แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเวลานานเกือบ 5 ปี นับจากวันฟ้อง และเลื่อนคดีจากวันนัดเดิมเป็นระยะเวลาห่างกันถึง 41 วัน ทั้งศาลชั้นต้นยังกำหนดให้นัดสืบพยานไว้เต็มวันและได้กำชับทนายความจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้นำพยานมาสืบให้พร้อมตามนัด ทนายความจำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมมีโอกาสติดต่อตระเตรียมให้จำเลยที่ 3 มาเบิกความเป็นพยานได้ล่วงหน้าเป็นเวลานานถึง 1 เดือนเศษ ซึ่งทนายความจำเลยที่ 3และที่ 4 ตลอดทั้งตัวจำเลยที่ 3 ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าคดีนี้ได้ค้าง การพิจารณามาเกือบ 5 ปี และการที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานคราวละหลายวันโดยกำหนดให้สืบพยานตลอดทั้งวัน ทั้งได้กำชับให้นำพยานมาสืบตามนัดก็เพื่อเร่งรัดการพิจารณาคดีมิให้ล่าช้าต่อไป การที่ตัวจำเลยที่ 3 ทราบวันนัดล่วงหน้าและมีโอกาสเตรียมตัวเป็นพยานนับเดือน แต่จำเลยที่ 3 ไม่มาตามนัดกลับไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือติดต่อให้ทนายความของตนทราบจนกระทั่งทนายความต้องติดต่อทางโทรศัพท์ไปที่บ้านของจำเลยที่ 3 ในวันนัด ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะออกนั่งพิจารณาเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มิได้ใส่ใจในการเป็นพยานเพื่อประโยชน์ของตนเองการกระทำของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่ามีเจตนาประวิงคดีให้ล่าช้าทั้งการที่ตัวจำเลยที่ 3 มาศาลชั้นต้นไม่ได้เพราะฝนตกหนักก็มิใช่เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้แต่อย่างใดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจงดสืบตัวจำเลยที่ 3 ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เดิมจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 จากจำเลยที่ 3 ที่ดินโฉนดเลขที่ 25453จากจำเลยที่ 4 และที่ดินบางส่วนของโฉนดเลขที่ 1377จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 ของจำเลยที่ 1 และที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวข้างต้นให้แก่โจทก์ทั้งสอง โดยให้โจทก์ทั้งสองเข้าสวมสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่ภายหลังจำเลยทั้งหกร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองด้วยการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 5และจำเลยที่ 5 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 6อีกทอดหนึ่งซึ่งจำเลยทั้งหกรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบและไม่มีการชำระเงินค่าตอบแทนกัน นอกจากนี้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังใช้อุบายเพื่อให้โจทก์ทั้งสองตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายและมีคำขอบังคับขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4ที่ 5 และที่ 6 แล้วบังคับให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4โอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้กำหนดให้เป็นผู้รับโอน โดยโจทก์ทั้งสองจะชำระค่าตอบแทนการโอนตามสัญญา และให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระค่าเสียหายหากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452,25453 และ 1377 ก็ให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงินมัดจำ ค่าปรับ และค่าเสียหาย พร้อมด้วยดอกเบี้ย ให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเช่นนี้ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลของจำเลยทั้งหกเนื่องจากจำเลยทั้งหกร่วมกันโอนที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้แล้วไปอีกหลายทอดโดยจำเลยทั้งหกรู้อยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ จึงขอให้บังคับไปตามสัญญา แต่ถ้าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องเกี่ยวกับการรับโอนที่ดินบางแปลงดังกล่าวแล้ว ก็ให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงินมัดจำ ค่าปรับ และค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ยแทนอันเป็นการขอให้บังคับเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับ คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ หาได้เคลือบคลุมไม่ แม้ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 และที่ 2จะมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2ก็สามารถทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นในภายภาคหน้า ไม่จำเป็นที่ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทอยู่ก่อนแล้วส่วนข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทข้อ 2 ที่ระบุว่า “ผู้จะขายตกลงให้ผู้จะซื้อเข้าสวมสิทธิและหน้าที่ในการซื้อขายที่ดินตาม “สัญญา ก.” แทนผู้จะขายได้ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญานั้นทุกประการ นับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้”และข้อ 5 ระบุว่า “ส่วนสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทเฉพาะ2 ใน 11 ส่วน ตาม “สัญญา ก.” ซึ่งผู้จะขายมีอยู่อย่างไรก็ให้ผู้จะซื้อรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่นั้น ๆ โดยผู้จะซื้อจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องหรือบังคับใด ๆ และอื่นใดแก่ผู้จะขายไม่ว่ากรณีใด ๆนับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้” ย่อมแปลความหมายได้ว่า จำเลยที่ 2 ย้ำเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่จะขายที่ดินพิพาทดังกล่าวตามสิทธิที่จำเลยที่ 2 มีอยู่ต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองรวมกับที่ดินแปลงอื่น ข้อความที่ว่านี้หาได้หมายถึงการโอนสิทธิเรียกร้องหรือการแปลงหนี้ใหม่เพื่อให้หนี้เดิมระงับไปไม่ เหตุที่โจทก์ทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้เนื่องจากการกระทำของ น. ผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการรับชำระหนี้จากโจทก์ทั้งสองด้วยการพยายามบ่ายเบี่ยงอ้างเหตุต่าง ๆ นานาเพื่อมิให้โจทก์ทั้งสองปฏิบัติการชำระหนี้และดำเนินการจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวได้ทัน พฤติการณ์ของ น. บ่งบอกได้ว่าความจริงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายผู้ขายไม่ประสงค์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นการที่ น. ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ตามที่โจทก์ทั้งสองขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพียงฝ่ายเดียว โจทก์ทั้งสองหาได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเอาแก่โจทก์ทั้งสองและโจทก์ทั้งสองชอบจะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขายร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนั้นด้วยก็ตาม ก่อนโจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่25452,25453 เอกสารหมาย จ.1 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2โจทก์ทั้งสองได้ไปพบกับจำเลยที่ 3 แจ้งเรื่องที่โจทก์ทั้งสองจะซื้อที่ดินทั้งสามแปลงที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.2 ให้แก่จำเลยที่ 2 ไว้ให้จำเลยที่ 3 ทราบ และนัดให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปทำสัญญากับโจทก์ทั้งสองโดยตรงซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ตกลง ต่อมาโจทก์ทั้งสองทราบจากจำเลยที่ 3 ว่า ช. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พาคนอื่นมาซื้อที่ดินแปลงโฉนดเลขที่25452 และ 25453 จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปแล้ว ทั้งการโอนขายที่ดินทั้งสองแปลงนั้นก็โอนขายกันในราคาที่ต่ำกว่าสัญญาจะซื้อ จะขายที่ทำไว้กับจำเลยที่ 2 มาก ซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 4ก็ทราบดีว่าที่ดินทั้งสามแปลงทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะขายให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วแสดงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน เอกสารหมาย จ.2 ได้ทำการโอนที่ดินให้แก่ จำเลยที่ 5 และที่ 6 ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสอง ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.1 เสียเปรียบโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 3ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ให้เพิกถอนการโอนที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452และ 25453 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 วรรคหนึ่งเมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้เพิกเฉยไม่ใช้สิทธิฟ้องร้องเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียประโยชน์โจทก์ทั้งสองจึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนจำเลยที่ 2เพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ทั้งสองในมูลหนี้นั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองยกบทบัญญัติในมาตรา 233 และ 237 วรรคหนึ่ง มาปรับใช้แก่คดีนี้ชอบแล้วหาได้เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่ การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 5 ในราคาแปลงละ 1,000,000 บาทและจำเลยที่ 5 ขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 6ในราคา 1,500,000 บาท เป็นการซื้อขายที่ดินในราคาที่ต่ำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดโดยทั่วไป ทั้งต่ำกว่าราคาที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2ไว้ก่อนแล้วอย่างมาก เมื่อนำราคาซื้อขายที่ต่ำกว่าราคาปกติดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับการที่จำเลยที่ 5 ไม่เคยไปดูสภาพที่ตั้งของที่ดินที่จะซื้อก่อนว่ามีสภาพอย่างไรมีทางเข้าออกทางสาธารณะหรือไม่ ย่อมบ่งบอกได้ว่าจำเลยที่ 5 รับโอนที่ดินแปลงโฉนดเลขที่25452 และ 25453 จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 มาโดยไม่สุจริตอีกทั้งจำเลยที่ 5 และที่ 6 เกี่ยวข้องเป็นญาติกับ ช.กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วยแล้วจึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่า จำเลยที่ 5 และที่ 6 ทราบดีอยู่ก่อนที่จะทำการจดทะเบียนโอนแล้วว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452 และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนแล้ว อันเป็นอีกเหตุหนึ่งที่สนับสนุนให้เชื่อว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวและดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันโดยไม่สุจริตโจทก์ทั้งสองผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตน ได้อยู่ก่อนชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสองแปลงนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 จำเลยทั้งหกร่วมกันฉ้อฉลมิให้โจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452,25453 และ 1377 ที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังนี้ หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองกำหนดให้เป็นผู้รับโอนสามารถรับโอนได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ก็จะต้องร่วมกันรับผิดคืนเงินมัดจำจำนวน2,760,800 บาท และเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินมัดจำจำนวน5,521,600 บาท รวมเป็นเงิน 8,282,400 บาท ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ทั้งสอง การกำหนดค่าทนายความแก่คู่ความผู้ชนะคดีเป็นดุลพินิจของศาลในแต่ละศาล คดีนี้เป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์สูงถึง73,282,400 บาทและเป็นคดีที่มีข้อยุ่งยากสลับซับซ้อน