คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2496

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

กฎกระทรวงเกษตราธิการออกตามความใน พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉะบับที่ 6) พ.ศ. 2479 วางระเบียบในเรื่องการขอจับจองที่ดินไว้ว่า ให้ผู้ขอจับจองยื่นเรื่องราวขอจับจองตามแบบฟอร์ม เมื่อกรมการอำเภอได้รับคำขอแล้วให้นายอำเภอ หรือผู้แทนจะเป็นกำนันหรือเจ้าหน้าที่อื่นก็ได้ ไปทำการชัณสูตร
ยังที่ดินพร้อมด้วยผู้ขอฉะนั้นถ้าราษฎรผู้ขอจับจองได้ตรงไปให้กำนันรังวัดที่ดินและออกหนังสือรับรองเสียก่อน แล้ว จึงมายื่นคำขอจับจองต่ออำเภอในภายหลัง ทั้งหนังสือรับรองของกำนันก็มิได้เขียนลงในแบบฟอร์มตามกฎกระทรวง เช่นนี้ ต้องถือว่ากำนันทำขึ้นเป็นส่วนตัว ไม่ใช่ทำตามหน้าที่ ไม่เป็นหนังสือรับรองตามกฎหมาย ฉะนั้นแม้กำนันจะ
เรียกร้องเอาเงินจากราษฎรผู้ขอ เป็นค่าช่วยการของตนคิดตามราคาเนื้อที่ดินรังวัดก็ดี กำนันนั้นก็ยังไม่มีผิด ตาม
ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 137./

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบังคับเรียกค่ารังวัดชัณสูตรที่ดินจากราษฎร ซึ่งต้องการจับจองที่ดินในตำบลห้วยน้ำหอมรวม ๕๖ ราย เป็นเงิน ๒๐๖๒ บาท เป็นการมิชอบ ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๑๓๖, ๑๓๗, ๑๓๘ ฯลฯ
จำเลยต่อสู้ว่า กระทำโดยไม่มีอำนาจและหน้าที่ จึงไม่ผิดล
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยผิดตามมาตรา ๑๓๗ จำคุก ๑ ปี.
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนแล้ว ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยเป็นกำนันตำบลห้วยน้ำหอม มีราษฎร ๕๖ ราย ต้องการจับจอง
ที่ดินในตำบลนั้น จำเลยได้จัดการรังวัดแล้ว ทำหนังสือรับรองให้ราษฎรแต่ละรายมีใจความว่า ที่ดินเหล่านั้น ไม่ต้องด้วย
ข้อห้ามมิให้จับจอง โดยราษฎรเเสียค่าป่วยการให้แก่จำเลย คิดตามเนื้อที่ไร่ละ ๑ บาท รวมเงินทั้งสิ้น ๒๐๖๒ บาท ราษฎร
นำหนังสือรับรองของจำเลยไปขออนุญาตจับจอวต่ออำเภอ ๆ ไม่อนุญาต เพราะดำริห์จะทำการหวงห้ามอยู่แล้ว โจทก์จึง
ฟ้องคดีนี้
ศาลฎีกาเห็นว่าตามกฎกระทรวงเกษตราธิการออกตามความใน พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ ๖) ๒๔๗๙ ได้กำหนด
แบบเรื่องราวการขอจับจอง และเป็นคำรับรองไว้ และบังคับไว้ว่า เมื่อกรมการอำเภอได้รับเรื่องราวขอจับจองที่ดินแล้ว
จึงให้นายอำเภอหรือผู้แทนจะเป็นกำนันหรือเจ้าหน้าที่อื่นก็ได้ ไปทำการชัณสูตรยังที่ดินพร้อมด้วยผู้ขอ แต่คดีเรื่องนี้
ราษฎรตรงไปขอให้จำเลยรังวัดออกหนังสือรับรองเสียก่อน แล้วราษฎรจึงมาขอจับจองภายหลัง ทั้งหนังสือรับรองของจำ
เลยก็มิได้เขียนในแบบฟอร์มจึงต้องถือว่า จำเลยทำขึ้นโดยส่วนตัว ไม่ใช่ตามหน้าที่ ไม่เป็นหนังสือรับรองตามกฎหมาย
จะลงโทษจำเลยตามมาตรา ๑๓๗ ไม่ได้.
จึงพิพากษายืน.

Share