ที่ พึง ต้อง เสีย จริง ก่อน นำ ของออกจาก อารักขา ของ ศุลกากร สิทธิ ของ โจทก์ ที่ จะ เรียกเงิน อากร ขาเข้านี้ คืน จึง มิได้ เป็น อัน สิ้นไป เมื่อ ครบ กำหนด 2 ปี นับ จาก วันที่นำ ของ เข้า ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 10 วรรคห้า แต่ กรณี นี้ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ประเมินและ แจ้ง ให้ โจทก์ ชำระ ค่าอากร ขาเข้า เพิ่มเติม ภายหลัง จาก โจทก์นำ ของ ออกจาก อารักขา ของ ศุลกากร แล้ว ซึ่ง ไม่มี กฎหมาย บัญญัติอายุความ ไว้ โดยเฉพาะ จึง มี อายุความ 10 ปี ฟ้องโจทก์ สำหรับใบขนสินค้า ขาเข้า เลขที่ 072-24290 เลขที่ 013-20167 เลขที่053-24129 เลขที่ 123-21697 เลขที่ 112-23110 และ เลขที่104-25842 ไม่ขาดอายุความ ที่ ศาลภาษีอากรกลาง วินิจฉัย ว่าฟ้องโจทก์ สำหรับ ใบขนสินค้า ขาเข้า จำนวน 6 ฉบับ ดังกล่าว ขาดอายุความ 2 ปี นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย อุทธรณ์ ของ โจทก์ ฟังขึ้นเมื่อ วินิจฉัย ดังนี้ แล้ว ศาลฎีกา เห็นควร วินิจฉัย ไป เลย โดย ไม่ย้อนสำนวน ให้ ศาลภาษีอากรกลาง วินิจฉัย ก่อน ว่า ราคา สินค้า ที่ โจทก์สำแดง ตาม ใบขนสินค้า ขาเข้า ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าว เป็น ราคา อัน แท้จริงใน ท้องตลาด หรือไม่ โดย จะ วินิจฉัย รวม ไป กับ อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ ว่าราคา สินค้า ที่ โจทก์ สำแดง ตาม ใบขนสินค้า ขาเข้า อีก 3 ฉบับเลขที่ 0102-00650223-6 เลขที่ 0102-00954540-4 และ เลขที่0102-01057251-1 เป็น ราคา อัน แท้จริง ใน ท้องตลาด หรือไม่ จาก ทางนำสืบ ของ จำเลย ปรากฏว่า พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ประเมิน ราคาสินค้า ของ โจทก์ ที่ นำเข้า ทั้ง 9 ครั้ง ตาม คำสั่ง ทั่วไป ที่ 47/2531ข้อ 1.5 ที่ กำหนด ให้ ใช้ ราคา สูงสุด ที่ มี ผู้นำ เข้า ก่อน ราย ที่ จะพิจารณา ไม่เกิน 3 เดือน เป็น เกณฑ์ ประเมิน เพียง อย่างเดียว โดยใช้ ราคา ของ ผู้นำ เข้า ราย ที่ มี ราคา สูงสุด เพียง ราย เดียว มา เป็น เกณฑ์หา ได้ คำนึง ถึง ราคา ของ ผู้นำ เข้า ราย อื่น ๆ ประกอบ ด้วย ไม่ จึง ยังไม่ เพียงพอ ที่ จะ นำ มา เป็น เกณฑ์ ใน การ พิจารณา ราคา อัน แท้จริงใน ท้องตลาด ของ สินค้า พิพาท ได้ ประกอบ กับ สินค้า ที่ โจทก์นำเข้า คู่ความ นำสืบ รับ กัน ว่า มี ราคา ขึ้น ลง รวดเร็ว ตาม ภาวะ ตลาด โลกแต่ ปรากฏว่า ราคา สินค้า ราย ที่ จำเลย นำ มา เปรียบเทียบ กับ ราคา สินค้าราย ของ โจทก์ ระยะเวลา ใน การ นำเข้า ต่างกัน 1-2 เดือน จึง ไม่อาจ รับฟังได้ ว่า ราคา สินค้า พิพาท ขณะที่ โจทก์ นำเข้า เท่ากับ ราคา สินค้าราย ที่ นำ มา เปรียบเทียบ ส่วน โจทก์ นำสืบ ว่า โจทก์ สำแดง ราคา สินค้าตาม ที่ ซื้อ มา จริง โดย โจทก์ มี ใบ กำกับ สินค้า และ ใบเสร็จรับเงินของ ธนาคาร ที่ โจทก์ เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิต เพื่อ ชำระ ค่าสินค้าให้ แก่ ผู้ขาย ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 มา แสดง จำเลย มิได้ นำสืบหักล้าง ว่า เอกสาร ดังกล่าว