คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2489

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

กรณีที่ว่าเป็นพินัยกรรมเขียนเอง
ข้อความในหนังสือที่ถือว่ามีลักษณะเป็นพินัยกรรม์
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้ผู้แพ้คดีใช้ค่าธรรมเนียม,ค่าทนาย 2 ศาลแทนผู้อุทธรณ์ได้ แม้ผู้อุทธรณ์มิได้ขอมาในฟ้องอุทธรณ์ก็ตาม

ย่อยาว

คดีนี้ผู้ร้องเป็นตาของเด็กชายละมุน ยื่นคำร้องขอเป็นผู้ปกครอง ด.ช.ละมุน นางแก้วเป็นที่สาว+โทวันบิดาของ ด.ช.ละมุน นายผ่อนเป็นบุตร์นางแก้วนายผ่อนและนางแก้วร้องคัดค้านและขอเป็นผู้ปกครองเสียเอง ศาลชั้นต้นถือว่าเป็น+ดีมีข้อพิพาท จึงให้ผู้ร้องเป็นโจทก์ ผู้คัดค้านเป็นจำเลยและวินิจฉัยว่า สำเนาหนังสือของสิทธิโทวันไม่ใช่พินัยกรรมที่สั่งในเรื่องผู้ปกครองเด็ก จึงพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้ปกครอง
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ โดยเห็นว่า สำเนาหนังสือนั้นเป็นพินัยกรรม จึงให้จำเลยเป็นผู้ปกครองเด็กชายเจตนาของผู้ตาย และให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียม ๒ ศาลและทนาย ๕๐ แทนจำเลย
โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาฟังว่าหนังสือรายนี้มีข้อความว่า ส.ต.วันได้ไปราชการทหารได้ทำใบมอบฉันทะให้แก่นายผ่อนและพี่แก้วให้เป็นผู้ปกครองบุตร และขอให้ช่วยจัดการให้ได้เข้าเล่าเรียนจนกว่าจะกลับจากราชการ ในระหว่างรับราชการนั้นหากเขาถึงแก่กรรม ก็มอบหใ้คนทั้งสองรับเงินเดือนแทน ถ้ามีชีวิตอยู่จะรับเอง ขอให้คนทั้งสองนั้นช่วยปกครองบุตรแทนเขาด้วย และว่าส่วนเงินเดือนนั้นหากว่าเขาถึงแก่กรรมจึงไปรับแทน สุดแต่ทางการจะมอบแก่คนใดคนหนึ่ง ก็ได้เพราะเป็นที่ไว้ใจ ศาลฎีกาเห็นว่าสำเนาหนังสือของสิบโทวันเป็นพินัยกรรมแบบเขียนเอง ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา ส่วนที่โจทก์คัดค้านว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าธรรมเนียมค่าทนายแทนจำเลยเป็นการเกินคำขอนั้น เห็นว่าในเรื่องค่าธรรมเนียมศาลมีอำนาจใช้ดุลยพินิจให้คู่ความฝ่ายใดใช้ก็ได้ตามลักษณะของคดีตาม ป.วิแพ่ง ม.+๖๑-+๒๗ จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

Share