ทั้งต้องใช้เวลาในการพิจารณาในศาลชั้นต้นนานถึง 5 ปีเศษ หากเปรียบเทียบอัตราค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้แทน โจทก์ทั้งสอง 1,000,000 บาท และศาลอุทธรณ์กำหนด 500,000 บาท กับอัตราตามที่กฎหมายกำหนดให้ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว อัตราที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดดังกล่าวยังต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายให้อำนาจศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดได้อยู่มาก นับได้ว่าศาลล่างทั้งสองได้ใช้ดุลพินิจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้แทนโจทก์ทั้งสองเหมาะสมแก่รูปคดีและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยที่ 2โดยนายชม กิจเชวงกุล กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 ของจำเลยที่ 3โฉนดเลขที่ 25453 ของจำเลยที่ 4 และที่ดินจำนวน 2 ใน 11ส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 1377 ของจำเลยที่ 3 กับที่ 4 และผู้มีชื่อรวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 5 ไร่เศษ จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในราคา13,804,000 บาท ชำระเงินมัดจำในวันทำสัญญาจำนวน2,760,800 บาท ส่วนที่เหลืออีก 11,043,200 บาท ตกลงชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์วันที่ 5 กันยายน 2532จำนวน 4,141,200 บาท และชำระเป็นตั๋วเงินโดยธนาคารเป็นผู้รับอาวัลเป็นเงิน 6,902,000 บาท เมื่อครบกำหนด6 เดือนนับแต่วันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ต่อมาปลายเดือนมิถุนายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยนายชมกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เสนอขายที่ดินโฉนดเลขที่29097 ของจำเลยที่ 1 เนื้อที่ 5 ไร่ 94 ตารางวาและที่ดินที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ดังกล่าวข้างต้นให้แก่โจทก์ทั้งสอง โดยคิดราคาที่ดินเฉพาะโฉนดเลขที่29097, 25452 และ 25453 เฉลี่ยตารางวาละ 14,000 บาท รวมเนื้อที่ 10 ไร่ 66 ตารางวา เป็นเงิน 56,924,000 บาท ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 1377 เนื้อที่ 1 งานเศษมีสภาพเป็นถนนจึงไม่นำมาคิดราคาครั้นวันที่ 28 มิถุนายน 2532 โจทก์ทั้งสองร่วมกันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และที่ 2โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอเปลี่ยนแปลงราคาต่อตารางวาเสียใหม่คือที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 เนื้อที่ 5 ไร่ 94 ตารางวาคิดตารางวาละ 20,592 บาท คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 43,120,000 บาทชำระเงินมัดจำในวันทำสัญญาจำนวน 8,624,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 34,496,000 บาท ตกลงชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์วันที่ 5 กันยายน 2532 โดยชำระเป็นตั๋วเงินโดยธนาคารเป็นผู้รับอาวัลกำหนดใช้เงินในวันที่ 5 มกราคม 2533โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยินยอมให้โจทก์ทั้งสองใส่ชื่อบุคคลอื่นหรือนิติบุคคลเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ทั้งสองได้หากจำเลยทั้งสองผิดสัญญายินยอมให้โจทก์ทั้งสองฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาและยินยอมคืนเงินมัดจำและใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 1 เท่าของเงินที่โจทก์ทั้งสองวางมัดจำไว้ ส่วนที่ดินอีก 3 แปลง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงจะขายให้โจทก์ทั้งสองในราคา 13,804,000 บาท เท่ากับราคาที่จำเลยที่ 2ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยให้โจทก์ทั้งสองเข้าสวมสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3และที่ 4 แต่โจทก์ทั้งสองต้องชำระเงินมัดจำให้แก่จำเลยที่ 1และที่ 2 ในวันทำสัญญาจำนวน 2,760,800 บาท ส่วนที่เหลืออีก11,043,200 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำหนดให้โจทก์ทั้งสองชำระเป็นเงินสดจำนวน 4,141,200 บาท ให้แก่จำเลยที่ 3และที่ 4 ในวันที่ 5 กันยายน 2532 ซึ่งเป็นวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ส่วนที่เหลืออีก 6,902,000 บาท ให้ชำระแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นตั๋วเงินโดยธนาคารเป็นผู้รับอาวัลกำหนดใช้เงินเมื่อครบ 6 เดือนนับแต่วันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวโจทก์ทั้งสองได้ชำระเงินมัดจำค่าที่ดินทั้งสี่แปลงให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเงิน11,384,800 บาท โดยนายชมกรรมการของจำเลยที่ 1 และที่ 2ได้ให้โจทก์ทั้งสองจ่ายเป็นเช็คระบุชื่อผู้ถือเป็นจำเลยที่ 2หลังจากทำสัญญาแล้วโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 และที่ 2ได้แจ้งเรื่องการซื้อขายให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบ ซึ่งจำเลยที่ 3และที่ 4 ก็ยินดีปฏิบัติตามสัญญาเดิม ภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 2โดยนายชมได้สมคบกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6ร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง เพื่อให้โจทก์ทั้งสองยอมยกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 ของจำเลยที่ 3 และที่ดินโฉนดเลขที่ 25453 ของจำเลยที่ 4 ไปยังจำเลยที่ 5 ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2532 ในราคาเพียงแปลงละ1,000,000 บาท แล้ววันที่ 23 สิงหาคม 2532 จำเลยที่ 5ได้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25453 ไปให้จำเลยที่ 6 อีกทอดหนึ่งในราคาเพียง 1,500,000 บาท