แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามโอนที่ดินมีโฉนดแก่โจทก์โดยอ้างว่าปู่และย่าได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์โดยไม่ได้จดทะเบียนแต่ได้มอบการครอบครองให้เป็นเวลาเกิน10ปีโจทก์เป็นผู้รับมรดกที่ดินพิพาทจากบิดาแล้วครอบครองต่อมาจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382เมื่อจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลรับว่าจะโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วจะเกี่ยวให้โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้จำเลยที่3ก่อนโอนไม่ได้ข้อที่จำเลยที่3อ้างว่าเป็นบันทึกข้อตกลงให้ชำระค่าใช้จ่ายนั้นความจริงเป็นเพียงบันทึกรายงานการประชุมเท่านั้นประกอบกับจำเลยที่3ไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกเงินจำนวนดังกล่าวเข้ามาด้วยการที่จะให้โจทก์ชำระเงินค่าใช้จ่ายก่อนโอนนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยที่3จะต้องไปว่ากล่าวกันต่างหาก
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น บุตร ของ นาย และ กับ นาง โต บุญยม จำเลย ทั้ง สาม เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาง เจียม บุญยม ย่า ของ โจทก์ เมื่อ ประมาณ 30 ปี มา แล้ว นาย เฮม นางเจียม บุญยม ซึ่ง เป็น ปู่ย่า ของ โจทก์ ได้ ขาย ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 15 เนื้อที่ 8 ไร่ และได้ ส่งมอบ ที่ดิน ส่วน ที่ ขาย ให้ แก่ นาย และ ครอบครอง อย่าง เป็น เจ้าของ ตลอดมา แต่ ยัง ไม่ได้ แบ่งแยก โฉนด โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ นาย และ นายเฮม และ นาง เจียม ก็ ถึงแก่กรรม เสีย ก่อน โดย นาง เจียม ถึงแก่กรรม เมื่อ ปี 2519 จำเลย ทั้ง สาม ได้รับ การ แต่งตั้ง ให้ เป็น ผู้จัดการมรดกของ นาง เจียม ตาม คำสั่งศาล ส่วน นาย และ บิดา โจทก์ ถึงแก่กรรม เมื่อ ปี 2524 โจทก์ ได้รับ มรดก ที่ดินพิพาท จาก นาย และ แล้ว ครอบครองอย่าง เป็น เจ้าของ ตลอดมา จน ถึง ปัจจุบัน จำเลย ทั้ง สาม ได้ ร่วม กับนาย อรุณ วันแอเลาะ จัดการ แบ่ง มรดก ของ นาง เจียม ให้ แก่ ทายาท ตาม บันทึก ข้อตกลง แบ่ง ทรัพย์ ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2532 เมื่อ จำเลยทั้ง สาม จัดการ แบ่ง ที่ดิน แล้ว โจทก์ เห็นว่า จำเลย ทั้ง สาม แบ่งแยก ที่ดินส่วน ของ โจทก์ ไม่ถูกต้อง ไม่มี ที่ดิน แปลง ใด ที่ จำเลย แบ่ง ออก มา ให้ โจทก์มี เนื้อที่ เต็ม จำนวน 8 ไร่ ตาม บันทึก ข้อตกลง แบ่ง ทรัพย์สิน โจทก์ ได้ติดต่อ ให้ จำเลย ทั้ง สาม แบ่งแยก ที่ดิน เนื้อที่ 8 ไร่ ตาม ที่ โจทก์ครอบครอง เป็น เจ้าของ ให้ แก่ โจทก์ หลาย ครั้ง ครั้งหลัง สุด ประมาณ กลางเดือน มีนาคม 2534 หาก แบ่งแยก ไม่ได้ ก็ ขอให้ โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 15เนื้อที่ 7 ไร่ 47 ตารางวา พร้อม ทั้ง ชดใช้ ราคา ที่ดิน ที่ ขาด จาก 8 ไร่ให้ โจทก์ จำเลย ทั้ง สาม เพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม แบ่งแยกที่ดิน โฉนด เลขที่ 15 ตาม ที่ โจทก์ ครอบครอง ให้ แก่ โจทก์ หาก แบ่งแยกไม่ได้ ให้ ถือเอา ที่ดิน โฉนด เลขที่ 15 ที่ แบ่งแยก ออก ใหม่ เนื้อที่ 7ไร่ 47 ตารางวา แทนที่ ดิน ของ โจทก์ ที่ ซื้อ และ ครอบครอง มา โดย ให้จำเลย ทั้ง สาม ไป จดทะเบียน โอน ใส่ ชื่อ โจทก์ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ภายใน1 เดือน และ ให้ ชดใช้ ราคา ที่ดิน ที่ ขาด จาก 8 ไร่ ให้ โจทก์ ด้วยหาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แสดง เจตนา แทน จำเลย ทั้ง สาม
