คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5112/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ถนนพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)ทันทีที่มีผู้แสดงเจตนาอุทิศให้แม้ไม่มีประชาชนใช้ถนนพิพาทอีกหรือแม้ผู้อุทิศให้จะได้แสดงเจตนาโดยมีเงื่อนไขว่าหากทางราชการได้ตัดถนนสายใหม่ให้ยกเลิกถนนพิพาทก็หาทำให้ถนนพิพาทสิ้นสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปไม่หรือแม้จะได้ครอบครองถนนพิพาทเป็นเวลานานเท่าใดก็ไม่มีสิทธิยึดถือเอาถนนพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้อีกตามมาตรา1306

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน รื้อถอน เสา คอนกรีตเสริม เหล็ก และ เสา ไม้ ซึ่ง สร้าง กีดขวาง ถนน หนองแขม-บางบอน (สายเดิม) และ รื้อถอน เสา ป้าย ชื่อ แสดง ว่า เป็น ถนน หรือ ทาง ส่วนบุคคล สงวนสิทธิออกจาก ถนน หนองแขม-บางบอน (สายเดิม) ของ โจทก์ หาก จำเลย ทั้ง สาม ไม่ยอม รื้อถอน ก็ ให้ โจทก์ เป็น ผู้ รื้อถอน โดย กำหนด ให้ จำเลย ทั้ง สามร่วมกัน รับผิด เสีย ค่าใช้จ่าย ใน การ รื้อถอน ทั้งสิ้น แทน โจทก์ ให้ จำเลยทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 658,062.42 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน จำนวน 583,324.04 บาท ตั้งแต่วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า ถนนหนองแขม-บางบอน (สายเดิม) ไม่เคย มี สภาพ เป็น ทางหลวง มา ก่อน ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน รื้อถอน เสา คอนกรีตเสริม เหล็ก และ เสา ไม้ ซึ่ง สร้าง กีดขวาง ถนนหนองแขม-บางบอน (สายเดิม) และ รื้อถอน เสา ป้าย ชื่อ ทาง ส่วนบุคคล สงวนสิทธิ ออกจาก ถนน หนองแขม- บางบอน (สายเดิม) และ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ 300,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2530 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ คำขอ อื่นนอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ประเด็น ข้อ แรก ที่ จำเลยทั้ง สาม ฎีกา ว่า ถนน สาย พิพาท ไม่ได้ เป็น ถนน สาธารณะ ที่อยู่ ใน ความ ดูแลรักษา คุ้มครอง ป้องกัน ของ โจทก์ โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ บังคับเอา แก่ จำเลย ทั้ง สาม นั้น ถนน สาย พิพาท ตัด ผ่าน ที่ดิน หลาย เจ้าของเจ้าของ ที่ดิน ที่ อุทิศ ที่ดิน ให้ แต่ละ แปลง ต่าง ประสงค์ จะ ให้ ถนน สายพิพาท เป็น ทางสาธารณะ ถนน สาย พิพาท เดิม กว้าง ประมาณ 10 เมตร เมื่อสร้าง เสร็จ ก็ มี ประชาชน ใช้ สัญจร ไป มา ทางราชการ เคย ใช้ งบประมาณของ ทางราชการ ซื้อ ท่อ มา ฝัง ให้ น้ำไหล ผ่าน ลอด ใต้ ถนน และ ซื้อ ดิน ลูกรังมา ถม เพื่อ ซ่อม บำรุง ประมาณ 4-5 ครั้ง ทั้ง ได้ ลาดยาง ถนน นั้น บางส่วนแล้ว ศาลฎีกา เห็นว่า แม้ จำเลย ทั้ง สาม จะ นำสืบ โต้แย้ง ว่า ถนน สาย พิพาทไม่ได้ เป็น ทางสาธารณะ ที่ ประชาชน ใช้ ร่วมกัน เพราะ ประชาชน มิได้ ใช้สัญจร ไป มา ตลอด สาย ประชาชน คง ใช้ ร่วมกัน เฉพาะ ช่วง ตัด ถนน คือ ช่วง ที่เป็น ที่ดิน จัดสรร ของ นาย เสงี่ยม ถาวรรัตน์ ซึ่ง อยู่ ไม่ถึง ถนน ส่วน ที่ เป็น ที่พิพาท และ ทางราชการ ไม่เคย ออก เงิน สมทบ ตัด ถนน สาย พิพาทหรือ ทำการ ซ่อม บำรุง รักษา แต่อย่างใด ทั้ง เมื่อ ทางราชการ ตัด ถนนสาย ใหม่ คือ ถนน บาง บอน สาย 5 แล้ว ถนน สาย พิพาท เฉพาะ ส่วน ที่ ตัดผ่าน ที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สาม ประชาชน ได้ เลิก ใช้ โดย สิ้นเชิง สภาพ ของถนน บริเวณ ที่ เป็น ที่พิพาท คง เป็น ที่รกร้าง ไม่มี คน ใช้ สัญจร ไป มา อีกต่อไป ดัง ภาพถ่าย หมาย ล. 3 และ ล. 4 ก็ ตาม แต่เมื่อ ได้ พิจารณา ข้อ นำสืบของ โจทก์ ประกอบ พยานเอกสาร หมาย ล. 5 ซึ่ง เป็น พยานเอกสาร ที่ จำเลยทั้ง สาม อ้างอิง อัน ได้ แก่ หนังสือ ชี้แจง ของ อำเภอ หนองแขม ที่ มี ถึง นาย เสงี่ยม ผู้ อุทิศ ที่ดิน ข้างเคียง กับ ที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สาม เพื่อ ให้ ใช้ ตัด ถนน สาย พิพาท ว่า ทางราชการ และ ประชาชน มี ความ ประสงค์ที่ จะ ใช้ ถนน สาย พิพาท เป็น ทาง สาธารณประโยชน์ ต่อไป แล้ว ข้อเท็จจริงเชื่อ ได้ว่า ถนน สาย พิพาท ตลอด สาย ซึ่ง รวม ถึง ส่วน ที่ ตัด ผ่าน ที่ดินของ จำเลย ทั้ง สาม หรือ ส่วน ที่ เป็น ที่พิพาท ด้วย ได้ ตกเป็น สาธารณสมบัติของ แผ่นดิน ประเภท ทรัพย์สิน สำหรับ พลเมือง ใช้ ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) แล้ว ทันที ที่ จำเลย ที่ 1และ นาย ต่วน ใน ฐานะ ผู้แทนโดยชอบธรรม ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 แสดง เจตนา อุทิศ ให้ ใช้ ตัด ถนน สาย พิพาท แม้ จะ ได้ความ ดัง ที่ จำเลย ทั้ง สามนำสืบ ว่า เมื่อ ทางราชการ ตัด ถนน สาย ใหม่ คือ ถนน บางบอน สาย 5ซึ่ง อยู่ ใกล้ กับ ถนน สาย พิพาท ไม่มี ประชาชน ใช้ ถนน เฉพาะ ส่วน ที่ เป็นที่พิพาท อีก หรือ แม้ นาย ต่วน จะ ได้ อุทิศ ที่พิพาท ให้ ตัด ถนน สาย พิพาท โดย มี เงื่อนไข ต่อ ผู้ มา เจรจา ขอให้ อุทิศ ส่วน ที่ เป็น ที่พิพาทไว้ ว่า หาก ทางราชการ ได้ ตัด ถนน สาย ใหม่ คือ ถนน บางบอน สาย 5 แล้ว ให้ยก เลิก ถนน สาย พิพาท ส่วน ที่ เป็น ที่พิพาท เสีย ก็ ตาม ข้อเท็จจริงดังกล่าว หา ได้ ทำให้ ถนน สาย พิพาท ตลอด สาย รวม ถึง ส่วน ที่ เป็น ที่พิพาทสิ้นสภาพ ความ เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไป ไม่ เมื่อ ถนน สาย พิพาทเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถนน ดังกล่าว ก็ อยู่ ใน ความ ดูแล รักษาคุ้มครอง ป้องกัน ของ โจทก์ โจทก์ จึง มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม ฎีกาของ จำเลย ทั้ง สาม ประเด็น นี้ ฟังไม่ขึ้น
ประเด็น ต่อมา ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ว่า จำเลย ทั้ง สาม ไม่ได้ ทำละเมิด ต่อ โจทก์ เพราะ โจทก์ มิได้ เป็น ผู้ ตัด ถนน สาย พิพาท หรือ มิได้เป็น ผู้ดูแล รักษา ถนน สาย ดังกล่าว ขณะ เกิดเหตุ ถนน บริเวณ ส่วน ที่ เป็นที่พิพาท ไม่มี สภาพ เป็น ถนน แล้ว เพราะ มี ต้น ไม้ และ หญ้า ขึ้น ปกคลุมโดย ทั่วไป ประชาชน ไม่สามารถ ใช้ เป็น ทาง สัญจร ไป มา ได้ จำเลย ทั้ง สามเป็น ผู้ครอบครอง ที่ดิน บริเวณ ส่วน ที่ เป็น ที่พิพาท มา โดย ตลอด จำเลยทั้ง สาม จึง มีสิทธิ ที่ จะ เข้า ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ส่วน ที่ เป็น ที่พิพาทนั้น เห็นว่า แม้ ถนน ส่วน ที่ เป็น ที่พิพาท ประชาชน จะ มิได้ ใช้ ประโยชน์ใน การ สัญจร ไป มา แล้ว ก็ ตาม แต่เมื่อ ถนน ส่วน ดังกล่าว ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภท ทรัพย์สิน สำหรับ พลเมือง ใช้ ร่วมกันแล้ว สภาพ ความ เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน หา ได้ สูญ สิ้นไป เพราะ การไม่ได้ ใช้ แต่อย่างใด ไม่ ดังนั้น แม้ จำเลย ทั้ง สาม จะ ได้ ครอบครอง ถนนบริเวณ ส่่วน ที่ เป็น ที่พิพาท เป็น เวลา นาน เท่าใด ก็ ตาม จำเลย ทั้ง สามก็ ไม่มี สิทธิ ที่ จะ ยึดถือ เอา ที่ดิน ส่วน ที่ เป็น ที่พิพาท กลับคืน มาเป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ทั้ง สาม ได้ อีก ตาม นัย แห่ง ประมวล กฎหมาย แพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 1306 ฉะนั้น การ ที่ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ขุด ไถทำลาย ถนน ส่วน ที่ เป็น ที่พิพาท รวมทั้ง การ ร่วมกัน นำ เสา คอนกรีตเสริม เหล็ก และ เสา ไม้ จำนวน หลาย ต้น ไป ปัก ลง ใน ส่วน ของ ถนน ที่ ถูก ขุดไถ ทำลาย และ การ ที่ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน นำ เสา ไป ปัก ติด ป้าย บอก ข้อความว่า ถนน ดังกล่าว เป็น ทาง ส่วนบุคคล ที่ จำเลย ทั้ง สาม สงวนสิทธิ ดังภาพถ่าย หมาย จ. 1 จ. 20 และ จ. 21 ย่อม เป็น การ ทำให้ สาธารณสมบัติของ แผ่นดิน ที่อยู่ ใน ความ ครอบครอง ดูแล รักษา ของ โจทก์ เสียหายการกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สาม จึง เป็น การ ทำละเมิด ต่อ โจทก์ ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สาม ประเด็น นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษายืน

Share