ซึ่งจำเลยทั้งหกรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบและไม่มีการชำระเงินค่าตอบแทนกันแต่โจทก์ทั้งสองยังไม่ยอมเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยนายชมจึงได้ใช้อุบายเพื่อให้โจทก์ทั้งสองตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยบอกโจทก์ทั้งสองก่อนถึงวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ว่าการชำระราคาที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 เป็นตั๋วเงินให้ระบุสั่งจ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 เหมือนกับที่เคยชำระเงินมัดจำด้วยเช็คระบุชื่อผู้ถือเป็นจำเลยที่ 2 มาก่อนแล้วเมื่อถึงกำหนดนัดวันที่5 กันยายน 2532 จำเลยทั้งหกไม่ยอมไปพบโจทก์ทั้งสองที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ คงมีเฉพาะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 พร้อมทนายความไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินเฉพาะโฉนดเลขที่ 29097 เท่านั้น วันนั้นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1และทนายความพยายามพูดจาเกลี้ยกล่อมให้โจทก์ทั้งสองเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสี่แปลง และระหว่างดำเนินการของเจ้าพนักงานที่ดินก็พยายามหาเหตุบกพร่องด้านเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวกับการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของบริษัทแฮปปี้พระประแดงจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่โจทก์ทั้งสองยินยอมให้เข้ามาเป็นผู้รับโอนที่ดินแทน เพื่อประวิงเวลาทำให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ทันครั้นใกล้หมดเวลาราชการผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 แกล้งทักท้วงว่าตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 34,496,000 บาท ซึ่งออกโฉนดบริษัทแฮปปี้พระประแดง จำกัดสัญญาจะใช้เงินให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องจะต้องออกสัญญาจะใช้เงินให้แก่จำเลยที่ 1 และไม่ยอมรับตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว ทั้งไม่ยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่บริษัทแฮปปี้พระประแดง จำกัด ผู้รับโอนโจทก์จึงขอนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปแก้ไข แต่ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ก็ไม่ยินยอม จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง และจำเลยทั้งหกได้ร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย ไม่อาจใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคาร โรงภาพยนตร์ ตลาดสด และโกดังเก็บสินค้า ซึ่งโจทก์ทั้งสองตั้งงบประมาณค่าก่อสร้างและพัฒนาที่ดินไว้เป็นเงิน 443,000,000 บาท เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่อาจลงมือดำเนินการก่อสร้าง หรือพัฒนาที่ดินได้ทำให้ราคาก่อสร้างและพัฒนาที่ดินมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.25 ต่อเดือนจำเลยทั้งหกจึงต้องร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสองในอัตราเดือนละ 5,537,500 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปหากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องโดยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่25452, 25453 และ 1377 ให้แก่โจทก์ทั้งสองไม่ได้โจทก์ทั้งสองก็ขอเลิกสัญญาเฉพาะที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวและจำเลยทั้งหกต้องร่วมกันคืนเงินมัดจำจำนวน 2,760,800 บาทและค่าปรับจำนวน 5,521,600 บาท พร้อมทั้งค่าเสียหายอันเกิดจากการขาดผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นเงิน 65,000,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 29097เนื้อที่ 5 ไร่ 94 ตารางวา ให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้กำหนดให้เป็นผู้รับโอนโดยโจทก์ทั้งสองจะชำระค่าตอบแทนในการโอนให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2ตามสัญญา ให้เพิกถอนการโอนโดยฉ้อฉลซึ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 25452ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 5 และเพิกถอนการโอนให้โดยฉ้อฉลซึ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 25453 ระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5และจำเลยที่ 6 แล้วบังคับให้จำเลยที่ 3 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 บังคับให้จำเลยที่ 4 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 25453 และบังคับให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของตนในที่ดินโฉนดเลขที่ 1377 ให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้กำหนดให้เป็นผู้รับโอน โดยโจทก์ทั้งสองจะชำระค่าตอบแทนในการโอนให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระค่าเสียหายเดือนละ 5,537,500 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งหกจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสี่แปลงให้แก่โจทก์ทั้งสอง หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 25452, 25453 และ 1377 ดังกล่าว ก็ให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงินมัดจำจำนวน 2,760,800 บาท และค่าปรับจำนวน5,521,600 บาท พร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายขาดผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นเงิน 65,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสองพร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ทั้งสองเพียง 1 แปลง คือที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 ในราคา 43,120,000 บาท จำเลยที่ 1ได้รับเงินมัดจำจำนวน 8,624,000 บาท ส่วนที่เหลือโจทก์ทั้งสองจะชำระในวันที่ 5 กันยายน 2532 ซึ่งเป็นวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่โจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายที่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องตามกฎหมายในวันที่ 5 กันยายน 2532 จำเลยที่ 1 มิได้ใช้อุบายบอกให้โจทก์ทั้งสองทำตั๋วเงินเพื่อชำระราคาที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 โดยระบุสั่งจ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และไม่ใช่เจ้าหนี้โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองมิได้แก้ไขตั๋วเงินเพื่อสั่งจ่ายแก่จำเลยที่ 1ให้ถูกต้อง โจทก์ทั้งสองไม่ชำระเงินจำนวน 34,496,000 บาทให้แก่จำเลยที่ 1 ในวันที่ 5 กันยายน 2532 โจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาสัญญาจึงเป็นอันเลิกกันโดยมิต้องบอกกล่าวโจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 ให้แก่โจทก์ทั้งสองจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้โอนหรือผู้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452,25453 และ 1377 โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1ร่วมรับผิดกับจำเลยอื่น ค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินเหตุและไม่อาจเป็นไปได้นอกจากนี้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2532 โจทก์ทั้งสองขออายัดที่ดินโฉนดเลขที่29097 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินส่วนที่เหลือและไม่อาจโอนขายที่ดินให้บุคคลอื่นได้ จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์อันควรได้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของเงินจำนวน 34,496,000 บาท นับแต่วันที่ 6 กันยายน 2532คิดถึงวันฟ้องแย้งเป็นเงิน 481,998.96 บาท ขอให้ยกฟ้องและบังคับให้โจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 481,998.96 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 และค่าเสียหายเท่ากับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงิน 34,496,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าโจทก์ทั้งสองจะถอนอายัดที่ดินดังกล่าวของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ไม่เคยร่วมกับจำเลยที่ 1ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสี่แปลงตามฟ้องกับโจทก์ทั้งสองเพราะจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จำเลยที่ 2เคยทำสัญญาผูกพันกับโจทก์ทั้งสองเฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 25452, 25453และ 1377 ตามสัญญาฉบับลงวันที่ 28 มิถุนายน 2532 ซึ่งไม่ใช่สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 2 แต่เป็นสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับลงวันที่24 กุมภาพันธ์ 2532 และตามสัญญาดังกล่าวโจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกร้องหรือบังคับใด ๆ เอาจากจำเลยที่ 2 ไม่ว่ากรณีใด ๆจำเลยที่ 2 ไม่ได้ฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ 2 อีกทั้งฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุมเพราะจำเลยที่ 2 ไม่อาจเข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองประสงค์จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่25452, 25453 และ 1377 ให้โจทก์ทั้งสองหรือประสงค์จะเลิกสัญญาฉบับลงวันที่ 28 มิถุนายน 2532 แล้วเรียกร้องเบี้ยปรับและค่าเสียหายเอาแก่จำเลยที่ 2 ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4ไม่เคยรู้เห็นยินยอมหรือรับทราบจากคู่สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับลงวันที่28 มิถุนายน 2532 โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวในนามของตนเองแทนจำเลยที่ 1และที่ 2 โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 อำนาจฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงยังไม่เกินขึ้น จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เคยร่วมกับจำเลยอื่นฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองทราบดีว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 25452, 25453 และ1377 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีสิทธินำที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวออกขาย การทำนิติกรรมใด ๆ ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 และที่ 4 การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่25452, 25453 และ 1377 ให้แก่จำเลยที่ 5 นั้น เป็นการกระทำโดยสุจริตมีค่าตอบแทนและชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิบังคับจำเลยที่ 3 และที่ 4 โจทก์ทั้งสองไม่เคยติดต่อหรือทำความตกลงใด ๆ กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 มาก่อน ทั้งจำเลยที่ 1ก็ไม่เคยแจ้งให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบความผูกพันที่โจทก์ทั้งสองได้ทำขึ้นกับจำเลยอื่นจำเลยที่ 3 และที่ 4 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 จึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ใด ๆ ที่จะไปเกี่ยวข้องในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว นอกจากนี้ค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องมาเป็นค่าเสียหายพิเศษเกินความเป็นจริงและมิได้กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยที่ 3 และที่ 4มิใช่คู่สัญญากับโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายและเงินมัดจำจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 5 ให้การว่า จำเลยที่ 5 ไม่เคยร่วมมือกับจำเลยอื่นฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 5 รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 3และที่ 4 แล้วโอนไปยังจำเลยที่ 6 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนทั้งสัญญาจะซื้อจะขายฉบับลงวันที่ 28 มิถุนายน 2532 ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 25452, 25453 และ 1377 