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า โจทก์ เป็น ผู้มีสิทธิ รับมรดก ราย นี้ จริงและ ตาม บันทึก ข้อตกลง แบ่ง ทรัพย์สิน ก็ ได้ พิจารณา ให้ โจทก์ ได้รับส่วนแบ่ง ที่ นอกเหนือ จาก ทรัพย์มรดก จริง แต่ โจทก์ ได้ ตกลง แล้ว ว่า ใน การรังวัด แบ่งแยก ที่ดิน หาก ได้ไม่ ถึง 8 ไร่ โจทก์ ก็ ยินดี รับ เพียง นั้นการ ตกลง ได้ กระทำ ต่อหน้า อนุญาโตตุลาการ โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิเรียกร้อง เอา ค่า ชดใช้ ที่ดิน ส่วน ที่ ขาด ไป แต่อย่างใด คง มีสิทธิ ได้ที่ดิน โฉนด เลขที่ 15 ตาม ฟ้อง เมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2534 โจทก์จำเลย ทุกคน และ ผู้มีสิทธิ รับมรดก ได้ ตกลง กัน ทำ บันทึก ต่อหน้าอนุญาโตตุลาการ ว่า ที่ดิน ส่วน ที่ ขาย กัน แต่ เดิม จำนวน เนื้อที่ ประมาณ8 ไร่ ให้ ทายาท ผู้มีสิทธิ รับมรดก ชำระ ค่าใช้จ่าย เสีย ก่อน จึง จะ โอนให้ ทายาท ได้ เนื่องจาก มรดก ราย นี้ มี หนี้สิน อยู่ กับ สหกรณ์ คลอง สาม วาซึ่ง ผู้จัดการมรดก ต้อง ไป หา เงิน มา ไถ่ถอน นอกจาก นี้ โจทก์ ยัง ต้อง ชำระค่าใช้จ่าย เพื่อ ประโยชน์ ร่วมกัน ของ กอง มรดก ตาม ข้อตกลง อีก เป็นจำนวนเงิน ถึง 1,300,000 บาท ซึ่ง โจทก์ ก็ ทราบ ดี แต่ โจทก์ กลับนำ คดี มา ฟ้อง ศาล จึง เป็น การ ใช้ สิทธิ ไม่สุจริต เมื่อ โจทก์ ยัง ไม่นำ เงินดังกล่าว มา ชำระ โจทก์ ก็ ย่อม ไม่มี สิทธิ ที่ จะ รับโอน มรดก ราย นี้ ไปขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ จำเลย รับ กัน ว่า ที่ดินพิพาท ที่ จำเลย จะ ต้องโอน ให้ แก่ โจทก์ นั้น เป็น ที่ดิน โฉนด เลขที่ 15 เนื้อที่ 7 ไร่ 47ตารางวา โจทก์ ไม่ติดใจ เรียกร้อง ราคา ค่าที่ดิน จำนวน ที่ ขาด จาก8 ไร่ ไป 3 งาน เศษ และ ขอให้ ศาล วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดีไม่อาจ วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้น ได้ เพราะ มิใช่ ปัญหาข้อกฎหมาย แต่เห็นว่า ข้อเท็จจริง ตาม ฟ้อง และ ตาม คำให้การ รวมทั้ง ที่ คู่ความ แถลงต่อ ศาล นั้น พอ วินิจฉัยชี้ขาด ได้ แล้ว จึง ให้ งดสืบพยาน โจทก์ และ จำเลย
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม โอน ที่ดิน โฉนดเลขที่ 15 เลขที่ ดิน 206 ตำบล หน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัด ปทุมธานี เนื้อที่ 7 ไร่ 47 ตารางวา ให้ แก่ โจทก์ หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา แทน จำเลยทั้ง สาม
จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยที่ 3 ว่า โจทก์ จะ ต้อง ปฏิบัติ ตาม บันทึก ข้อตกลง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม2534 ข้อ 3.2 ที่ ว่า โจทก์ จะ ต้อง ชำระ เงิน ค่าใช้จ่าย ให้ จำเลย ที่ 3เสีย ก่อน จึง จะ มีสิทธิ บังคับ ให้ จำเลย ที่ 3 โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่โจทก์ ได้ จริง หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ ฟ้อง ให้ จำเลย ทั้ง สาม โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ ตาม สัญญาซื้อขาย ซึ่ง นาย เฮม และ นาง เจียม ได้ ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ นาย และ บิดา โจทก์ พร้อม กับ มอบ การ ครอบครอง ให้เป็น เวลา เกินกว่า 10 ปี แล้ว โจทก์ เป็น ผู้รับมรดก ที่ดินพิพาท จากนาย และ แล้ว ครอบครอง ต่อมา จน ได้ กรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว การ ที่ จำเลย ที่ 3จะ เกี่ยง ให้ โจทก์ ชำระ ค่าใช้จ่าย ให้ จำเลย ที่ 3 เสีย ก่อน จึง จะ มีสิทธิบังคับ ให้ จำเลย ที่ 3 โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ ได้ นั้น เห็นว่า ข้อ ที่จำเลย ที่ 3 อ้างว่า เป็น บันทึก ข้อตกลง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2534ข้อ 3.2 นั้น ความจริง ข้ออ้าง ของ จำเลย ที่ 3 ดังกล่าว เป็น เพียงบันทึก รายงาน การ ประชุม หา ได้ เป็น บันทึก ข้อตกลง ดัง ที่ จำเลย ที่ 3ฎีกา ไม่ ประกอบ กับ จำเลย ที่ 3 ไม่ได้ ฟ้องแย้ง เรียกเงิน จำนวนดังกล่าว เข้า มา ด้วย จึง ไม่อาจ บังคับ ให้ โจทก์ ชำระ ค่าเสียหายให้ แก่ จำเลย ที่ 3 ได้ เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของโจทก์ แล้ว จำเลย ที่ 3 จะ เกี่ยง ให้ โจทก์ ชำระ เงิน ค่าใช้จ่าย ให้ แก่จำเลย ที่ 3 เสีย ก่อน จึง จะ โอน ที่ดินพิพาท ให้ ไม่ได้ เป็น เรื่อง ที่จำเลย ที่ 3 จะ ต้อง ไป ว่ากล่าว กัน ต่างหาก ที่ ศาลล่าง พิพากษาต้อง กัน มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ที่ 3 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน