คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้ตายออกเดินทางจากบ้านพักเพื่อไปเก็บเงินจากลูกค้าตามคำสั่งของนายจ้างและประสบอุบัติเหตุขณะเดินทางแสดงว่าผู้ตายเริ่มลงมือทำงานแล้วแต่ยังไม่ถึงที่หมายถือว่าผู้ตายได้ประสบอันตรายโดยถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแล้วไม่จำต้องปฏิบัติหน้าที่ถึงขนาดที่ผู้ตายต้องเดินทางไปถึงที่หมายและเริ่มลงมือเก็บเงินจากลูกค้าจริงๆ

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ว่า นาย นเรศ สามี โจทก์ ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง ของ โจทก์ ที่ 2 ได้ ประสบ อันตราย จน ถึงแก่ความตาย เนื่องจาก การ ทำงานให้ แก่ นายจ้าง แต่ สำนักงาน กองทุนเงินทดแทน เห็นว่า สามี โจทก์ ที่ 1มิได้ ประสบ อันตราย เนื่องจาก การ ทำงาน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 จึง มีคำวินิจฉัย ไม่จ่าย เงินทดแทน โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน โดย จำเลย แจ้ง แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ว่า คำวินิจฉัย ของสำนักงาน กองทุนเงินทดแทน ชอบแล้ว โจทก์ ทั้ง สอง ยัง ไม่เห็น พ้อง ด้วยขอให้ เพิกถอน คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทน ตาม หนังสือที่ รส. 0711/62/26 และ ให้ จ่ายเงิน ทดแทน ตาม กฎหมาย แก่ โจทก์ ที่ 1
จำเลย ให้การ ว่า คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทน ชอบแล้วขอให้ ยกฟ้อง
วันนัด พิจารณา โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย แถลงรับ ข้อเท็จจริง กัน ว่าผู้ตาย ใน คดี นี้ ประสบ อุบัติเหตุ ถึงแก่ความตาย ใน ขณะ ออก เดินทาง จากบ้านพัก ของ ผู้ตาย เพื่อ ไป เก็บ เงิน จาก ลูกค้า และ ประสบ อุบัติเหตุระหว่าง ทาง ก่อน จะ ไป เก็บ เงิน จาก ลูกค้า ของ โจทก์ ที่ 2
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ เพิกถอน คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ตาม หนังสือ ที่ รส.0711/62/26 ลงวันที่ 30 กันยายน2537 (ที่ ถูก ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2537) และ ให้ จ่ายเงิน ทดแทน แก่ โจทก์ที่ 1 ตาม กฎหมาย
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ตาม อุทธรณ์ จำเลย มี ว่าผู้ตาย ถึงแก่ความตาย เนื่องจาก การ ทำงาน ให้ แก่ นายจ้าง หรือไม่จำเลย อุทธรณ์ ว่า คำ ว่า “ประสบ อันตราย ” ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 มี ความหมาย ว่า การ ที่ ลูกจ้าง ได้รับอันตรายแก่กาย หรือ จิตใจ หรือ ถึงแก่ความตาย เนื่องจาก การ ทำงาน ให้ แก่นายจ้าง หรือ การ ป้องกัน รักษา ประโยชน์ ให้ แก่ นายจ้าง นั้น ลูกจ้างที่ ได้รับ อันตราย หรือ ถึงแก่ความตาย เนื่องจาก การ ทำงาน ให้ แก่ นายจ้างจะ ต้อง ลงมือ ทำงาน ให้ กับ นายจ้าง แล้ว มิใช่ เพียงแต่ กำลัง เดินทางจะ ไป ทำงาน เท่านั้น ผู้ตาย เพียงแต่ กำลัง เดินทาง จะ ไป ยัง บ้าน ลูกค้าราย แรก การกระทำ ของ ผู้ตาย จึง ยัง มิได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2และ ยัง มิได้ ทำงาน ให้ เป็น ประโยชน์ ต่อ โจทก์ ที่ 2 ถือว่า เป็น การ ประสบอันตราย เนื่องจาก การ ทำงาน ให้ แก่ นายจ้าง หาได้ไม่ คำวินิจฉัย ของคณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทน ชอบแล้ว พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่าผู้ตาย ออก เดินทาง จาก บ้านพัก ของ ผู้ตาย เพื่อ ไป เก็บ เงิน จาก ลูกค้าตาม คำสั่ง ของ โจทก์ ที่ 2 ซึ่ง เป็น นายจ้าง และ ประสบ อุบัติเหตุ ขณะ กำลังเดินทาง แสดง อยู่ ใน ตัว ว่า ลักษณะ การ ทำงาน ของ ผู้ตาย ใน วันเกิดเหตุผู้ตาย ไม่ต้อง เข้า ไป ยัง ที่ทำงาน ของ ผู้ตาย และ กระทำ กิจ อื่น ก่อนแต่ ผู้ตาย ออกจาก บ้านพัก ตรง ไป ยัง บ้าน ของ ลูกค้า เพื่อ ปฏิบัติ หน้าที่ตาม ที่ ได้รับ มอบหมาย ย่อม ชี้ ให้ เห็นว่า ผู้ตาย ได้ เริ่ม ลงมือ ทำงาน แล้วแต่ ยัง ไม่ถึง ที่ หมาย กรณี ไม่จำต้อง ปฏิบัติ หน้าที่ ถึง ขนาด ที่ ผู้ตายจะ ต้อง เดินทาง ไป ถึง ที่ หมาย และ เริ่ม ลงมือ เก็บ เงิน จาก ลูกค้า จริง ๆถือได้ว่า ผู้ตาย ได้ ประสบ อันตราย โดย ถึงแก่ความตาย เนื่องจาก การ ทำงานให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 ผู้เป็น นายจ้าง แล้ว ตาม ข้อ 2 แห่ง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง เป็น ภริยา ของ ผู้ตาย จึง มีสิทธิ ได้รับ เงินทดแทน จากกองทุนเงินทดแทน ตาม กฎหมาย ส่วน คำพิพากษาฎีกาที่ 697/2522 ที่จำเลย อ้าง มา ใน อุทธรณ์ นั้น ใน คดี ดังกล่าว ลักษณะ และ ช่วง เวลา การ ทำงานของ ลูกจ้าง ไม่ เหมือนกับ คดี นี้ ที่ ศาลแรงงานกลาง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้อง ด้วย อุทธรณ์ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share