เป็นเรื่องผู้มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ทำสัญญาขายทรัพย์สินของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจนิติกรรมดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 และที่ 4 อีกทั้งสัญญาดังกล่าวไม่ใช่สัญญาจะซื้อจะขาย แต่เป็นสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องหรือแปลงหนี้ใหม่ซึ่งไม่สมบูรณ์ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายเพราะไม่มีคำบอกกล่าวเป็นหนังสือถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4หรือมีคำยินยอมเป็นหนังสือหรือได้ทำสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 นอกจากนี้ฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุมเพราะไม่ปรากฏข้อความว่า จำเลยที่ 5 หรือจำเลยคนใดฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองอย่างไรขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 6 ให้การว่า จำเลยที่ 6 ไม่เคยร่วมกับผู้ใดฉ้อฉลโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 6 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 25453โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน จำเลยที่ 6 มิได้มีส่วนผิดสัญญาหรือละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่อาจเรียกค่าเสียหาย ค่าปรับ หรือเงินมัดจำจากจำเลยที่ 6 ขอให้ยกฟ้อง
โจทก์ทั้งสองให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่ขออายัดที่ดินของจำเลยที่ 1 เพื่อป้องกันมิให้จำเลยที่ 1 ฉ้อฉลทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวไปให้ผู้อื่นเพื่อให้พ้นจากการถูกบังคับตามคำพิพากษา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ทั้งค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องสูงเกินกว่าความเป็นจริงและเป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ ขอให้ยกฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 ตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง (เมือง)จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ 5 ไร่ 94 ตารางวา ให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้กำหนดให้เป็นผู้รับโอน โดยให้โจทก์ทั้งสองชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน34,496,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 ตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง (เมือง)จังหวัดสมุทรปราการ จากจำเลยที่ 3 ไปยังจำเลยที่ 5และที่ดินโฉนดเลขที่ 25453 ตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง (เมือง)จังหวัดสมุทรปราการ จากจำเลยที่ 4 ไปยังจำเลยที่ 5 และจากจำเลยที่ 5 ไปยังจำเลยที่ 6 ให้จำเลยที่ 3 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 86 ตารางวาให้จำเลยที่ 4 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 25453 เนื้อที่ 2 ไร่1 งาน 86 ตารางวา และให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของตน 2 ใน 11 ส่วน ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1377เนื้อที่ 1 งาน 22.18 ตารางวาให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้กำหนดให้เป็นผู้รับโอน โดยให้โจทก์ทั้งสองชำระค่าที่ดินที่เหลือแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเงิน11,043,200 บาท หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 25452, 25453 และ 1377 ดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 คืนเงินมัดจำจำนวน 2,760,800 บาท แก่โจทก์ทั้งสองพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง(วันที่ 18 กันยายน 2532) จนกว่าจะชำระเสร็จคำขออื่นของโจทก์ทั้งสองนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งหกอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 โดยให้โจทก์ทั้งสองชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน 34,496,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1และ/หรือจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหนี้ร่วมประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งหากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้กำหนดให้เป็นผู้รับโอนได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 25452, 25453 และ 1377 ก็ให้จำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันคืนเงินมัดจำจำนวน 2,760,800 บาทและเบี้ยปรับจำนวน 5,521,600 บาท รวมเป็นเงิน 8,282,400 บาทให้แก่โจทก์ทั้งสองพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราและระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งหกฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่านายชม กิจเชวงกุล เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามสำเนาหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.9และ จ.14 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 ของจำเลยที่ 3 โฉนดเลขที่ 25453ของจำเลยที่ 4 และที่ดินจำนวน 2 ใน 11 ส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 1377 ของจำเลยที่ 3 กับที่ 4 และผู้มีชื่อ จากจำเลยที่ 3และที่ 4 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.2 หรือ จ.16ต่อมาวันที่ 28 มิถุนายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 ของจำเลยที่ 1 และที่ดินสามแปลงดังกล่าวข้างต้นให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยระบุให้โจทก์ทั้งสองเจ้าสวมสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3และที่ 4 อีกทั้งระบุไว้ด้วยว่า คู่สัญญาให้ถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายฉบับลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3และที่ 4 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายฉบับลงวันที่28 