คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์เพราะจำเลยผิดสัญญาเช่าจำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งแต่งตั้งประธานกรรมการและผู้ว่าการของโจทก์เป็นโมฆะจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมส่วนฟ้องแย้งที่ขอให้บังคับโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินต่อมีกำหนด3ปีและมีสิทธิต่อสัญญาได้คราวละ3ปีตลอดไปเป็นฟ้องแย้งที่กล่าวอ้างสัญญาเช่าเดิมจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมแต่แม้ฟังได้ตามฟ้องแย้งศาลก็ไม่สามารถบังคับโจทก์ให้ทำสัญญาเช่าให้แก่จำเลยได้โดยชอบที่จะยกฟ้องแย้งส่วนนี้ในชั้นตรวจคำฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)การที่ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งและคืนค่าขึ้นศาลส่วนนี้แก่จำเลยจึงไม่ชอบ

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 โดย มี นาย สมหมาย ตามไท เป็น ผู้ว่าการ มีอำนาจ กระทำ แทน โจทก์ ได้ จำเลย ได้ ทำ สัญญาเช่า ที่ดิน ของ โจทก์ บริเวณ ย่า นสถานีรถไฟ อรัญประเทศ มี กำหนด การ เช่า 1 ปี ใน อัตรา ค่าเช่า ปี ละ 46,384 บาท ต่อมา จำเลย เปลี่ยนแปลง ลักษณะการ ใช้ ที่ดิน โดย ยัง ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก โจทก์ โจทก์ จึง บอกเลิก การ เช่าขอให้ บังคับ จำเลย รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง พร้อม ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวารออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย เป็น เงิน 268,757 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จและ ชำระ ค่าเสียหาย เท่ากับ ค่าเช่า ปี ละ 43,824 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้องจนกว่า จะ มอบ ที่ดิน คืน โจทก์
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะพลเอก วิมล วงศ์วานิช ประธาน กรรมการ ของ โจทก์ ขาด คุณสมบัติ ตาม กฎหมาย จึง ไม่มี อำนาจ เสนอ แต่งตั้ง นาย สมหมาย ตามไท เป็น ผู้ว่าการ รถไฟ แห่งประเทศ ไทย รวมทั้ง คณะรัฐมนตรี ไม่เคย ลงมติ แต่งตั้ง เช่นนั้นนาย สมหมาย เอง ก็ ขาด คุณสมบัติ ตาม กฎหมาย เช่นเดียวกัน จึง ไม่มี อำนาจ ทำการ แทน โจทก์ ได้ จำเลย เป็น ผู้เช่า ที่ดิน ของ โจทก์ ตาม ฟ้อง โดย ได้ เช่าใช้ ประโยชน์ ติดต่อ จาก บิดา จำเลย เมื่อ หมด สัญญา ก็ ได้ เช่า ต่อ อีก 3 ปีจำเลย ไม่ได้ ผิดสัญญา ขอให้ ยกฟ้อง และ ขอให้ ศาล พิพากษา ว่า คำสั่งแต่งตั้ง พลเอก วิมล วงศ์วานิช กับ นาย สมหมาย ตามไท เป็น โมฆะ ไม่ให้ บุคคล ทั้ง สอง เกี่ยวข้อง กับ การรถไฟแห่งประเทศไทย และ ขอให้บังคับ โจทก์ ทำ สัญญา ให้ จำเลย เช่า ที่ดิน ต่อ มี กำหนด 3 ปี นับแต่คำพิพากษา คดี นี้ ถึงที่สุด กับ ให้ จำเลย มีสิทธิ ต่อ สัญญาเช่า ได้ คราว ละ3 ปี ตลอด ไป
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง รับคำ ให้การ จำเลย ส่วน ฟ้องแย้ง ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึง ไม่รับฟ้อง แย้ง
จำเลย อุทธรณ์ คำสั่ง ที่ ไม่รับฟ้อง แย้ง
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ข้อ ต่อไปมี ว่า ควร รับฟ้อง แย้ง ของ จำเลย ไว้ พิจารณา หรือไม่ เห็นว่า คดี นี้โจทก์ ฟ้องขับไล่ จำเลย ออกจาก ที่ดิน ของ โจทก์ เพราะ จำเลย ประพฤติ ผิดสัญญาเช่า แต่ จำเลย ฟ้องแย้ง ขอให้ ศาล พิพากษา ว่า คำสั่ง แต่งตั้งประธาน กรรมการ และ ผู้ว่าการ รถไฟ แห่งประเทศ ไทย เป็น โมฆะ เพราะ ขัด ต่อมาตรา 26 แห่ง พระราชบัญญัติ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494จึง ไม่เกี่ยวกับ ฟ้องเดิม ศาลล่าง ทั้ง สอง ไม่รับฟ้อง แย้ง ของ จำเลยส่วน นี้ ชอบแล้ว ส่วน ฟ้องแย้ง ที่ จำเลย ขอให้ ศาล บังคับ โจทก์ ทำ สัญญาให้ จำเลย เช่า ที่ดิน โจทก์ ต่อ มี กำหนด 3 ปี นับแต่ คำพิพากษา คดี นี้ถึงที่สุด และ ให้ จำเลย มีสิทธิ ต่อ สัญญาเช่า ได้ คราว ละ 3 ปี ตลอด ไป นั้นเป็น ฟ้องแย้ง ที่ กล่าวอ้าง สัญญาเช่า เดิม ที่ โจทก์ ฟ้อง ฟ้องแย้ง ของจำเลย ส่วน นี้ จึง เกี่ยวกับ ฟ้องเดิม แต่ ตาม ฟ้องแย้ง ของ จำเลย นั้นแม้ ข้อเท็จจริง จะ ฟังได้ ตาม ฟ้องแย้ง ศาล ก็ ไม่สามารถ บังคับ โจทก์ให้ ทำ สัญญาเช่า ให้ แก่ จำเลย ตาม คำขอ ท้ายฟ้อง แย้ง ได้ ศาลชั้นต้นชอบ ที่ จะ ยกฟ้อง แย้ง ส่วน นี้ เสีย ได้ ใน ชั้น ตรวจ คำฟ้อง แย้ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้นแต่ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง มี คำสั่ง ไม่รับฟ้อง แย้ง และ คืน ค่าขึ้นศาลส่วน นี้ แก่ จำเลย นั้น เป็น คำสั่ง ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควร แก้ไข ให้ ถูกต้อง ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ที่ ขอให้ บังคับ โจทก์ทำ สัญญา ให้ จำเลย เช่า ที่ดิน ต่อ มี กำหนด 3 ปี นับแต่ คำพิพากษา คดี นี้ถึงที่สุด เสีย นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share