คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5050/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่บริษัทจำเลยโดยกรรมการผู้จัดการเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจาโดยให้มีผลตั้งแต่วันรุ่งขึ้นแล้วโจทก์ไม่ได้มาทำงานตั้งแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่จำเลยปิดประกาศปลดโจทก์ออกจากงานซึ่งเกิน3วันมิใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยอุทธรณ์ว่าเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ปิดประกาศมิใช่วันที่เลิกจ้างด้วยวาจาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันใดเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าในวันแรกที่โจทก์ไม่ได้มาทำงานนั้นโจทก์มีสิทธิฟ้องหรือไม่เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา54

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เมื่อ วันที่ 3 มกราคม 2538โดย ให้ มีผล ตั้งแต่ วันที่ 4 มกราคม 2538 โดย โจทก์ ไม่มี ความผิด และไม่บอกกล่าว ล่วงหน้า ขอให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย 21,000 บาทและ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า 7,466 บาท แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ได้ ละทิ้ง หน้าที่ ตั้งแต่ วันที่ 4 ถึงวันที่ 30 มกราคม 2538 โดย ไม่มี เหตุอันสมควร จำเลย จึง เลิกจ้าง โจทก์โจทก์ กระทำผิด ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) และ (4) จำเลย จึง ไม่ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ให้ แก่ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย 21,000 บาทและ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า 7,466 บาท แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “จำเลย อุทธรณ์ ว่า ใน ขณะที่ โจทก์ ยื่นฟ้อง โจทก์ ยัง มิได้ พ้น จาก การ เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลยโดย จำเลย ยัง มิได้ มี ประกาศ ปลด โจทก์ ออกจาก การ เป็น ลูกจ้าง แต่ บริษัทจำเลย ได้ ปลด โจทก์ ออกจาก การ เป็น พนักงาน หลัง วันที่ 4 มกราคม 2538และ ใน ช่วง ที่ บริษัท จำเลย ประกาศ ปลด โจทก์ ออกจาก เป็น พนักงาน จำเลยก็ ยัง มิทราบ ว่า ถูก โจทก์ ฟ้อง เป็น คดี ต่อ ศาล ทั้งนี้ บริษัท จำเลยได้ ปลด โจทก์ ใน วันที่ 10 มกราคม 2538 ดังนั้น ใน ช่วง ระยะเวลาก่อน ที่ โจทก์ จะ ถูก ปลด บริษัท จำเลย ยัง ถือว่า โจทก์ ยัง เป็น พนักงานของ บริษัท จำเลย อยู่ ย่อม ยัง ไม่มี การ โต้แย้ง สิทธิ ตาม กฎหมาย ที่โจทก์ นำ เรื่อง มา ฟ้อง บริษัท จำเลย จึง เป็น การ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการ ที่ โจทก์ ขาด จาก งาน ไป โดย พลการ ย่อม ทำให้ บริษัท จำเลย ได้รับ ความเสียหาย บริษัท จำเลย เห็นว่า โจทก์ ขาดงาน ไป เกินกว่า 3 วัน ติดต่อ กันบริษัท จำเลย จึง จำเป็น ต้อง ประกาศ ปลด โจทก์ ออกจาก หน้าที่ ดังกล่าวและ บริษัท จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ตาม ฟ้อง นั้น พิเคราะห์แล้ว คดี นี้ ศาลแรงงานกลาง ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า บริษัท จำเลย โดย นาย ดำรงพันธ์ วิริยะคุปต์ กรรมการ ผู้จัดการ เลิกจ้าง โจทก์ ด้วย วาจา เมื่อ วันที่ 3 มกราคม 2538 ให้ มีผล ตั้งแต่ วันที่ 4 มกราคม 2538การ ที่ โจทก์ ไม่ได้ มา ทำงาน ตั้งแต่ วันที่ 4 มกราคม 2538 จน ถึงวันที่ 10 มกราคม 2538 ซึ่ง จำเลย ปิดประกาศ ปลด โจทก์ ออกจาก งานมิใช่ เป็น การ ละทิ้ง หน้าที่ เป็น เวลา 3 วันทำงาน ติดต่อ กัน โดยไม่มี เหตุอันสมควร จำเลย อุทธรณ์ ว่า ไม่ได้ เลิกจ้าง โจทก์ ใน วันที่3 มกราคม 2538 แต่ เลิกจ้าง ใน วันที่ 10 มกราคม 2538 เป็น การโต้แย้ง ดุลพินิจ ของ ศาลแรงงานกลาง ที่ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลยเลิกจ้าง โจทก์ วัน ใด เพื่อ นำ ไป สู่ ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ ว่า ใน วันที่ 4มกราคม 2538 ที่ โจทก์ ฟ้องคดี นี้ โจทก์ มีสิทธิ ฟ้อง หรือไม่ จึง เป็นอุทธรณ์ ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาลแรงงานและ วิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายก อุทธรณ์ จำเลย

Share