มิถุนายน 2532 ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับโจทก์ทั้งสองด้วยตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.1 หรือ จ.15 ภายหลังไม่มีการโอนที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 และ 25453ของตนให้แก่จำเลยที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2532 ตามสำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินเอกสารหมาย จ.18 และ จ.19 ครั้นวันที่23 สิงหาคม 2532 จำเลยที่ 5 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 6 ตามสำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินเอกสารหมาย จ.20ซึ่งเป็นเวลาก่อนครบกำหนดโอนที่ดินทั้งสี่แปลงนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสองในวันที่ 5 กันยายน 2532 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรายนี้สำหรับที่ดินทั้งสี่แปลงอยู่ติดต่อกัน โดยที่ดินโฉนดเลขที่ 29097อยู่ติดกับถนนสาธารณะ
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4ในเบื้องแรกว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบตัวจำเลยที่ 3ตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 24 สิงหาคม 2537 เป็นคำสั่งที่ชอบหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องจำเลยทั้งหกตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2532 ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ทั้งสองและพยานจำเลยที่ 1 จนหมดสิ้นเมื่อวันที่14 กรกฎาคม 2537 ทนายความจำเลยที่ 2 ตกลงไม่ติดใจสืบพยานส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ขอสืบพยานจำเลยที่ 3 และที่ 4โดยคู่ความตกลงนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในวันที่24 สิงหาคม 2537 กับวันที่ 8 และ 22 กันยายน 2537 เวลา9 นาฬิกา ทั้งศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณา กำชับให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 นำพยานมาสืบให้พร้อมในวันนัด แต่เมื่อถึงวันนัดคือ วันที่ 24 สิงหาคม 2537 ทนายความจำเลยที่ 3 และที่ 4กลับแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้นัดจำเลยที่ 3 ให้มาเบิกความแล้วส่วนพยานอื่นไม่ได้เตรียมมาแต่ในวันดังกล่าวตัวจำเลยที่ 3 ไม่มาทนายความจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้โทรศัพท์ไปสอบถามที่บ้านของจำเลยที่ 3 แล้วได้ความว่า จำเลยที่ 3 ไปทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์อยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ฝนตกหนักมาเบิกความที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ขอเลื่อนคดีไปนัดหน้า ดังนี้ จะเห็นได้ว่าศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในวันที่ 24 สิงหาคม 2537 เป็นเวลานานเกือบ5 ปี นับจากวันฟ้อง และเลื่อนคดีจากวันนัดวันที่ 14 กรกฎาคม 2537เป็นระยะเวลาที่ห่างกันถึง 41 วัน ทั้งศาลชั้นต้นยังกำหนดให้นัดสืบพยานไว้เต็มวันและได้กำชับทนายความจำเลยที่ 3 และที่ 4ให้นำพยานมาสืบให้พร้อมตามนัด ทนายความจำเลยที่ 3 และที่ 4ย่อมมีโอกาสติดต่อตระเตรียมให้จำเลยที่ 3 มาเบิกความเป็นพยานได้ล่วงหน้าเป็นเวลานานถึง 1 เดือนเศษ ซึ่งทนายความจำเลยที่ 3และที่ 4 ตลอดทั้งตัวจำเลยที่ 3 ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าคดีนี้ได้ค้างการพิจารณามาเกือบ 5 ปี และการที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานคราวละหลายวันโดยกำหนดให้สืบพยานตลอดทั้งวัน ทั้งได้กำชับให้นำพยานมาสืบตามนัดก็เพื่อเร่งรัดการพิจารณาคดีมิให้ล่าช้าต่อไปการที่ตัวจำเลยที่ 3 ทราบวันนัดล่วงหน้าและมีโอกาสเตรียมตัวเป็นพยานนับเดือนแต่จำเลยที่ 3 ไม่มาตามนัด กลับไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือติดต่อให้ทนายความของตนทราบจนกระทั่งทนายความต้องติดต่อทางโทรศัพท์ไปที่บ้านของจำเลยที่ 3 ในวันนัด ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะออกนั่งพิจารณาเพียงเล็กน้อยพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มิได้ใส่ใจในการเป็นพยานเพื่อประโยชน์ของตนเอง การกระทำของจำเลยที่ 3ถือได้ว่ามีเจตนาประวิงคดีให้ล่าช้า ทั้งการที่ตัวจำเลยที่ 3มาศาลชั้นต้นไม่ได้เพราะฝนตกหนักก็มิใช่เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจงดสืบตัวจำเลยที่ 3
ปัญหาต่อมาที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุม โดยจำเลยที่ 2 อ้างว่า ในส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่5452, 25453 และ 1377 โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าว แล้วมีคำขอบังคับว่าให้บังคับจำเลยที่ 3 และที่ 4 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงนั้นแก่โจทก์ทั้งสอง หรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้กำหนด และยังมีคำขออีกว่า หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองรับโอนที่ดินดังกล่าวได้ ก็ขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งหกชำระเงินมัดจำ ค่าปรับ 2 เท่า ของเงินมัดจำพร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากโจทก์ทั้งสองขาดผลประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองในส่วนนี้มิได้แสดงให้แจ้งชัดว่า โจทก์ทั้งสองจะขอให้บังคับจำเลยที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงให้แก่โจทก์ทั้งสองอันเป็นการบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย หรือโจทก์ทั้งสองประสงค์จะยกเลิกสัญญาแล้วเรียกร้องเบี้ยปรับและค่าเสียหาย จำเลยที่ 2 ไม่อาจเข้าใจได้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมส่วนจำเลยที่ 5 ฎีกาว่า คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 และ 25453 ที่โจทก์ทั้งสองมีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนการโอนโดยฉ้อฉลที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 