คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

แม้ศาลจะยังไม่ได้มีคำสั่งให้ ก. ซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายในระยะเวลาตามกฎหมายได้รับชำระหนี้ก็ถือได้ว่าก. เป็นเจ้าหนี้ในคดีย่อมมีสิทธิเข้าประชุมเจ้าหนี้และออกเสียงลงคะแนนได้ตามมาตรา34แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ส่วนการที่จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยแค่ไหนเพียงใดนั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งต่อไปในสำนวนคำขอรับชำระหนี้การที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้ ก. ได้รับชำระหนี้ไม่เป็นเหตุที่จะต้องเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกซึ่งต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดตามมาตรา31แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง จาก โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ล้มละลาย ศาลชั้นต้นมี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลย เด็ดขาด ต่อมา จำเลย ยื่น คำขอ ประนอมหนี้ก่อน ล้มละลาย เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ นัด ประชุม เจ้าหนี้ครั้งแรก วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2536 ใน วันนัด ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งแรกจำเลย คัดค้าน การ ประชุม อ้าง เหตุ ว่า ธนาคาร กสิกรไทย เจ้าหนี้ ราย ที่ 4 ได้รับ ชำระหนี้ ครบถ้วน แล้ว และ หนี้ ตาม คำพิพากษาเป็น หนี้ ซ้ำซ้อน ขอให้ เลื่อน การ ประชุม เพื่อ รอ คำสั่งศาล เกี่ยวกับคำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ ราย นี้ แต่ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์มี คำสั่ง ยก คำขอ และ ให้ ทำการ ประชุม ไป ที่ ประชุม เจ้าหนี้ มี มติ ขอให้ศาล พิพากษา ให้ จำเลย ล้มละลาย
จำเลย ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล เพิกถอน คำสั่ง ของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดังกล่าว ให้ รอ การ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งแรก ไว้ จนกว่าศาล จะ มี คำสั่ง เห็นชอบ กับ คำขอ รับชำระหนี้ ของ ธนาคาร กสิกรไทย เจ้าหนี้ ราย ที่ 4 และ ให้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ งด การขายทอดตลาด ต่อไป
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ยื่น คำคัดค้าน ว่า การ ประชุม เจ้าหนี้ครั้งแรก ชอบ ด้วย กฎหมาย แล้ว เพราะ ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 31 กำหนด ให้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ต้อง เรียกประชุม เจ้าหนี้ ครั้งแรก โดย เร็ว ที่สุด จำเลย ไม่มี สิทธิ ขอให้ เพิกถอนการ ประชุม เพราะ เป็น อำนาจ ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เท่านั้นที่ จะ ขอให้ เพิกถอน ได้ ตาม มาตรา 36 นอกจาก นี้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ยัง มิได้ ให้ ธนาคาร กสิกรไทย เจ้าหนี้ ราย ที่ 4 ได้รับ ชำระหนี้ จาก เงิน ซึ่ง ได้ จาก การ ขายทอดตลาด ทรัพย์สิน ของ จำเลย ขอให้ ยกคำร้องชำระหนี้ จาก เงิน ซึ่ง ได้ จาก การ ขายทอดตลาด ทรัพย์สิน ของ จำเลยขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ จึง ให้ งด การ ไต่สวน แล้วมี คำสั่ง ว่า เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ดำเนินการ ประชุม เจ้าหนี้ครั้งแรก ชอบ ด้วย กฎหมาย แล้ว ไม่มี เหตุ เพิกถอน ให้ยก คำร้อง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ ว่าคำสั่ง ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ที่ ไม่ เลื่อน การ ประชุม เจ้าหนี้ครั้งแรก ชอบ หรือไม่ จำเลย ฎีกา ว่า ธนาคาร กสิกรไทย เจ้าหนี้ ราย ที่ 4ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ มี ทุนทรัพย์ สูง และ เป็น เจ้าหนี้ ราย ใหญ่ แต่ จำเลยคัดค้าน ว่า ได้รับ ชำระหนี้ ไป แล้ว และ เรื่อง ยัง อยู่ ใน ระหว่าง ไต่สวนคำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ ราย นี้ อยู่ ว่า มีมูล หนี้ เพียง 23,000,000บาท และ ได้รับ ชำระหนี้ ไป แล้ว ทั้งสิ้น หรือไม่ ซึ่ง หาก ฟังได้ ตามข้อ คัดค้าน เจ้าหนี้ ราย นี้ ย่อม ไม่มี สภาพ เป็น เจ้าหนี้ และ ไม่มี สิทธิเข้า ประชุม เจ้าหนี้ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ถึง แม้ ศาล จะ ยัง ไม่ได้มี คำสั่ง ให้ ธนาคาร กสิกรไทย เจ้าหนี้ ราย ที่ 4 ซึ่ง ได้ ยื่น คำขอ รับ ชำระหนี้ ตาม คำพิพากษา ภายใน ระยะเวลา ตาม กฎหมาย ได้รับ ชำระหนี้ก็ ถือได้ว่า ธนาคาร กสิกรไทย เจ้าหนี้ ราย ที่ 4 เป็น เจ้าหนี้ ใน คดี ย่อม มีสิทธิ เข้า ประชุม เจ้าหนี้ และ ออกเสียง ลง คะแนน ได้ ตาม มาตรา 34แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วน การ ที่ จะ มีสิทธิ ได้รับชำระหนี้ จาก กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลย แค่ไหน เพียงใด นั้น เป็น ดุลพินิจของ ศาล ที่ จะ มี คำสั่ง ต่อไป ใน สำนวน คำขอ รับชำระหนี้ การ ที่ ศาลยัง มิได้ มี คำสั่ง ให้ ธนาคาร กสิกรไทย เจ้าหนี้ ราย ที่ 4 ได้รับ ชำระหนี้ ไม่เป็นเหตุ ที่ จะ ต้อง เลื่อน การ ประชุม เจ้าหนี้ ครั้งแรกซึ่ง ต้อง ดำเนินการ โดย เร็ว ที่สุด ตาม มาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แต่อย่างใด คำสั่ง ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ชอบแล้ว
พิพากษายืน

Share