คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5312/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์สั่งซื้อสินค้าพิพาทจากผู้ขายในราคาเอฟ.โอ.บี.(FreeonBoard)ที่ท่าเรือต้นทางดังนั้นการขนส่งสินค้าพิพาทจากหน้าโรงงานของบริษัทผู้ขายโดยทางรถไฟไปยังท่าเรือ ซีแอทเทิลจึงอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทผู้ขายจำเลยที่1ไม่ได้ตกลงรับขนส่งสินค้าพิพาทจากโจทก์ในเส้นทางดังกล่าวจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาทที่เกิดขึ้นต่อโจทก์ จำเลยที่2ได้ตกลงกับโจทก์โดยชัดแจ้งถึงเส้นทางที่จำเลยที่2รับประกันภัยสินค้าพิพาทว่าเริ่มต้นตั้งแต่ท่าเรือในประเทศสหรัฐอเมริกา ถือว่าการคุ้มครองภัยต้องเริ่มตั้งแต่ท่าเรือต้นทางที่สินค้าขนลงเรือแล้วอีกทั้งการขนส่งสินค้าโดยทางรถไฟจากเมือง ซินซินเนติถึงท่าเรือเมือง ซีแอทเทิล สินค้าพิพาทอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ขายและยังไม่ได้มีการขนส่งสินค้าลงเรือโจทก์จึงยังไม่มีส่วนได้เสียในสินค้าพิพาทขณะเกิดวินาศภัย แม้การประกันภัยสินค้าพิพาทเป็นการประกันภัยทางทะเลแต่การที่จำเลยที่2ออกกรมธรรม์คุ้มครองชั่วคราว(Covernote)โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อสินค้าถึงเรือและนำสินค้าลงเรือแล้วจำเลยที่2จะต้องออกกรมธรรม์ประกันภัยฉบับจริงให้โจทก์อีกครั้งหนึ่งก็เป็นกรณีที่จำเลยที่2รับประกันภัยล่วงหน้าที่ยังไม่สามารถพิจารณาประกันภัยได้ในขณะนั้นการที่จำเลยที่2ออกกรมธรรม์คุ้มครองชั่วคราว(Covernote)ให้โจทก์จึงมิใช่จำเลยที่2รับประกันภัยสินค้าพิพาทระหว่างขนส่งทางรถไฟแต่อย่างใด

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ ประมาณ ต้น ปี 2531 โจทก์ สั่ง ซื้อ สินค้าประเภท เครื่องซักผ้า จำนวน 5 หน่วย จาก โรงงาน ของ บริษัท อเมริกันลอนดรี้แมชชีนเนอรี่ จำกัด ซึ่ง ตั้ง อยู่ ที่ เมือง ซินซินเนติ รัฐโอไฮโอ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ใน ราคา เอฟ โอ บี69,225 เหรียญ สหรัฐ โจทก์ ว่าจ้าง ให้ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ขนส่งสินค้า ดังกล่าว ตั้งแต่ หน้า โรงงาน ของ บริษัท อเมริกันลอนดรี้แมชชีน เนอรี่ จำกัด จน ถึง กรุงเทพมหานคร ต่อมา วันที่ 5 พฤษภาคม 2531จำเลย ที่ 1 ได้ ดำเนินการ ขนส่ง สินค้า ดังกล่าว จาก หน้า โรงงาน ของ บริษัท อเมริกันลอนดรี้แมชชีนเนอรี่ จำกัด เพื่อ ไป ยัง ท่าเรือ ซีแอทเทิล ประเทศ สหรัฐอเมริกา ระหว่าง ทาง ได้ เกิด ความเสียหาย ขึ้น แก่ สินค้า ดังกล่าว เป็น ค่าซ่อม และ ค่าเสียหาย