คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2486

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การวินิฉัยปัญหาข้อกดหมายสาลดีกาจำต้องวินิฉัยการกะทำของจำเลยโดยฟังข้อเท็ดจิงตามที่สาลอุธรน์ฟังมา.

ย่อยาว

โจทฟ้องว่าจำเลยประดิถยาสีฟังผงขึ้นจำหน่ายโดยไช้ชื่อว่ายาสีฟังแสงอาภาเช่นเดียวกับของโจท ไห้ปรากตที่ยาสีฟันที่ห่อยาที่ไบบอกขายและบอกราคายาสีฟันของจำเลย ซึ่งจำเลยรู้ดีหยู่แล้วว่าชื่อยาสีฟังแสงอาภาของโจท โดยจำเลยมีเจตนาทุจริตอาดปลอมชื่อยาสีฟันแสงอาภาที่โจทไช้ไนการค้าขายยาสีฟันมาไช้ไห้ปรากตไนการค้าขายยาสีฟันของจำเลยและเจตนาที่จะหลอกลองไห้ผู้ไช้ยาสีฟันของจำเลยเข้าไจผิดว่าเปนยาสีฟันของโจท ทำไห้โจทและประชาชนได้รับความเสียหาย ขอไห้ลงโทสตามกดหมายลักสนะอาญามาตรา ๒๓๕,๒๓๖,๒๓๙ สาลชั้นต้นเห็นว่าการกะทไของจำเลยไม่เปนความผิดต่อกดหมายที่โจทอ้าง พิพากสายกฟ้อง
โจทอุธรน์ สาลอุธรน์ยืน
โจทดีกา สาลดีกาเห็นพ้องด้วยตามสาลล่าง ส่วนข้อที่ว่าจำเลยจะมีความผิดตามมาตรา ๒๓๖ หรือไม่ สาลอุธรน์ฟังข้อเท็ดจิงว่ายาสีฟันแสงอาภาของโจทบันจุของกะดาดมีเครื่องหมายรูปพระจันทร์ประกอบด้วยรัสมีครึ่งซีก ส่วนของจำเลยบันจุซองกะดาดมีเครื่องหมายรูปประสาทหรือวิมานและมีกะดาดแล้วหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ของยาสีฟันของโจทจำเลยนอกจากมีชื่อว่าแสงอาภาตรงกัน ส่วนอื่น ๆ เช่นขนาดสีสันตลอดจนตัวหนังสือต่าง ๆ ที่ปรากตบนซองผิดแผกแตกต่างกันมาก แม้ตัวอักสรหนังสือ คำว่า “แสงอาภาฯ ก็มีลักสนะและสีต่างกันคนละหย่างทีเดียว เมื่อเห็นซองยาสีฟันของโจทและจำเลยก็เปนอันรู้ได้ทันทีว่าไม่เหมือนหรือคล้ายกันเลยไม่อาดทำไห้มีการหลงเข้าไจผิดไปหย่างอื่นไดได้ เมื่อลักสนะการเปนเช่นนี้ย่อมสแดงหยู่ว่าจำเลยหาได้เจตนาปลอมชื่อยาสีฟันของโจทไม่ เมื่อสาลอุธรน์ฟังว่าไม่อาดทำไห้มีการหลงเข้าไจผิดว่ายาสีฟันแสงอาภาของจำเลยเปนยาสีฟัน “แสงอาภา” ของโจท และจำเลยไม่มีเจตนาปลอมชื่อยาสีฟันของโจทดังนี้แล้ว จำเลยก็ไม่มีความผิดตามมาตรา ๒๓๖ จึงพิพากสายืนตามสาลอุธรน์.

Share