จากจำเลยที่ 3ไปยังจำเลยที่ 5 โฉนดเลขที่ 25453 จากจำเลยที่ 4 ไปยังจำเลยที่ 5 และระหว่างจำเลยที่ 5 ไปยังจำเลยที่ 6 แสดงว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมโดยการฉ้อฉลระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปยังจำเลยที่ 5 และระหว่างจำเลยที่ 5ไปยังจำเลยที่ 6 แต่คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองไม่มีข้อความใดหรือส่วนใดที่อ่านแล้วจะให้เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 5 ได้กระทำการใดอันเป็นการไม่สุจริต หรือกระทำการฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองอย่างไรหรือจำเลยที่ 5 กระทำการใดอันเป็นการให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบทั้งจำเลยที่ 5 ได้รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ว่ามีอยู่อย่างไร หรือมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองอย่างไร โจทก์ทั้งสองก็มิได้บรรยายฟ้องไว้ให้แจ้งชัด ทั้งไม่อาจเข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4มีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ทั้งสอง ก่อนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4จะโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 5 ที่โจทก์ทั้งสองจะนำมาเป็นเหตุอ้างในการขอให้เพิกถอนนิติกรรม นอกจากนี้โจทก์ทั้งสองยังบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 5 รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 3 และที่ 4ในราคาแปลงละ 1,000,000 บาท ซึ่งเท่ากับโจทก์ทั้งสองยืนยันว่าเป็นการโอนโดยมีค่าตอบแทน และส่วนท้ายโจทก์ทั้งสองกลับบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 5 รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 3และที่ 4 โดยไม่มีค่าตอบแทน ทำให้จำเลยที่ 5 ไม่อาจเข้าใจข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งสองได้ดีพอที่จะต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเคลือบคลุมนั้น เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เดิมจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 จากจำเลยที่ 3 ที่ดินโฉนดเลขที่ 25453จากจำเลยที่ 4 และที่ดินบางส่วนของโฉนดเลขที่ 1377 จากจำเลยที่ 3และที่ 4 แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 ของจำเลยที่ 1 และที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวข้างต้นให้แก่โจทก์ทั้งสอง โดยให้โจทก์ทั้งสองเข้าสวมสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3 และที่ 4แต่ภายหลังจำเลยทั้งหกร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองด้วยการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 5 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 6อีกทอดหนึ่ง ซึ่งจำเลยทั้งหกรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบและไม่มีการชำระเงินค่าตอบแทนกัน นอกจากนี้จำเลยที่ 1และที่ 2 ยังใช้อุบายเพื่อให้โจทก์ทั้งสองตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ทั้งสองจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายและมีคำขอบังคับขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4 ที่ 5 และที่ 6แล้วบังคับให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 โอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้กำหนดให้เป็นผู้รับโอนโดยโจทก์ทั้งสองจะชำระค่าตอบแทนการโอนตามสัญญา และให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระค่าเสียหาย หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452,25453 และ 1377 ก็ให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงินมัดจำค่าปรับ และค่าเสียหาย พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสองคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเช่นนี้ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลของจำเลยทั้งหกเนื่องจากจำเลยทั้งหกร่วมกันโอนที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้แล้วไปอีกหลายทอดโดยจำเลยทั้งหกรู้อยู่แล้วว่า การกระทำดังกล่าวเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ จึงขอให้บังคับไปตามสัญญา แต่ถ้าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องเกี่ยวกับการรับโอนที่ดินบางแปลงดังกล่าวแล้ว ก็ให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงินมัดจำ ค่าปรับ และค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ยแทนอันเป็นการขอให้บังคับเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับ คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้วคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ หาได้เคลือบคลุมดังที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ฎีกาไม่
ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งหกต่อไปคือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับลงวันที่ 28 มิถุนายน 2532 เฉพาะที่เกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 25452, 25453 และ 1377 เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องหรือแปลงหนี้ใหม่หรือไม่โจทก์ทั้งสองนำสืบโดยโจทก์ทั้งสองเบิกความมีสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.1 หรือ จ.15 เป็นพยานเอกสารประกอบฟังได้ว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินติดต่อกันจำนวน 4 แปลงคือ แปลงแรกเป็นที่ดินมีโฉนดของจำเลยที่ 1 เอง ได้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 ตั้งอยู่ตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง (เมือง)จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ 5 ไร่ 94 ตารางวาในราค