ทั้งสิ้น 64,396.82 เหรียญ สหรัฐก่อน ที่ บริษัท อเมริกันลอนดรี้แมชชีนเนอรี่ จำกัด จะ ส่งมอบ เครื่องซักผ้า 5 หน่วย ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 โจทก์ ได้ ประกันภัย สินค้าดังกล่าว ไว้ กับ จำเลย ที่ 2 เพื่อ คุ้มครอง วินาศภัย อัน อาจ เกิดขึ้นกับ สินค้า ดังกล่าว ใน ระหว่าง การ ขนส่ง ตั้งแต่ หน้า โรงงาน ของ บริษัท อเมริกันลอนดรี้แมชชีนเนอรี่ จำกัด จน ถึง ปลายทาง จำเลย ที่ 2ตกลง รับประกัน ภัย โดย ออก ใบ คอ บเวอร์โน้ท หมายเลข 11424 ลงวันที่4 พฤษภาคม 2531 แจ้ง การ รับประกัน ภัย สินค้า ดังกล่าว จำเลย ทั้ง สองจึง ต้อง รับผิด ใน ความเสียหาย ดังกล่าว เป็น เงิน ค่าเสียหาย 1,647,270.60บาท โจทก์ ทวงถาม แล้วแต่ จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉย ขอให้ บังคับ ให้ จำเลยทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย 1,770,815.89 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่เคย ว่าจ้าง ให้ จำเลย ที่ 1 ขนส่งสินค้า พิพาท บริษัท อเมริกันลอนดรี้แมชชีนเนอร์รี่ จำกัด เป็น ผู้ บรรจุ สินค้า เข้า ตู้ คอนเทนเนอร์ เอง เสร็จ แล้ว จึง ให้ รถไฟ ขนส่งตู้ คอนเทนเนอร์ ดังกล่าว จาก เมือง ซินซินเนติ รัฐโอไฮโอ ไป ยัง ท่าเรือ เมือง ซีแอทเทิล สินค้า พิพาท เสียหาย ระหว่าง ขนส่ง โดย ทาง รถไฟ ก่อน ส่งมอบ ให้ ผู้ขนส่ง ทางทะเล มิได้ เสียหาย ระหว่าง อยู่ ในความรับผิด ชอบ ของ จำเลย ที่ 1 โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ โจทก์ ยังไม่มี กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า เพราะ การ ซื้อ ขาย ใน ราคา เอฟ.โอ.บี. นั้นผู้ขาย มี หน้าที่ ต้อง ดำเนินการ ขนส่ง สินค้า ไป ส่งมอบ ให้ ผู้ซื้อ โดยต้อง ขนส่ง สินค้า ลง เรือ ตราบใด ที่ สินค้า ยัง มิได้ ขน ลง เรือ กรรมสิทธิ์ใน สินค้า ก็ ยัง ไม่ โอน มา ยัง ผู้ซื้อ โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง และโจทก์ มิได้ ว่าจ้าง ผู้ขนส่ง โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ใน ฐานะ คู่สัญญาขนส่ง ถ้า โจทก์ จะ ฟ้อง ก็ ต้อง ฟ้อง ใน ฐานะ ผู้รับตราส่ง แต่ เนื่องจากบริษัท อีเอซีไลน์ ยัง มิได้ ออก ใบตราส่ง ทางเรือ สิทธิ ของ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้รับตราส่ง จึง ยัง ไม่ เกิดขึ้น จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ ใน ทางปฏิบัติอันเป็น ประเพณี การ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ประเทศ ประกอบ กับ เงื่อนไขข้อตกลง ใน