คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ปัญหาว่าจำเลยมิได้ละทิ้งที่จะใช้ประโยชน์ในทางภารจำยอมในที่ดินของโจทก์เป็นเวลา10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1399ทางภารจำยอมจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่นั้นเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองและเท่ากับเป็นกรณีที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนว่ามิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยละทิ้งที่จะใช้ประโยชน์ทางภารจำยอมจึงยังคงมีอยู่อันเป็นการวินิจฉัยประกอบกับข้ออุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างว่าทางภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ตามมาตรา1400จึงหาเป็นการนอกประเด็นไม่ ภารจำยอมนั้นกฎหมายมุ่งถึงประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์เป็นข้อสำคัญคำว่าหมดประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1400หมายความว่าไม่สามารถจะใช้ประโยชน์ต่อไปได้ขณะหนึ่งหากกลับใช้ภารจำยอมได้เมื่อใดภารจำยอมก็กลับมีขึ้นมาอีกแต่ต้องยังไม่พ้นอายุความตามมาตรา1399เมื่อทางภารจำยอมยังมีสภาพเป็นทางซึ่งเจ้าของสามยทรัพย์จะใช้เมื่อใดก็ได้การที่จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแปลงอื่นและมีสิทธิผ่านที่ดินนั้นเข้าออกทางสาธารณะได้ไม่มีผลกระทบถึงทางภารจำยอมทางภารจำยอมจึงยังไม่สิ้นไป

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน ทางภารจำยอม ใน ที่ดินของ โจทก์ ตาม โฉนด เลขที่ 3248 ที่ ได้ จดทะเบียน ไว้ เพื่อ ประโยชน์แก่ ที่ดิน ของ จำเลย ตาม โฉนด เลขที่ 40109 และ 3235
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน ภารจำยอม ใน ที่ดินของ โจทก์ โฉนด เลขที่ 3248 ตำบล สวนใหญ่ (บ้านสวนใหญ่) อำเภอ เมือง นนทบุรี (ตลาดขวัญ) จังหวัด นนทบุรี ที่ ได้ จดทะเบียน ไว้ เพื่อ ประโยชน์ แก่ ที่ดิน จำเลย ตาม โฉนด เลขที่ 40109 และ 3235ตำบล สวนใหญ่ (บ้านสวนใหญ่) อำเภอ เมือง นนทบุรี (ตลาดขวัญ) จังหวัด นนทบุรี
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าจำเลย มิได้ ละทิ้ง ที่ จะ ใช้ ประโยชน์ เป็น เวลา 10 ปี ทางภารจำยอมจึง ยัง คง มีผล ใช้ บังคับ อยู่ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399ซึ่ง โจทก์ ได้ ฟ้องคดี นี้ โดย อาศัย หลักแห่งข้อหา แต่เพียง ว่าทางภารจำยอม หมด ประโยชน์ แก่ สามยทรัพย์ ตาม มาตรา 1400 เท่านั้นการ ที่ ศาลอุทธรณ์ นำ เอา ข้อกฎหมาย คน ละ เรื่อง มา วินิจฉัย จึง เป็นการ วินิจฉัย นอกประเด็น แห่ง คดี นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า คดี นี้ ศาลอุทธรณ์ได้ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง มา แล้ว ว่า ทางภารจำยอม เข้า ออก ใน ที่ดินของ โจทก์ เป็น ประโยชน์ แก่ ที่ดิน ของ จำเลย ซึ่ง เป็น สามยทรัพย์ทางภารจำยอม ใน ที่ดิน ของ โจทก์ ยัง ไม่ หมด ประโยชน์ แก่ สามยทรัพย์ของ จำเลย ซึ่ง เป็น การ วินิจฉัย ตรง ตาม ประเด็น แห่ง คดี ที่ โจทก์ยกขึ้น อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา ใน คำฟ้อง ส่วน ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยไป ด้วย ว่า จำเลย มิได้ ละทิ้ง ที่ จะ ใช้ ประโยชน์ เป็น เวลา 10 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 ทางภารจำยอม จึง ยัง คงมีผล ใช้ บังคับ อยู่ นั้น แม้ จะ เป็น ปัญหา ที่ โจทก์ มิได้ ยกขึ้น เป็นข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา ก็ ตาม แต่ ปัญหา ดังกล่าว เป็นปัญหา เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ซึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจ หยิบยก ขึ้น วินิจฉัย ได้เอง แม้ จะ ไม่มี คู่ความ ฝ่ายใด กล่าวอ้างเท่ากับ เป็น กรณี ที่ ศาลอุทธรณ์ ยกขึ้น วินิจฉัย โดย อาศัย จาก พยานหลักฐานใน สำนวน ว่า กรณี ของ จำเลย ก็ มิใช่ เป็น เรื่อง ที่ จำเลย ละทิ้ง ที่ จะ ใช้ประโยชน์ ทางภารจำยอม จึง ยัง คง มี อยู่ อันเป็น การ วินิจฉัย ประกอบ กับข้อ ที่ โจทก์ อุทธรณ์ นั่นเอง จึง หาใช่ เป็น การ นอกฟ้อง นอกประเด็นแต่ ประการใด ไม่ คดี คง มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ต่อไป ว่า การ ที่ จำเลยซึ่ง เป็น เจ้าของ สามยทรัพย์ ซื้อ ที่ดิน แปลง อื่น ซึ่ง ติดกับ ทางสาธารณะแล้ว เป็น กรณี ที่ จำเลย ซึ่ง เป็น เจ้าของ สามยทรัพย์ มี ทาง เข้า ออก สู่ทางสาธารณะ ด้าน อื่น แล้วทางภารจำยอม ที่ ผ่าน ที่ดิน ของ โจทก์ ย่อม หมด ประโยชน์ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1400 หรือไม่ ข้อเท็จจริง ที่ ได้ ตาม ที่โจทก์ นำสืบ ว่า โจทก์ ได้ จดทะเบียน ทางภารจำยอม ประเภท ทางเดินกว้าง 6 เมตร ยาว ตลอด แนว ที่ดิน ของ โจทก์ โฉนด เลขที่ 3248 เพื่อประโยชน์ แก่ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 3235 และ 40109 ใช้ เป็น ทาง เข้า ออกสู่ ซอย บุรีรังสรรค์ ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 11 และ จ. 12 ต่อมา ที่ดิน โฉนด เลขที่ 3235 และ 40109 ตกเป็น ของ จำเลย และ จำเลย ได้ ซื้อที่ดิน โฉนด เลขที่ 166371 ซึ่ง ติดกับ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 3235 ด้าน หนึ่งและ ติดกับ ถนน สาย กรุงเทพ-นนทบุรี อีก ด้าน หนึ่ง และ จำเลย ได้รับ อนุญาต จาก กรมทางหลวง ให้ ทำ ทาง กว้าง 4 เมตร ผ่าน เข้า ออก สู่ถนน กรุงเทพ-นนทบุรี ได้ เห็นว่า การ ที่ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 3248ของ โจทก์ ต้อง ตกอยู่ใน ภารจำยอม ให้ เจ้าของ โฉนด เลขที่ 3235 และ 40109เข้า ออก ได้ ก็ เพื่อ ประโยชน์ แก่ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 3235 และ 40109ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 และ แม้ เจ้าของ ที่ดินภารยทรัพย์ และ สามยทรัพย์ ตกเป็น เจ้าของ เดียว กัน หาก ต้องการ ให้ภารจำยอม สิ้นไป ก็ ต้อง ไป จดทะเบียน เพิกถอน เห็น ได้ว่า กฎหมาย มุ่ง ถึงประโยชน์ แก่ อสังหาริมทรัพย์ เป็น ข้อสำคัญ มาตรา 1400 วรรคแรกบัญญัติ ว่า ถ้า ภารจำยอม หมด ประโยชน์ แก่ สามยทรัพย์ ไซร้ ท่าน ว่าภารจำยอม นั้น สิ้นไป แต่ ถ้า ความ เป็น ไป มี ทาง ให้ กลับ ใช้ ภารจำยอม ได้ ไซร้ท่าน ว่า ภารจำยอม นั้น กลับ มี ขึ้น อีก แต่ ต้อง ยัง ไม่ พ้น อายุความ ที่ ระบุไว้ ใน มาตรา ก่อน เห็นว่า คำ ว่า หมด ประโยชน์ ตาม กฎหมาย มาตรา ดังกล่าวหมายความ ว่า ไม่สามารถ จะ ใช้ ประโยชน์ ต่อไป ได้ ขณะ ใด ขณะ หนึ่ง เพราะหาก กลับ ใช้ ภารจำยอม ได้ เมื่อใด ภารจำยอม นั้น ก็ กลับ มี ขึ้น มา อีกแต่ ต้อง ยัง ไม่ พ้น อายุความ ตาม มาตรา 1399 ใน คดี นี้ ทางภารจำยอมยัง มี สภาพ เป็น ทาง อยู่ เจ้าของ สามยทรัพย์ จะ ใช้ เมื่อใด ก็ ได้ การ ที่จำเลย ซึ่ง เป็น เจ้าของ สามยทรัพย์ เป็น เจ้าของ ที่ดิน แปลง อื่น และ มีสิทธิผ่าน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว เข้า ออก ทางสาธารณะ ได้ ไม่มี ผล กระทบ ถึงภารจำยอม ซึ่ง เป็น ทรัพยสิทธิ ระหว่าง สามยทรัพย์ และ ภารยทรัพย์ เพราะกฎหมาย มุ่ง ถึง ประโยชน์ ของ อสังหาริมทรัพย์ เป็น สำคัญ ดัง วินิจฉัยข้างต้น ฉะนั้น ทางภารจำยอม ใน คดี นี้ จึง ยัง ไม่ หมด ประโยชน์ แก่สามยทรัพย์ ยัง ไม่ สิ้นไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400ตาม ที่ โจทก์ ฎีกา ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share