ไม่ถูกต้อง หรือ เป็นเท็จ และ มิได้ นำสืบให้ เห็นว่า ราคา ซื้อ ขาย ดังกล่าว มี ส่วนลด จาก ราคา ซื้อ ขาย ปกติ อย่างไรพยานหลักฐาน โจทก์ จึง มี น้ำหนัก ดีกว่า พยานหลักฐาน จำเลย ฟังได้ ว่าราคา สินค้า ที่ โจทก์ สำแดง ตาม ใบขนสินค้า ขาเข้า ทั้ง 9 ฉบับ เป็น ราคาอัน แท้จริง ใน ท้องตลาด ที่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ประเมิน ราคาสินค้า ของ โจทก์ เพิ่มขึ้น และ ให้ โจทก์ ชำระ อากร ขาเข้า เพิ่มเติมจึง ไม่ชอบ ส่วน ที่ จำเลย ให้การ ต่อสู้ ว่า โจทก์ ขอ คืนเงิน อากร ขาเข้ามาก กว่า ที่ ชำระ เพิ่มเติม แก่ จำเลย ตาม ที่ ถูก ประเมิน ใน ใบขนสินค้าขาเข้า เลขที่ 072-24290 เลขที่ 053-24129 เลขที่ 123-21697เลขที่ 112-23110 เลขที่ 104-25842 และ เลขที่ 0102-00954540-4 นั้นเห็นว่า โจทก์ จำเลย นำสืบ รับ กัน ฟังได้ ว่า ใน การ คิด ค่าภาษีอากรของ จำเลย จะ คำนวณ จาก ปริมาณ ของ สินค้า ที่ นำเข้า จริง หาก พบ ว่าปริมาณ ที่ นำเข้า จริง น้อยกว่า ที่ สำแดง ใน ใบขนสินค้า ขาเข้า จำเลยก็ จะ คืน ค่าภาษีอากร ให้ แต่ หาก มีค่า ภาษีอากร ที่ โจทก์ ต้อง ชำระเพิ่มเติม ตาม ที่ ถูก ประเมิน จำเลย จะ นำ มา หัก ออก แล้ว คืน เฉพาะใน ส่วน ที่ เหลือ หรือ เรียก เพิ่ม ใน ส่วน ที่ ขาด สำหรับ ปริมาณ ของสินค้า ที่ โจทก์ สำแดง ตาม ใบขนสินค้า ขาเข้า ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าวปรากฎ ว่า มี ปริมาณ มาก กว่า ที่ นำเข้า จริง โจทก์ จึง มีสิทธิ ได้รับ คืนภาษีอากร ที่ ชำระ ให้ เกิน แต่ เนื่องจาก จำนวน ภาษีอากร ที่ โจทก์ถูก ประเมิน เพิ่มขึ้น มี มาก กว่า จำนวน ภาษีอากร ที่ โจทก์ มีสิทธิได้รับ คืน จำเลย จึง หักกลบลบกัน แล้ว เรียก ให้ โจทก์ ชำระ ภาษีอากรเพิ่มเติม ใน ส่วน ที่ ขาด ฉะนั้น อากร ขาเข้า ที่ โจทก์ ฟ้อง เรียกคืนจาก จำเลย ตาม ใบขนสินค้า ขาเข้า ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าว จึง ต้องมาก กว่า อากร ขาเข้า ที่ โจทก์ ชำระ เพิ่มเติม แก่ จำเลย ตาม ที่ ถูก ประเมินทั้ง จำเลย ก็ มิได้ นำสืบ หักล้าง ว่าการ คำนวณ อากร ขาเข้า ที่ ขอ คืนของ โจทก์ ดังกล่าว ไม่ถูกต้อง จำเลย จึง ต้อง คืน อากร ขาเข้า แก่ โจทก์ตาม ฟ้อง พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 0.625 ต่อ เดือน เศษ ของ เดือนให้ นับ เป็น หนึ่ง เดือน นับแต่ วันที่ ได้ ชำระ ค่าอากร จน ถึง วันที่มี การ อนุมัติ ให้ จ่าย คืน ตาม พระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา112 จัตวา วรรคสี่ แต่ โจทก์ ขอด อก เบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี จึง ให้ ตาม ขอ ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ เพิกถอน การ ประเมิน ตาม ใบขนสินค้า ขาเข้าเลขที่ 072-24290 เลขที่ 013-20167 เลขที่ 053-24129เลขที่ 123-21697 เลขที่ 112-23110 เลขที่ 104-25842 เลขที่0102-00650223-6 เลขที่ 0102-00954540-4 และ เลขที่ 0102-01057251-1เฉพาะ ที่ เกี่ยวกับ อากร ขาเข้า ให้ จำเลย คืนเงิน ค่าอากร ขาเข้าแก่ โจทก์ จำนวน 1,356,513.60 บาท พร้อม ดอกเบี้ย