การ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง โจทก์ กับ บริษัท อเมริกันลอนดรี้ แมชชีนเนอรี่ จำกัด ผู้ขาย จะ ต้อง รับ ภาระ ต่าง ๆ อัน เกี่ยวกับ สินค้า รวมทั้ง ความ เสี่ยงภัย ทุกประการ อัน เกิดขึ้น แก่ สินค้า จนกว่าจะ ทำการ บรรทุก สินค้า ลง เรือ เมื่อ บรรทุก สินค้า ลง เรือสินค้า ลง เรือ แล้ว กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า จึง จะ โอน เป็น ของ ผู้ซื้อ โดยอาศัย ใบตราส่ง ที่ บริษัท เรือ ผู้ขนส่ง ออก ให้ เป็น หลักฐาน แสดงการ โอน กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า จาก ผู้ขาย มา ยัง ผู้ซื้อ สินค้า ที่ โจทก์สั่ง ซื้อ เกิด ความเสียหาย ก่อน ที่ จะ บรรทุก สินค้า ลง เรือ โจทก์ จึง ยังไม่มี หน้าที่ ต้อง ซ่อมแซม หรือ จ่าย ค่าซ่อมแซม สินค้า จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง เรียกเงิน ค่าซ่อมแซม สินค้า ดังกล่าว และ โจทก์ ไม่ได้ ทำ สัญญาประกันภัย กับ จำเลย ที่ 2 เพื่อ คุ้มครอง วินาศภัย อัน อาจ เกิดขึ้น กับสินค้า ที่ โจทก์ สั่ง ซื้อ ใน ระหว่าง การ ขนส่ง ตั้งแต่ หน้า โรงงาน ของบริษัท อเมริกันลอนดรี้แมชชีนเนอรี่ จำกัด จน ถึง ปลายทาง ดัง ที่ โจทก์ กล่าวอ้าง สัญญาประกันภัย ที่ โจทก์ ทำ กับ จำเลย ที่ 2 ตาม หลักฐานใบ คอ บเวอร์โน้ทเป็น สัญญาประกันภัย การ ขนส่ง สินค้า ทางทะเล ซึ่ง เริ่มให้ ความคุ้มครอง แก่ สินค้า ที่ โจทก์ สั่ง ซื้อ ต่อเมื่อ บรรทุก สินค้าลง เรือเดินทะเล ณ ท่าเรือ ใน ประเทศ สหรัฐอเมริกา และ เรือ ได้ เริ่ม ออก เดินทาง แล้ว เมื่อ สินค้า ที่ โจทก์ สั่ง ซื้อ ได้รับ ความเสียหายก่อน ที่ จะ บรรทุก สินค้า ลง เรือ ณ ท่าเรือ ใน ประเทศ สหรัฐอเมริกา จึง เป็น ความเสียหาย ที่อยู่ นอกเหนือ ความคุ้มครอง ตาม สัญญาประกันภัยจำเลย ที่ 2 จึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า เมื่อ วันที่ 7 มีนาคม 2531 โจทก์ ได้ สั่ง ซื้อ สินค้าพิพาท ซึ่ง เป็น เครื่องซักผ้า จำนวน 5 หน่วย จาก โรงงาน ของ บริษัท อเมริกันลอนดรี้แมชชีนเนอรี่ จำกัด ผู้ขาย ใน เมือง ซินซินเนติ รัฐโอไฮโอ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ใน ราคา 69,225 เหรียญ สหรัฐ ตาม ใบสั่งซื้อ เอกสาร หมาย จ. 4 โจทก์ ได้ เอา ประกันภัย สินค้า พิพาท กับจำเลย ที่ 2 และ จำเลย ที่ 2 ได้ ออก กรมธรรม์ คุ้มครอง ชั่วคราว(Cover Note) หมายเลข 11424 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2531 ตาม เอกสารหมาย จ. 7 ต่อมา วันที่ 5 พฤษภาคม 2531 ได้ มี การ ขนส่ง สินค้า พิพาทจาก โรงงาน ของ บริษัท ผู้ขาย ไป ยัง ท่าเรือ ใน เมือง ซีแอทเทิล โดย ทาง รถไฟ แต่เมื่อ สินค้า พิพาท ถึง ท่าเรือ ซีแอทเทิล ปรากฏว่า สินค้า พิพาท ได้รับ ความเสียหาย ตาม รายงาน การ สำรวจ เอกสาร หมาย จ. 15และ ภาพถ่าย ความเสียหาย ของ สินค้า พิพาท หมาย จ. 16
ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ แรก มี ว่า โจทก์ ได้ว่า จ้างจำเลย ที่ 1 ขนส่ง สินค้า จาก หน้า โรงงาน ของ บริษัท ผู้ขาย เมือง ซินซินเนติ ไป ยัง ท่าเรือ วีแอทเทิลหรือไม่ โจทก์ นำสืบ ว่า ใน การ สั่ง ซื้อ สินค้า พิพาท จาก บริษัท ผู้ขาย มี ข้อตกลง ซื้อ ขาย กัน ตาม ราคา F.O.B. ซินซินเนติ รัฐโอไฮโอ ตาม ใบสั่งซื้อ เอกสาร หมาย จ. 4อันเป็น ราคา ส่งมอบ สินค้า พิพาท ที่ หน้า โรงงาน เมือง ซินซินเนติ ผู้ซื้อต้อง รับ สินค้า และ ทำการ ขนส่ง ไป ยัง ท่าเรือ เอง โจทก์ จึง ได้ว่า จ้างจำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ขนส่ง สินค้า จาก หน้า โรงงาน ของ ผู้ขาย เพื่อ ขนส่งสินค้า มา ยัง ท่าเรือ กรุงเทพ แต่ จำเลย ที่ 1 จะ ว่าจ้าง บุคคล ใด เป็นผู้ขนส่ง ต่อ หรือไม่ ไม่ทราบ เห็นว่า การ ซื้อ ขาย สินค้า ตาม ราคาเอฟ.โอ.บี.(F.O.B. ซึ่ง ย่อ มาจาก Free on Board) หมายความ ถึงราคา ที่ คำนวณ จาก แหล่ง ขาย ซึ่ง รวม ค่า ขนส่ง จาก โรงงาน มา สู่ ท่าเรือของ ประเทศ ผู้ส่งออก แต่ ไม่รวม ค่า ขนส่ง และ ค่า ประกันภัย เป็น ข้อ สัญญามาตรฐาน ที่ ทราบ กัน ทั่วไป ใน วงการ ค้า ระหว่าง ประเทศ แต่ ปรากฏว่าใบสั่งซื้อ เอกสาร หมาย จ. 4 ได้ ระบุ เมือง ซินซินเนติ รัฐโอไฮโอ ต่อ ท้าย เอฟ.โอ.บี. จึง ทำให้ เข้าใจ ว่า บริษัท ผู้ขาย มี หน้าที่ขนส่ง สินค้า ลง เรือ ที่ ท่าเรือ เมือง ซินซินเนติ แต่ ปรากฏว่า เมือง ซินซินเนติ ไม่มี ท่าเรือ ใบสั่งซื้อ สินค้า พิพาท เอกสาร หมาย จ. 4ซึ่ง โจทก์ เป็น ผู้ ออก อาจ ทำให้ เข้าใจ ได้ หรือไม่ ว่า ได้ ระบุ ถ้อยคำที่ อาจ ทำให้ เกิด การ โต้เถียง ได้ว่า การ ซื้อ ขาย สินค้า พิพาท ที่ ได้ ระบุถ้อยคำ ดังกล่าว ได้ ตกลง ส่งมอบ กัน ณ ที่ ใด แน่ แม้ ว่า นาย กมล สนธิเกษตริน อดีต เลขาธิการ คณะกรรมการ ส่งเสริม การพาณิชย์ นาวี พยานโจทก์ มา เบิกความ ว่า ระบบ การ ซื้อ ขาย แบบ เอฟ.โอ.บี. คือ ราคาสินค้า และ ค่าใช้จ่าย ที่ ผู้ขาย จะ ต้อง จัด ส่ง สินค้า ให้ แก่ ผู้รับ ณหน้า โรงงาน ที่ ผลิต สินค้า นั้น หรือ ณ ท่าเรือ ของ ประเทศ ที่ ผลิตสินค้า นั้น ก็ ได้ แล้วแต่ จะ ตกลง กัน แต่ การ ขาย สินค้า ให้ แก่ ผู้ซื้อหน้า โรงงาน ของ ผู้ขาย โดย ผลิต ราคา หน้า โรงงาน มี การ ใช้ คำ ว่า เอ๊กซ์เวิร์คส (Ex-Works) หรือ เอ๊กซ์-แฟคตอรี่ (Ex-Factory) อย่างไร ก็ ดี ใน การ ชำระ ราคา สินค้า พิพาท ให้ แก่ บริษัท ผู้ขาย โจทก์ ได้ขอให้ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด เปิด เล็ตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) ตาม เอกสาร หมาย จ. 6 ซึ่ง เอกสาร ดังกล่าวได้ กำหนด เงื่อนไข ใน ข้อ 44 ว่า การ ขนส่ง สินค้า จาก ประเทศ สหรัฐอเมริกา ราคา ส่ง ถึง ท่า (เอฟ.โอ.บี) ข้อ 46 มี เอกสาร ที่ ต้องการ ได้ แก่ ฯลฯ บิลออฟเลดดิ้ง (Bill of Lading) หรือ ใบตราส่ง บน เรือเดินทะเล ที่อยู่ ใน สภาพ เรียบร้อย จาก คำขอ เปิด เล็ตเตอร์ออฟเครดิต ของ โจทก์ เพื่อ ชำระ ราคา สินค้า พิพาท ให้ บริษัท ผู้ขาย แสดง ให้เห็นว่า ราคา ซื้อ ขาย สินค้า พิพาท ตกลง กัน ให้ บริษัท ผู้ขายส่ง สินค้าถึง ท่าเรือ ต้น ทาง นอกจาก นี้ ใน การ ขนส่ง สินค้า พิพาท ใน เที่ยว ที่ ได้มี การ ซ่อมแซม แล้ว ตาม เอกสาร หมาย จ. 13 ได้ ระบุ ไว้ ชัด ว่า บริษัทผู้ขาย เป็น ผู้ส่ง สินค้า และ บริษัท เคนตั๊กกี้ คอนเทนเนอร์ จำกัด เป็น ผู้ขนส่ง ใน ทางปฏิบัติ ของ บริษัท ผู้ขาย ใน เอกสาร ต่าง ๆ แสดงให้ เห็นว่า บริษัท ผู้ขาย มี หน้าที่ ส่ง สินค้า โดย ว่าจ้าง บริษัท เคนตั๊กกี้ คอนเทนเนอร์ จำกัด เป็น ผู้ขนส่ง เพื่อ ลง เรือ ที่ ท่าเรือ ซีแอทเทิล ดังนั้น ที่ ใบ กำกับ สินค้า (Invoice) ตาม เอกสาร หมาย จ. 11 ระบุ ราคา สินค้า 69,225 เหรียญ สหรัฐ จึง เป็น การ รวม ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไว้ ใน ราคา สินค้า พิพาท แล้ว แต่ ไม่ได้ ระบุ รายละเอียด ในใบ กำกับ สินค้า ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่า โจทก์ สั่ง ซื้อ สินค้า พิพาทจาก บริษัท ผู้ขาย ใน ราคา เอฟ.โอ.บี. ที่ ท่าเรือ ต้น ทาง ดังนั้นการ ขนส่ง สินค้า พิพาท จาก หน้า โรงงาน ของ บริษัท ผู้ขาย โดย ทาง รถไฟ ไปยัง ท่าเรือ ซีแอทเทิล จึง อยู่ ใน ความรับผิด ชอบ ของ บริษัท ผู้ขาย จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ตกลง รับขนส่ง สินค้า พิพาท จาก โจทก์ ใน เส้นทางดังกล่าว จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ต้อง รับผิด ใน ความเสียหาย ของ สินค้า พิพาทที่ เกิดขึ้น ต่อ โจทก์
ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ต่อมา ที่ ว่า จำเลย ที่ 2ได้รับ ประกันภัย สินค้า จาก โจทก์ ใน เส้นทาง ระหว่าง หน้า โรงงาน ของบริษัท ผู้ขาย ถึง ทา เรือ เมือง ซีแอทเทิล หรือไม่ เห็นว่า การ รับ ประกันภัย สินค้า พิพาท จำเลย ที่ 1 ยัง ไม่ได้ ออก กรมธรรม์ประกันภัยฉบับ จริง ให้ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ได้ ออก กรมธรรม์ คุ้มครอง ชั่วคราว (Cover note) ตาม เอกสาร หมาย จ. 7 ให้ ความคุ้มครอง สินค้า ของ โจทก์ ไว้ ล่วงหน้า และ ได้ ระบุ เส้นทาง คุ้มครอง จาก ท่าเรือ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ถึง กรุงเทพมหานคร แสดง ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ ตกลง กับ โจทก์ โดยชัดแจ้ง ถึง เส้นทาง ที่ จำเลย ที่ 2 รับประกัน ภัย สินค้า พิพาทเริ่มต้น ตั้งแต่ ท่าเรือ ใน ประเทศ สหรัฐอเมริกา ดังนั้น ต้อง ถือว่า การ คุ้มครอง ภัย ต้อง เริ่ม ตั้งแต่ ท่าเรือ ต้น ทาง ที่ สินค้า ขน ลง เรือ แล้วเพราะ การ ขนส่ง สินค้า โดย ทาง รถไฟ จาก เมือง ซินซินเนติ ถึง ท่าเรือ เมือง ซีแอทเทิล สินค้า พิพาท ยัง อยู่ ใน ความรับผิด ชอบ ของ บริษัท ผู้ขาย และ ยัง ไม่ได้ มี การ ขนส่ง สินค้า ลง เรือ ขณะที่ สินค้า พิพาทเกิด วินาศภัย โจทก์ ยัง ไม่มี ส่วนได้เสีย
ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า ถ้าหาก จำเลย ที่ 2 ไม่มี เจตนา ให้ ความคุ้มครอง ใน ช่วง การ ขนส่ง จาก หน้า โรงงาน ของ บริษัท ผู้ขาย ไป ยังท่าเรือ ซีแอทเทิล แล้ว จำเลย ที่ 2 ก็ ไม่มี เหตุจำเป็น อย่างใด ที่ จะ ต้อง ออก กรมธรรม์ คุ้มครอง ชั่วคราว (Cover note) ให้ โจทก์ เพราะ เมื่อ สินค้า มา ถึง เรือ และ นำ สินค้า ลง เรือ แล้ว จำเลย ที่ 2จะ ต้อง ออก กรมธรรม์ประกันภัย ฉบับ จริง ให้ โจทก์ อีก ครั้งหนึ่ง เห็นว่าแม้ การ ประกันภัย สินค้า พิพาท เป็น การ ประกันภัย ทางทะเล แต่ การ ที่ จำเลยที่ 2 ออก กรมธรรม์ คุ้มครอง ชั่วคราว ตาม เอกสาร หมาย จ. 7 นั้น เป็น กรณีที่ จำเลย ที่ 2 รับประกัน ภัย ล่วงหน้า ที่ ยัง ไม่สามารถ พิจารณา รับประกันภัย ได้ ใน ขณะ นั้น เพราะ เงื่อนไข ท้าย เอกสาร ดังกล่าว ระบุ ว่ายัง ไม่ทราบ ชื่อ เรือ ที่ ขนส่ง สินค้า และ วาง เงื่อนไข ให้ โจทก์ จะ ต้องส่งมอบ ใบ แจ้ง การ ขนส่ง สินค้า ทั้งหมด หรือ บางส่วน และ ชื่อ เรือ ขนส่งสินค้า แก่ จำเลย ที่ 2 ก่อน ที่ เรือ ลำ นั้น จะ ออก เดินทาง หรือ หลังจากที่ เรือ ออก เดินทาง โดย เร็ว ที่สุด เท่าที่ จะ ทำได้ ดังนั้น เหตุผลที่ จำเลย ที่ 2 ออก กรมธรรม์ คุ้มครอง ชั่วคราว (Cover note) ให้ โจทก์ จึง มิใช่ จำเลย ที่ 2 รับประกัน ภัย สินค้า พิพาท ระหว่าง ขนส่งทาง รถไฟ จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ที่สินค้า พิพาท เกิด วินาศภัย ต่อ โจทก์ ปัญหา อื่น ตาม ฎีกา ของ โจทก์ จึงไม่ต้อง วินิจฉัย ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ทุก ข้อ ”
พิพากษายืน

Share