คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2468

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

มรฎก คนต่างประเทศ สัญญาเกี่ยวกับมรฏกในภายน่าเป็นโมฆะที่ดิน,กรรมสิทธิ์ วิธีพิจารณาแพ่ง การใช้กฎหมาย ค่าธรรมเนียม

ย่อยาว

โจทย์ฟ้องขอรับส่วนแบ่งที่ดินโฉนดที่ ๒๒๓๓ ซึ่งมีชื่อนางพันแลจำเลยในน่าโฉนด ทางพิจารณาได้ความว่า โจทย์เปนบุตร์นางพันอันเกิดแต่สามีคนก่อนชื่อนายทอมมัสกอลินส์คนในบังคับอังกฤษ เมื่องนายทอมมัสกอลินส์ตาย นายพันมาได้จำเลยเปนสามีแต่งงานกันที่สถานกงสุลอังกฤษตามแบบพิธีอังกฤษ จำเลยแลนางพันเป็นคนในบังคับอังกฤษจดฐเบียรก่อนสัญญา นางพันตายโดยไม่มีพินัยกรรม มีที่ดินรายพิภาษนี้จดฐเบียรลงชื่อจำเลยกับนางพัน ปัญหามีว่าจะควรใช้กฎหมายอะไรปรับคดี
ศาลต่างประเทศชี้ขาดว่า การสืบกรรมสิทธิ์ที่ดินในกรุงสยามต้องใช้กฎหมายสยามลักษณผัวเมียมรฏกกับกฎหมายที่ดิน วินิจฉัยว่าที่ดินรายพิภาษเปนสมรส มรฏกของนางพันมีส่วนกรรมสิทธิ ๑ ใน ๓ โจทย์มีส่วนได้ ๑ ใน ๖ ตามกฎหมายมรฏก
ศาลอุทธรณ์กรุงเทพฯ ฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่า โจทย์ได้รับที่ดินรายอื่นไปแลสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องขอส่วนแบ่งในที่ดินของมารดาอีก ถือว่าเป็นสัญญาที่มีสินจ้างแลสมบูรณ์ โจทย์ไม่มีสิทธิฟ้องอีก จึงให้ยกฟ้องเสีย
ศาลฎีกาตัดสินว่า ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงใหม่นั้น คดีไม่มีหลักฐานที่ควรยกขึ้นวินิจฉัยในคดีมรฏกที่ไม่มีพินัยกรรม แม้จะปรากฏว่ามีสัญญาเกิดขึ้นก็ดี สัญญาเช่นนี้เป็นสัญญาโมฆะผิดความประสงค์กฎหมาย(ฎีกาที่ ๑๙๕/๒๔๖๕)
ส่วนปัญหาเดิมที่ว่า จะควรใช้กฎหมายอะไรนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ถ้าเปนปัญหาเถียงกันถึงหลักกฎหมายเรื่องมรฏกไม่มีพินัยกรรมแล้วการรับมรฏกแลการสืบกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ก็ดี ฤาสืบว่าทรัพย์อย่างใดจะเป็นสังหาริมทรัพย์ฤาอสังหาริมทรัพย์นั้น ต้องใช้กฎหมายของประเทศที่ที่ดินตั้งอยู่
หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างสยามกับอังกฤษ ค.ศ.๑๘๕๖ ข้อ ๓ ค.ศ.๑๘๘๓ ข้อ ๑๓ ค.ศ.๑๙๐๙ ข้อ ๗ ไม่มีความถึงการวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ที่ดิน
เพราะฉนั้นเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินในกรุงสยามจึงต้องวินิจฉัยตามกฎหมายสยาม ที่ดินรายนี้เปนสมรส สามีภรรยาสินเดิมมาด้วยกัน เปนมรฏกของนางพัน ๑ ใน ๓
ส่วนการจะวินิจฉัยว่าจะมีผู้ใดบ้างที่ควรรับทรัพย์มรฏกของนางพันนั้น คดียังไม่มีหลักฐานพยานพิศูจน์ถึงข้อนี้ จำเลยควรขอหนังสือแต่งตังเปนผู้จัดการทรัพย์ที่ดินรายนี้ต่อกงสุลอังกฤษ แลถ้าจะมีข้อโต้แย้งต่อไปอย่างใดอีก ก็ให้นำวิจักขณพยานมาสืบถึงหลักกฎหมายอังกฤษตามแต่จะใช้บังคับข้อนั้น ๆ ส่วนค่าธรรมเนียมศาลฎีกายังไม่สั่ง

Share